ระเบียบการออกเอกสาร (ใบรับรอง) ประเภทต่างๆ
หน่วยงานที่นำไปยื่น | รายชื่อใบรับรอง | เนื้อหาของใบรับรอง | |
---|---|---|---|
หน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น | 1 | ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) | เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทย ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว) |
2 | ใบรับรองตราประทับชื่อ (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) | เป็นการรับรองตราประทับชื่อที่ได้ทำการบันทึกไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว | |
3 | ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) | เป็นการรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ของผู้ยื่นเอกสาร ใช้แทนใบรับรองตราประทับชื่อ | |
4 | ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) (สำหรับผู้ที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่น) | เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยสำหรับผู้ที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่น ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว) | |
หน่วยงานในประเทศไทย | 5 | ใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองข้อมูลบุคคลโดยนำข้อมูลที่จำเป็นจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ) มาแปลเป็นภาษาอังกฤษ |
6 | ใบรับรองคำแปล (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองคำแปลภาษาอังกฤษของเอกสาร (ภาษาญี่ปุ่น) ที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นว่าถูกต้อง | |
7 | ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองลายมือชื่อของผู้ยื่นซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่าข้อความในเอกสารส่วนบุคคลนั้นเป็นความจริงทุกประการ | |
8 | ใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองตราประทับของหน่วยงาน (และตราประทับลายมือชื่อ) ที่ออกเอกสารนั้นๆ โดยเอกสาร (ภาษาอังกฤษ) นั้นต้องเป็นเอกสารของหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ | |
9 | ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองข้อมูลที่จำเป็นในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย | |
10 | ใบรับรองการรับเงินบำนาญจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น (ใช้ในการขอต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย (non-immigrant visa) แสดงว่าผู้ที่ได้รับเงินบำนาญนั้นไม่มีจุดประสงค์จะทำงานในประเทศไทย) | |
11 | ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยที่ได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว | |
12 | ใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน (ฉบับภาษาอังกฤษ) | เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทยในขณะที่เคยอยู่ในประเทศไทยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่กลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้วหรือย้ายไปประจำประเทศอื่น | |
13 | ใบรับรองประวัติอาชญากรรม (ฉบับภาษาญี่ปุ่น・อังกฤษ・ฝรั่งเศส・เยอรมัน・โปรตุเกสในหน้าเดียวกัน) | เป็นการรับรองว่าเคยมีประวัติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่ | |
ศุลกากรในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย | 14 | ใบรับรองอัฐิหรือศพ (ฉบับภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษในหน้าเดียวกัน) | เป็นการรับรองอัฐิหรือศพของชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในการผ่านขั้นตอนทางศุลกากรในการนำอัฐิหรือศพกลับไปประเทศญี่ปุ่น |
ข้อควรระวังในการยื่นขอเอกสารและการรับเอกสาร (ใบรับรอง) ต่างๆ | |||
เวลาทำการ・ติดต่อสอบถาม |
1. ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทย ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว)
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการย้ายโรงเรียน หรือการสมัครสอบเข้าเรียนที่ต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อใช้ดำเนินเรื่องการรับเงินบำนาญต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- อื่นๆ
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
- ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
- ต้องมีเอกสารยืนยันที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยเพื่อแสดงว่ามีการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยจริง
- ต้องเป็นผู้พำนักอาศัยหรือมีกำหนดการอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป และได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ)
(หมายเหตุ)
- “ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย” ที่มีจุดประสงค์จะใช้ในประเทศไทยนั้น (รวมถึงที่จะใช้ที่สถานเอกอัครราชทูตอื่นประจำประเทศต่างๆ) ให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ 「11. ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ) 」
- สำหรับผู้ยื่นที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่นมาก่อนนั้นให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ 「4. ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) 」
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
- ใบคำร้องขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) : 1 ฉบับ (กรุณากรอกใบคำร้องตามจำนวนที่ต้องการ) (กรุณาเลือกกรอกใบคำร้องรูปแบบที่ 1-1 รูปแบบที่ 1-2 หรือรูปแบบที่ 2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ )
- รูปแบบที่ 1-1 : กรณีรับรองเฉพาะผู้ยื่นคำร้องและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ยื่นคำร้องเท่านั้น
- รูปแบบที่ 1-2 : กรณีทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ (สำหรับผู้ที่ใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญส่วนบุคคล เงินบำนาญภาคธุรกิจองค์กร เงินสวัสดิการกองทุนรวมข้าราชการหรือหน่วยงานอื่นๆนั้น กรุณาเลือกรูปแบบที่ 1-1 )
- รูปแบบที่ 2 : กรณีรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันของเจ้าบ้านและสมาชิกในครอบครัว (สำหรับผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นเท่านั้น) หรือ กรณีจำเป็นต้องรับรองประวัติการพำนักอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่เข้าประเทศไทย
- หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
- ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียด รวมทั้งหน้าตราประทับวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยที่ยังมีอายุการใช้งาน
- สำหรับเอกสารรูปแบบที่ 2 ที่ต้องการรับรองบุคคลในครอบครัวด้วยนั้น กรุณายื่นหนังสือเดินทางของสมาชิกในครอบครัวเพิ่ม
- เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย : ต้องมีการระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) เช่น ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค สัญญาเช่าบ้าน/อพาร์ตเมนท์ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย เป็นต้น
- เอกสารรับรองการรับเงินบำนาญ หรือไปรษณียบัตรแจ้งผู้มีสิทธิ์รับเงินบำนาญ (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
- กรณีใช้เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ กรุณานำมาแสดง ทั้งนี้เพื่อได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
- ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ
- ใบแจ้งเจตจำนง : 1 ฉบับ
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมาเองและเตรียมเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
*กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับเอกสารในวันทำการถัดไป
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 340 บาท / 1 ฉบับ
- ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
- (ข้อควรระวัง) การยื่นขอใบรับรองเพื่อนำไปใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ หากนำใบรับรองการรับเงินบำนาญ หรือไปรษณียบัตรแจ้งผู้มีสิทธิ์รับเงินบำนาญ และอื่นๆ ที่ออกโดยหน่วยงานที่ญี่ปุ่นที่เรียกว่า Japan Pension Service (เดิมคือ Social Insurance Agency) มาแสดง จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
อนึ่ง การยื่นขอใบรับรองเพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญส่วนบุคคล เงินบำนาญภาคธุรกิจองค์กร เงินสวัสดิการกองทุนรวมข้าราชการ และอื่นๆ ที่ไม่ได้ออกโดยหน่วยงานที่เรียกว่า Japan Pension Service นั้น ไม่สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- โดยข้อปฏิบัตินั้นในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเอง แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นสามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้แต่ทั้งนี้ต้องมีใบมอบอำนาจหรือใบแจ้งเจตจำนงมาแสดง ส่วนการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
2. ใบรับรองตราประทับชื่อ (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
เป็นการรับรองตราประทับชื่อที่ทำการบันทึกไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- อื่นๆ
2(1) การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
เงื่อนไขที่จำเป็นในการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ต้องเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป และได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ)
- มีหลักฐานเป็นเอกสารยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
- ไม่มีการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อตนไว้ที่สำนักงานเขตต่างๆในประเทศญี่ปุ่น หรือสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศอื่นๆ
(หมายเหตุ: หากมีการแจ้งย้ายถิ่นฐานในประเทศญี่ปุ่น การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อก็จะถูกลบในประเทศญี่ปุ่นไปโดยปริยาย)
เอกสารที่จำเป็นในการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- ใบคำร้องในการขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ : 1 ฉบับ
- เอกสารต้นฉบับแสดงตราประทับชื่อ (ที่เรียกว่า เกมเปียว) : 1 ฉบับ
- ตราประทับชื่อที่จะทำการลงทะเบียน : รูปลักษณ์ตราประทับที่สามารถลงทะเบียนได้ต้องมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 25 มิลลิเมตรของรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ห้ามมีขนาดเล็กกว่า 8 มิลลิเมตร
* ตราประทับชื่อที่ไม่ชัดเจน หรือตรายางประทับที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ไม่สามารถทำการลงทะเบียนบันทึกได้ - หนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ต้องระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนตราประทับชื่อ)
- เช่น ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค สัญญาเช่าบ้าน/อพาร์ตเมนท์ที่ระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบัน ของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนตราประทับชื่อ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย เป็นต้น
- เอกสารที่ยืนยันได้ว่าไม่ได้มีการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้สองแห่ง (กล่าวคือ ไม่ได้มีการลงทะเบียนตราประทับชื่อไว้ในประเทศญี่ปุ่นหรือที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศอื่นใด)
- กรณีที่มีการย้ายที่พำนักอาศัยล่าสุดออกจากที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นแต่ยังไม่เกิน 5 ปี : กรุณานำใบแสดงการลบทะเบียนบ้านที่ประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว โนะ โจะเฮียว) หรือ ใบแนบที่แสดงทะเบียนครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า โคะเซกิ โนะ ฟุเฮียว) มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
- กรณีที่มีการย้ายที่พำนักอาศัยล่าสุดออกจากที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกิน 5 ปีขึ้นไป : กรุณานำใบแนบที่แสดงทะเบียนครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า โคะเซกิ โนะ ฟุเฮียว) มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
- กรณีที่ผู้ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อย้ายมาจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นมาประจำประเทศไทย และเคยทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้กับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น : กรุณานำสำเนาการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อที่ออกจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น (หรือสถานกงสุลญี่ปุ่น) ประจำประเทศนั้น มายื่นให้สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- เจ้าตัวผู้ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
2(2) การออกใบรับรองตราประทับชื่อ
*ผู้ที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้ไม่สามารถขอใบรับรองตราประทับชื่อได้
*สามารถขอใบรับรองตราประทับชื่อพร้อมกับลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อในวันเดียวกันได้
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองตราประทับชื่อ
- ใบคำร้องขอใบรับรองตราประทับชื่อ : 1 ฉบับ
- ตราประทับชื่อตัวที่ทำการบันทึกไว้แล้ว
- หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง (ตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ฉบับ)
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมาด้วยตัวเองและมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
- * สำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะขอรับเอกสารในวันเดียวกันกับวันที่ยื่น : เอกสารชนิดนี้จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำมากกว่าเอกสารชนิดอื่นที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่น ฉะนั้น ขอให้ตระหนักถึงจุดนี้ด้วย
*กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 1 ชั่วโมง กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.00 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองตราประทับชื่อ
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 480 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับใบรับรองตราประทับชื่อ
- ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
2(3) การยื่นแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
* กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังจากได้ทำการขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้แล้ว หรือกรณีที่ต้องการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อเมื่อต้องกลับประเทศญี่ปุ่นหรือย้ายไปประจำประเทศอื่น
เหตุผลในการขอยื่นแจ้ง
- เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตราประทับชื่อทำให้ตราประทับไม่ชัดเจน
- เมื่อตราประทับชื่อสูญหาย
- เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัย (ในประเทศไทย)
- เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ที่ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- ต้องการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อเมื่อต้องกลับประเทศญี่ปุ่น (หรือย้ายไปประจำประเทศอื่น)
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- ใบคำร้องในการขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ : 1 ฉบับ
- หนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ยื่นคำร้อง
- อื่นๆ
- ตราประทับชื่ออันใหม่ (กรณีเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตราประทับชื่อตน หรือ เมื่อตราประทับชื่อตนสูญหาย)
- ใบแจ้งขอเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (เรียกว่า ไซริวโทโดเขะ โนะ จือโฉะเฮงโค โทโดเขะ) (กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัยในประเทศไทย)
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นของตนฉบับใหม่ที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร (กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ที่ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ)
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
- เจ้าตัวผู้ยื่นขอเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
3. ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
เป็นการรับรองว่าลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ของผู้ที่มายื่นเอกสารนั้นตรงกันและเป็นของบุคคลนั้นจริง สามารถใช้แทนใบรับรองตราประทับชื่อ (ในประเทศญี่ปุ่น) ได้
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- อื่นๆ
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)
- ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
- ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ) และได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว
- ผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์ในวันยื่นเรื่อง ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและต้องลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)
- ใบคำร้องขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) : 1 ฉบับ * กรณีที่จำเป็นต้องใช้เอกสารหลายฉบับกรุณาระบุจำนวนที่ต้องการ
- เอกสารที่ใช้ในการรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) : กรุณาเลือกรูปแบบเอกสารที่จะใช้ในการขอใบรับรอง (รูปแบบที่ 1)
หรือ (รูปแบบที่ 2)
- (รูปแบบที่ 1) มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาจากประเทศญี่ปุ่น (กรณีที่จำเป็นต้องมีตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตฯอยู่ในหน้าเอกสารที่มาจากประเทศญี่ปุ่น)
* เป็นการรับรองว่าผู้ยื่นเอกสารได้ทำการลงลายมือชื่อ(และลายนิ้วมือ) จริงในเอกสารที่ควรจะมีการลงลายมือชื่อของผู้มายื่นคำร้อง
(ข้อควรระวัง) กรุณาลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย - (รูปแบบที่ 2) รูปแบบใบรับรองที่ออกให้โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ (รูปแบบใบรับรอง →
)
(ตัวอย่างการกรอกใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) รูปแบบที่ 2 →)
* เป็นการรับรองว่าผู้ยื่นเอกสารได้ทำการลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) จริงในใบรับรองที่ออกแบบโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ
(ข้อควรระวัง) กรุณาลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
- (รูปแบบที่ 1) มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาจากประเทศญี่ปุ่น (กรณีที่จำเป็นต้องมีตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตฯอยู่ในหน้าเอกสารที่มาจากประเทศญี่ปุ่น)
- หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นเตรียมเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
*กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 480 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
4 . ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)
เป็นการรรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยให้ผู้ยื่นที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่นมาก่อน เพื่อใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่าจือมิงเฮียว)
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
- เพื่อใช้ดำเนินเรื่องการรับเงินบำนาญต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
- อื่นๆ
เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
(ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →)
- เอกสารที่ยืนยันได้ว่าผู้ยื่นนั้นเดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่นมาก่อน (ตัวจริงพร้อมสำเนา : 1 ฉบับ)
* เช่น หนังสือเดินทางของประเทศญี่ปุ่นในอดีต ใบแสดงการลบทะเบียนครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น - เอกสารที่ยืนยันได้ถึงสัญชาติปัจจุบันของผู้ยื่น (ตัวจริงพร้อมสำเนา : 1 ฉบับ)
* เช่น หนังสือเดินทางของประเทศที่ถือสัญชาติในปัจจุบัน บัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่ถือสัญชาติไทย - เอกสารที่แสดงถิ่นที่อยู่ในปัจจุบันอย่างชัดเจน (ตัวจริงพร้อมสำเนา : 1 ฉบับ)
- * ทะเบียนบ้านของประเทศไทย เป็นต้น
- * ผู้ที่ถือสัญชาติอื่นนอกเหนือจากสัญชาติไทยให้แสดงเอกสาร เช่น สัญญาเช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนท์ หรือสัญญาซื้อขายการครอบครองที่พำนักอาศัย เหล่านี้เป็นต้น
- * ผู้ที่ถือสัญชาติอื่นนอกเหนือจากสัญชาติไทย และได้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (Residence Certificate) ที่ออกโดยหน่วยงานราชการไทยมาแสดง
วันรับเอกสาร
- รับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 590 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
5. ใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองข้อมูลบุคคลโดยนำข้อมูลที่จำเป็นจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ) มาแปลเป็นภาษาอังกฤษสามารถรับรองบุคคลในครอบครัว・ รับรองความเป็นโสด・การสมรส・การเกิด・การหย่า・ การเสียชีวิต และอื่นๆ
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อนำไปยื่นขอต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
- เพื่อนำไปยื่นเรื่องขอลดหย่อนภาษีรายได้ในประเทศไทย
- เพื่อนำไปใช้ในการสมรสกับชาวต่างชาติในประเทศไทย
* สำหรับการยื่นขอใบรับรองความเป็นโสด・ ใบรับรองการสมรสเพื่อนำไปใช้ในการจดทะเบียนในประเทศไทยนั้น มีเอกสารจำเป็นชนิดอื่นที่ต้องใช้ในการยื่นขอเอกสาร กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระเบียบการสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น (กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศไทยภายหลัง (การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งแห่งประเทศญี่ปุ่น) หรือ กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง(การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย) - เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
- อื่นๆ
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (หรือใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกทั้งครอบครัว) (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
- ต้องเป็นทะเบียนครอบครัวที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร แต่ทว่าในกรณียื่นขอรับรองข้อมูลเกี่ยวกับการสมรส และการรับรองความเป็นโสดนั้น ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้ได้ทั้งฉบับเต็ม (ใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกทั้งครอบครัว ที่เรียกว่า โคะเซกิโทฮ่ง) หรือฉบับย่อ (ใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกบางคนในครอบครัว ที่เรียกว่า โคะเซกิโชฮ่ง) แต่ทว่าในกรณียื่นขอรับรองข้อมูลเกี่ยวกับการสมรส และการรับรองสมาชิกหลายคนในครอบครัวนั้น ต้องยื่นทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม
- สำหรับการยื่นเอกสารเกี่ยวกับใบแจ้งการรับเรื่องการเกิด การสมรส การหย่า และการเสียชีวิตนั้น ไม่ได้รวมอยู่ในหัวข้อการยื่นขอใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนี้ ให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ 「6.ใบรับรองคำแปล 」(จำเป็นต้องปรึกษาล่วงหน้า)
- เนื่องจากใบรับรองจะออกให้เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นกรุณาเขียนคำอ่านชื่อสมาชิกในครอบครัวหรือชื่อสถานที่ มาให้แก่ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
*ข้อควรระวังเวลาเขียนฟุริงานะ (คำอ่านตัวคันจิ) ในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น→ - กรณีที่มีชื่อชาวต่างชาติอยู่ในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนั้น กรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียด) มาให้แก่ทางสถานเอกอัครราชทูตฯด้วยเพื่อที่จะตรวจสอบการสะกดชื่อภาษาอังกฤษได้
- ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ (กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
* กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) มายื่นแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
วันรับเอกสาร
- รับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 340 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ) * แต่ทว่าในกรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนนั้นต้องมีใบมอบอำนาจ
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
6. ใบรับรองคำแปล (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองคำแปลภาษาอังกฤษของเอกสาร (ภาษาญี่ปุ่น) ที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นว่าถูกต้อง
เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น ใบรับรองสำเร็จการศึกษา (ของโรงเรียนที่ก่อตั้งตามกฎหมาย ที่เรียกว่า 学校教育法第1条/School Educational Law, Chapter 1) ใบแจ้งการรับเรื่องการหย่า เป็นต้น
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย(ตัวอย่างเอกสารที่นำมารับรองคำแปล: ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด เป็นต้น)
- เพื่อนำไปยื่นแจ้งเรื่องการหย่าที่ประเทศไทยหลังจากที่ดำเนินเรื่องการหย่าที่ประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว
- อื่นๆ
* เอกสารส่วนบุคคลที่ไม่ได้ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 「7.2 ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ」
*การแปลเอกสารเพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทยนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 「9. ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น」
* สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไม่สามารถรับรองคำแปลเอกสารที่เกี่ยวกับคดีความหรือการฟ้องร้องในศาล หรือ เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายได้
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองคำแปล
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
- ต้นฉบับเอกสารที่ต้องการให้รับรองคำแปล
* เอกสารต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นนั้นจะจำกัดเฉพาะที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่น หรือโรงเรียนที่ก่อตั้งตามกฎหมาย (ที่เรียกว่า 学校教育法第1条/School Educational Law, Chapter 1) - คำแปลภาษาอังกฤษของเอกสารต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นที่ต้องการให้รับรองคำแปล : 1 ฉบับ
* คำแปลภาษาอังกฤษนั้นผู้ยื่นต้องแปลมาด้วยตนเอง ทางสถานเอกอัครราชทูตฯจะรับรองคำแปลภาษาอังกฤษให้เท่านั้น - หนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีรูปถ่าย (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* กรณีผู้ยื่นเป็นชาวต่างชาติเท่านั้นที่จำเป็นต้องยื่น
วันรับเอกสาร
- จำนวนวันในการรับเอกสารจะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเอกสารที่นำมายื่นนั้นๆ (สำหรับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น ใบรับรองสำเร็จการศึกษา ใบแจ้งการรับเรื่องการหย่านั้น สามารถรับได้ในวันทำการถัดไป)
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองคำแปล
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 1,230 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
- กรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนและรายละเอียดของเอกสารที่ยื่นนั้นไม่ชัดเจน เช่น เหตุผลในการยื่น หรือหน่วยงานที่ต้องการนำเอกสารไปใช้ ต้องมีใบมอบอำนาจหรือเอกสารเพิ่มเติมมาจากผู้ที่จะใช้เอกสารนั้นๆ ด้วย
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
7. ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความหรือคำแปลในเอกสารส่วนบุคคลเป็นความจริงทุกประการ (ใช้ได้ทั้งเอกสารที่ออกจากประเทศญี่ปุ่นหรือออกจากต่างประเทศ)
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
- เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
- เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. หรือ FDA)
- เพื่อนำไปดำเนินการสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย
- อื่นๆ
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน
- ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
- ผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์ในวันยื่นเรื่อง ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ
ประเภทของใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน
(1) 「ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน」
* เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความในเอกสารส่วนบุคคล หรือเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการของต่างประเทศฉบับภาษาอังกฤษนั้นเป็นความจริงทุกประการ
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
(ตัวอย่างเอกสาร : ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด ใบรับรองประวัติการทำงาน ใบรับรองประวัติส่วนตัว ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น) - เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
(ตัวอย่างเอกสาร : ใบรับรองสำเร็จการศึกษา ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองผลการศึกษา ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น) - เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. หรือ FDA)
- อื่นๆ
(2) 「ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ」
* เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความหรือคำแปลในเอกสารนั้นเป็นความจริงทุกประการ ใช้ในกรณีเอกสารที่นำมาจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยที่เอกสารนั้นเป็นเอกสารส่วนบุคคลที่ไม่ได้ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ (ที่มีต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น) และมีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ
* กรณีที่เอกสารเป็นเอกสารราชการที่ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ สามารถรับรองประเภทนี้ได้เช่นกัน
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
(ตัวอย่างเอกสาร : ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด ใบรับรองประวัติการทำงาน ใบรับรองประวัติส่วนตัว ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น) - เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
(ตัวอย่างเอกสาร : ใบรับรองสำเร็จการศึกษา ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองผลการศึกษา ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น) - เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. หรือ FDA)
- อื่นๆ
(3) 「ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส」
เพื่อนำไปดำเนินการสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ) นอกเหนือจากใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยแล้ว ยังมีเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นขอเอกสารดังกล่าว กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ระเบียบการสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น)
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
* ใบคำร้อง →
* ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง → - เอกสารเกี่ยวข้องที่ต้องการนำมาให้ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ รับรอง
- * กรณีที่เอกสารต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น จำเป็นต้องมีฉบับแปลภาษาอังกฤษแนบมาพร้อมกัน
- * การลงลายมือชื่อนั้นต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
- หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียด
วันรับเอกสาร
- กรณีเตรียมเอกสารมาครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
* กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - สำหรับ「ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส」นั้นสามารถรับเอกสารได้ในวันทำการถัดไป
- (การรับเอกสารเกี่ยวกับ FDA นั้น โดยทั่วไปมารับเอกสารได้ในวันถัดไป) แต่ในกรณีจำนวนเอกสารที่ยื่นมามีจำนวนมากอาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายวันในการตรวจสอบเนื้อหา
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 480 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
- * ยกเว้น การรับ「ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส」คู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
8. ใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรมฯลฯ (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองตราประทับของหน่วยงานหรือตราประทับลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในหน่วยงานที่ประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นตราประทับที่แท้จริง ทั้งนี้เอกสารทางการที่ออกมาเป็นฉบับภาษาอังกฤษนั้นจะต้องเป็นเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ, สถาบัน/องค์กรอิสระ (独立行政法人/ Independent Administrative Corporation), หน่วยงาน/บริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีรัฐบาลเข้ามาดูแลหรือถือหุ้นบางส่วน (特殊法人/ Semigovernmental Corporation) หรือ สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งตามกฎหมาย (学校教育法人第1条/School Educational Law, Chapter 1)
เหตุผลในการยื่น
- พื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
- เพื่อนำไปดำเนินการจดทะเบียนบริษัท
- อื่นๆ
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง → - ต้นฉบับของเอกสารที่ต้องการนำมาให้ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ รับรอง (ฉบับภาษาอังกฤษ)
(หมายเหตุ) กรณีที่เอกสารต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น กรุณายื่นขอใบรับรองรูปแบบ 「6. ใบรับรองคำแปล 」หรือ「7.2. ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ」
(ข้อควรระวัง) เอกสารที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่นแล้วนั้น ทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไม่สามารถรับรองอีกครั้งได้ (เนื่องจากเป็นการประทับตราซ้อนภายใต้กระทรวงเดียวกัน) ขอให้ระวังถึงจุดนี้ด้วย - i.หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียด
ii.กรณีที่ผู้ยื่นเป็นชาวต่างชาติ กรุณานำหนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่มีรูปถ่ายแนบมาด้วย
วันรับเอกสาร
- รับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรมฯลฯ
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม :
- 1,260 บาท / 1 ฉบับ/ สำหรับเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการ
- 480 บาท / 1 ฉบับ/ สำหรับเอกสารที่ออกจากสถาบันหรือองค์กรอิสระ(独立行政法人/Independent Administrative Corporation),หน่วยงานหรือบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีรัฐบาลเข้ามาดูแลหรือถือหุ้นบางส่วน (特殊法人/ Semigovernmental Corporation) หรือ สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งตามกฎหมาย (学校教育法人第1条/ School Educational Law, Chapter 1)
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
- กรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนและรายละเอียดของเอกสารที่ยื่นนั้นไม่ชัดเจน เช่น เหตุผลในการยื่น หรือหน่วยงานที่ต้องนำเอกสารไปใช้ ต้องมีใบมอบอำนาจหรือเอกสารเพิ่มเติมมาจากผู้ที่จะใช้เอกสารนั้นๆ ด้วย
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
9. ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองข้อมูลที่จำเป็นในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร
- การยื่นขอใบรับรองนี้ไม่คำนึงถึงประเภทวีซ่า หรือสัญชาติของผู้ที่ยื่นขอ
เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
(ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →)
- ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
- หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง - ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
* รูปแบบใบมอบอำนาจ →
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมาด้วยตัวเองมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
* กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับเอกสารในวันทำการถัดไป
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 590 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
10. ใบรับรองการรับเงินบำนาญจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร (ฉบับภาษาอังกฤษ)
เป็นการรับรองจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น
เหตุผลในการยื่น
- เป็นเอกสารที่รับรองจำนวนเงินบำนาญที่ชาวญี่ปุ่นได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าผู้ยื่นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติในการพำนักอาศัยในประเทศไทยระยะยาว (non-immigrant visa)โดยไม่มีจุดประสงค์จะทำงานในประเทศไทย
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร
- นำเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการมายื่นเพื่อแสดงตน (เช่น หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ออกจากหน่วยงานราชการไทย เป็นต้น)
- นำเอกสารต้นฉบับการรับเงินบำนาญที่ออกจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรในประเทศญี่ปุ่นมาแสดง
เช่น ใบรับเงินบำนาญชนิดต่างๆ (ไม่รวมถึงใบรับเงินบำนาญที่ยกเลิกการจ่ายเงินบำนาญทั้งหมดแล้ว) ใบแจ้งยอดเงินบำนาญ ใบแจ้งยอดการเปลี่ยนแปลงการรับเงินบำนาญ ใบแจ้งการโอนเงินบำนาญผ่านธนาคาร หรือ ใบแจ้งการส่งเงินบำนาญ เป็นต้น - เจ้าตัวผู้ยื่นขอใบรับรองการรับเงินบำนาญต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
(ข้อควรระวัง) ในกรณีที่ผู้ยื่นขอใบรับรองการรับเงินบำนาญไม่สามารถมาด้วยตนเองเนื่องจากมีเหตุจำเป็นต่างๆ สามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ (แต่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจมาแสดง)
เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองการรับเงินบำนาญ
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
- หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
กรณีที่ไม่สามารถนำหนังสือเดินทางมาแสดงได้ สามารถนำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (เฉพาะที่มีอายุการใช้งานอยู่) หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย หรืออื่นๆ ที่ออกจากหน่วยงานราชการไทยและมีรูปถ่ายติดอยู่มายื่นแทนได้ - ต้นฉบับการรับเงินบำนาญที่ออกจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร (ไม่สามารถใช้สำเนายื่นได้)
- “ใบรับเงินบำนาญ (年金証書)” (ไม่รวมถึงใบรับเงินบำนาญที่ยกเลิกการจ่ายเงินบำนาญทั้งหมดแล้ว)
- “ใบแจ้งยอดเงินบำนาญ ・ใบแจ้งยอดการเปลี่ยนแปลงการรับเงินบำนาญ” “ใบแจ้งการโอนเงินบำนาญผ่านธนาคาร”
“ใบแจ้งการส่งเงินบำนาญ” “ใบแจ้งการรับเงินบำนาญหรือเงินรางวัล เงินตอบแทน เงินรายได้ที่จ่ายให้ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนัก
อาศัยในประเทศญี่ปุ่น” เหล่านี้เป็นต้น
* ตราบเท่าที่เอกสารหรือใบแจ้งการรับเงินบำนาญเป็นต้นฉบับ สามารถนำมายื่นได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันเดือนปีที่ออกเอกสารนั้นๆ แต่หากเป็นไปได้ควรจะนำเอกสารฉบับล่าสุดมาแสดงเพื่อทำให้การตรวจสอบเอกสารที่หน่วยงานราชการไทยเป็นไปอย่างราบรี่น (ยกเว้น “ใบรับเงินบำนาญ ที่เรียกว่า เนงคิน โชโฉะ (年金証書)” วันเดือนปีที่ออกเอกสารจะมีแค่ครั้งเดียวเท่านั้น)
- ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทน)
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์และมายื่นด้วยตนเอง สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
* กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 1 ชั่วโมง
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.00 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับเอกสารในวันทำการถัดไป
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองการรับเงินบำนาญ
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้
- ค่าธรรมเนียม : 590 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
11. ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ: กรณีที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่น)
เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยที่ได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย หรือต่ออายุใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย
- เพื่อนำไปขอใบขับขี่สากลในประเทศไทย
* โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขออนุญาตทำใบขับขี่สากลได้นั้นต้องมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทยมาแล้วมากกว่า 1 ปีขึ้นไป
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะในประเทศไทย
- เพื่อนำไปต่ออายุวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย
- เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานประเทศไทย
- เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
- เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
- อื่นๆ
* ในกรณีที่นำไปใช้ที่หน่วยงานในประเทศไทยตามเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมานั้น ผู้ยื่นสามารถใช้หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย ที่เรียกว่า Resident Certificate in Thailand ที่ออกให้โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สำหรับผู้ที่ทำการแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วันแล้วเท่านั้น) หรือใบอนุญาตทำงานที่ออกให้โดยกรมการจัดหางานได้เช่นกัน
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร
- ต้องเป็นผู้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือมีกำหนดการที่จะพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
- ต้องเป็นผู้ที่ยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว
เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ)
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
*ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
*ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
*(ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →)
- หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
* ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและหน้าตราประทับวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยที่ยังมีอายุการใช้งาน - เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย : ต้องมีการระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
- เช่น ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค สัญญาเช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนท์ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย เป็นต้น
- ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมาด้วยตัวเองมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
* กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับเอกสารในวันทำการถัดไป
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ)
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 590 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
12. ใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน (ฉบับภาษาอังกฤษ: กรณีที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่น)
เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทยในขณะที่เคยอยู่ในประเทศไทยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่กลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว หรือย้ายไปประจำประเทศอื่น
* กรณีที่ผู้ยื่นชาวญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้เอกสารยืนยันว่าตนเคยพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ด้วยเหตุผลดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป) โดยผู้ยื่นจะต้องเคยยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในอดีต
เหตุผลในการยื่น
- ผู้ยื่นนั้นได้ทำธุรกรรมซื้อขายยานพาหนะในความครอบครองขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยและกลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว (หรือย้ายไปประเทศอื่น) โดยไม่ได้ทำการเปลี่ยนหรือโอนชื่อผู้ถือครองในยานพาหนะ
- อื่นๆ
เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร
- บุคคลผู้นั้นต้องเคยยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย (เพื่อใช้ยืนยันที่พำนักอาศัยในประเทศไทย)
เอกสารจำเป็นในการขอใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
(ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →)
- หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา) : 1 ฉบับ
- * สำเนาให้ถ่ายหน้าที่มีรูปถ่ายรายละเอียดส่วนตัว และหน้าที่มีตราประทับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้
- * เนื่องจากในใบรับรองจะมีการระบุวันสิ้นสุดที่อยู่ในประเทศไทยและระบุประเทศที่จะย้ายไป ดังนั้นกรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องแนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ
- * สำหรับผู้ที่ต้องการระบุระยะเวลาในการพำนักอาศัยในประเทศไทย กรุณาถ่ายสำเนาหน้าที่มีตราประทับอนุญาตให้เข้าประเทศครั้งแรกในการพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยแนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
- * สำหรับผู้ที่ต้องการระบุบุคคลที่ร่วมอาศัยอยู่ด้วยระหว่างการพำนักอาศัยในประเทศไทย กรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดส่วนตัวของบุคคลในครอบครัวนั้นๆ แนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
- * ในกรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน และไม่สามารถนำหนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ที่ต้องการเอกสารมาได้ (เช่น บุคคลผู้นั้นกลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว) กรุณาระบุรายละเอียดลงในใบมอบอำนาจที่จะนำมายื่นให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ไว้ด้วย
- ใบมอบอำนาจ : 1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
* รูปแบบใบมอบอำนาจ→
วันรับเอกสาร
- กรณีที่ผู้ยื่นมาด้วยตัวเองมีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถรอรับเอกสารได้ภายในวันเดียวกัน
* กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. จะขอให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน จะรับเอกสารในวันทำการถัดไป
- สำหรับสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่นั้น กรุณารับเอกสารในวันทำการถัดไป
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 590 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
13. ใบรับรองประวัติอาชญากรรม (ฉบับภาษาญี่ปุ่น・อังกฤษ・ฝรั่งเศส・เยอรมัน・โปรตุเกสในหน้าเดียวกัน)
* เป็นการรับรองว่าเคยมีประวัติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่
เหตุผลในการยื่น
- เพื่อประกอบการยื่นขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในประเทศไทย
- เพื่อใช้ยื่นเรื่องขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ของคนต่างด้าวและวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาว
* เช่น เพื่อนำไปขอกรีนการ์ดของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น - อื่นๆ
เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม
- ใบคำร้องขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม : 1 ฉบับ
- หนังสือเดินทางตัวจริงของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ไม่สามารถใช้สำเนาได้)
วันรับเอกสาร
- ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่ยื่นเอกสารจนกว่าจะได้รับเอกสารประมาณ 2 เดือน
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองประวัติอาชญากรรม
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : ไม่มีค่าธรรมเนียม
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
- ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมารับแทนได้
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
14. ใบรับรองอัฐิหรือศพ (ฉบับภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษในหน้าเดียวกัน)
เป็นการรับรองอัฐิหรือศพของชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย เพื่อนำไปดำเนินการผ่านขั้นตอนทางศุลกากร
เหตุผลในการยื่น
เป็นการรับรองอัฐิหรือศพในกรณีที่ชาวญี่ปุ่นได้เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย แล้วญาติต้องการนำอัฐิหรือศพที่ปิดผนึกแล้วกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีในประเทศญี่ปุ่น เพื่อผ่านขั้นตอนทางศุลกากรทั้งสองประเทศในการนำอัฐิหรือศพกลับไปประเทศญี่ปุ่น
เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองอัฐิหรือศพ
- ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
* ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →
* ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →
(ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →)
- ใบมรณบัตรตัวจริงที่ออกจากที่ว่าการเขต/อำเภอไทย (พร้อมสำเนา 1 ฉบับ)
- หนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิต (นำมาเพื่อทำการเจาะรูยกเลิกการใช้งานที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย)
- หนังสือเดินทางของผู้ที่มายื่นคำร้อง
- a.อัฐิ (กรุณาเตรียมโถกระดูกใส่อัฐิของผู้ตายและกล่องขนาดพอเหมาะเพื่อจะนำมาปิดผนึกที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
b.ศพ (เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะออกเอกสารและนำไปดำเนินการยังสถานที่ที่เก็บศพผู้เสียชีวิตไว้)
เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองอัฐิหรือศพ
- ใบนัดรับเอกสาร : จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
- ค่าธรรมเนียม : 700 บาท / 1 ฉบับ
- * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ
กรุณาติดต่อแผนกคุ้มครองชาวญี่ปุ่นล่วงหน้า เรื่องการยื่นเอกสารและการรับเอกสาร
โทรศัพท์ : 0-2207-8502, 0-2696-3002
กรุณาดูรายละเอียดการแจ้งการเสียชีวิตของชาวญี่ปุ่นได้ที่ →( ขั้นตอนการดำเนินการกรณีผู้มีสัญชาติญี่ปุ่นเสียชีวิตในประเทศไทย)
・เวลาทำการเคาน์เตอร์ ・ วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
ข้อควรระวังในการยื่นขอเอกสารและการรับเอกสาร (ใบรับรอง) ต่างๆ
-การยื่นขอเอกสาร (ใบรับรอง)-
- การยื่นขอใบรับรองเพื่อนำไปใช้ในประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)・ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ・ใบรับรองประวัติอาชญากรรม・การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อและการยื่นขอใบรับรองตราประทับชื่อ เจ้าตัวต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเองเท่านั้น
- การยื่นขอใบรับรองชนิดอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นนั้น สามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่น
- กรณียื่นขอใบรับรองโดยให้ผู้อื่นมายื่นแทนนั้น ต้องมีใบมอบอำนาจมาด้วยทุกครั้ง
- ในใบมอบอำนาจกรุณาระบุรายละเอียด “เรื่องที่จะให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการแทน・ใบรับรองที่ต้องการ・ชื่อผู้รับมอบอำนาจ” รวมถึงผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อตนเองพร้อมระบุที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในเวลาทำการ
- * เนื่องจากใบมอบอำนาจเป็นความตั้งใจของผู้มอบอำนาจ กรุณาเขียนด้วยตนเอง ไม่มีรูปแบบกำหนด
* กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ที่มายื่นแทนคือผู้ปกครองเป็นบิดามารดา ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
- กรณีที่รายละเอียดในใบมอบอำนาจไม่ชัดเจน หรือผู้ที่มายื่นแทนไม่รับทราบถึงรายละเอียดใดๆในการมายื่น ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ มีสิทธิ์พิจารณาปฏิเสธการรับยื่นขอใบรับรองได้ ขอให้พึงระวังถึงจุดนี้
- การยื่นเรื่องขอใบรับรองต่างๆ นั้น กรุณามายื่นก่อนเวลาเคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตฯ ปิดทำการ 30 นาที (ยกเว้น ใบรับรองการรับเงินบำนาญ และ ใบรับรองตราประทับชื่อ ต้องมายื่นก่อน 1 ชั่วโมง)
กล่าวคือ เอกสารที่สามารถรอรับได้ภายในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นนั้น หากท่านไม่สามารถยื่นเอกสารภายในเวลา 15.30 น. (ยกเว้น ใบรับรองการรับเงินบำนาญ และ ใบรับรองตราประทับชื่อ ต้องมายื่นภายในเวลา 15.00 น.) ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ จะให้มารับเอกสารในวันทำการถัดไปแทน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เวลาในการทำเอกสารนั้นๆ - กรณีที่ผู้อื่นมายื่นขอเอกสารแทนนั้น จะรับเอกสารได้ในวันทำการถัดไป
-การรับเอกสาร (ใบรับรอง)-
- ไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้ที่มารับมาเอกสารแทนในเวลารับ
- กรุณามารับเอกสารที่ท่านยื่นเอาไว้ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เนื่องจากเมื่อเอกสารถูกทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานนับจากวันที่
ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ออกเอกสารให้แล้วนั้น เอกสารนั้นๆอาจจะหมดอายุหรือใช้งานไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่
ท่านจะนำเอกสารนั้นๆ ไปยื่น
อนึ่ง เอกสารที่ท่านไม่ได้มารับ (รวมถึงต้นฉบับเอกสารต่างๆ ที่ท่านนำมายื่นไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ) จะถูกทำลายหลังจากทางสถานเอกอัครราชทูตฯ เก็บเรื่องไว้เมื่อมีระยะเวลาเกิน 3 ปี
เวลาทำการ
เวลาทำการของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร
- เวลายื่นคำร้อง・เวลารับเอกสาร: จันทร์-ศุกร์ 8.30-12.00 และ 13.30-16.00
- วันหยุดสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น : วันเสาร์และวันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ไทย และอื่นๆ
ติดต่อสอบถาม
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร
โทรศัพท์ : 0-2207-8501, 0-2696-3001 (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย) โทรสาร : 0-2207-8511 อีเมล : ryouji-soumu@bg.mofa.go.jpสถานกงสุลญี่ปุ่นประจำจังหวัดเชียงใหม่ ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร
โทรศัพท์ : 053-203367 (ต่อ 103) (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย) โทรสาร : 053-203373