หน้าแรก | นโยบายต่างประเทศ | นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ.2008
นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ.2008
สิงหาคม ค.ศ 2007
นโยบายพื้นฐาน
รักษาผลประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่นอันได้แก่ความปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศญี่ปุ่นและประชาชนชาวญี่ปุ่น โดยสนับสนุนการรักษาสันติภาพและความมั่นคงตลอดจนความเจริญรุ่งเรืองของพื้นที่บริเวณรอบประเทศญี่ปุ่นรวมไปถึงสังคมโลก อันจะนำไปสู่การบรรลุผลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและต่อโลกโดยรวม ยึดมั่นและแสดงบทบาทในการต่างประเทศตามหลักพื้นฐานแห่ง เสรีภาพ ประชาธิปไตย พื้นฐานสิทธิมนุษยชน ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) หลักนิติรัฐ (Rule of Law)
เสาหลักของนโยบายการต่างประเทศที่สำคัญ
- รักษาสันติภาพและความปลอดภัยของญี่ปุ่น รวมทั้งส่งเสริมการให้ความร่วมมือแก่ประเทศในเอเชียและประเทศเพื่อนบ้าน
- ความพยายามในหน้าที่ในหัวข้อโลกาภิวัตน์
- เสริมสร้างพื้นฐานเพื่อให้การต่างประเทศให้มีความแข็งแกร่ง
1.รักษาสันติภาพและความปลอดภัยของญี่ปุ่น อีกทั้งส่งเสริมการให้ความร่วมมือแก่เอเชียและประเทศเพื่อนบ้าน
(1) การส่งเสริมการต่างประเทศโดยให้ความสำคัญแก่หลักพื้นฐาน เช่น เสรีภาพ พื้นฐานสิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ (Rule of Law)
- ส่งเสริมความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์และหลักพื้นฐานร่วมกัน อีกทั้งส่งเสริมความเป็นเอกภาพกับยุโรป (รวมไปถึงองค์กรหลักในยุโรปเช่น EU NATO) และออสเตรเลีย
- ดำเนินความสัมพันธ์แห่งการเป็นหุ้นส่วน (Global Partnership) ในทางยุทธศาสตร์กับอินเดีย
- ส่งเสริมการเจรจาและความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเช่น CLMV SAARC เอเชียกลาง GUAM V4 บอลข่านตะวันตก ตุรกี กลุ่มประเทศบอลติก
- สนับสนุนความช่วยเหลือ เพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งของพื้นฐานสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย(รวมถึงความช่วยเหลือในด้านการเตรียมระบบกฎหมาย) และดำเนินความพยายามในการส่งเสริมหลักนิติรัฐในสังคมโลก
(2) การเจรจาและร่วมมือกับประเทศในเอเชียและประเทศเพื่อนบ้าน และแก้ไขปัญหาที่ค้างคา
- สร้างความสัมพันธ์ในทางยุทธศาสตร์ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันประเทศจีน และสร้างความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ในการมุ่งไปสู่จุดหมายในอนาคต
- สร้างการเป็นหุ้นส่วนกับรัสเซียภายใต้ผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน
- เสริมสร้างความร่วมมือในการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก (EAS) และการพัฒนาความร่วมมือในหลายฝ่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ความร่วมมือญี่ปุ่น - จีน - เกาหลีใต้ APEC/ ญี่ปุ่น-ASEAN/ ASEAN+3)
- ความพยายามเพื่อสร้างและดำรงสันติภาพในภูมิภาค
- ดำเนินความพยายามเพื่อแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับเกาหลืเหนือโดยภาพรวม เช่น ปัญหาการลักพาตัว นิวเคลียร์ ขีปนาวุธ เป็นต้น
- สร้างความแข็งแกร่งด้านการต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเขตแดนและรักษาสิทธิผลประโยชน์ทางทะเล
(3) การขยายขอบข่ายของการต่างประเทศ
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ในหลายชั้นที่มีกับตะวันออกกลาง
- ส่งเสริมแนวความคิด "เส้นทางสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง" รวมถึงสร้างสรรค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพในประเทศเช่น อิรัก อัฟกานิสถาน
- ส่งเสริมความสัมพันธ์กับลาตินอเมริกา (รวมถึงการส่งเสริมความสัมพันธ์กับบราซิลโดยผ่านปีการแลกเปลี่ยนญี่ปุ่น-บราซิล (การครบรอบย้ายถิ่นฐาน 100 ปี)
2. นโยบายต่อปัญหาระดับโลกอย่างมีความรับผิดชอบ
(1) ความเป็นผู้นำในการประชุมสุดยอด ที่ โตยาโกะ จังหวัด ฮอกไกโด
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ในการร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้าร่วมประชุม G8
- ดำเนินความพยายามอย่างแข็งขันในเรื่องสิ่งแวดล้อมและ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ
- ส่งเสริมความพยายามในการต่อสู้กับลัทธิก่อการร้าย กระบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรง รวมถึง ปัญหานิวเคลียร์ในอิหร่าน
(2) ความสำเร็จของ TICAD IV
- ส่งเสริมความช่วยเหลือในการผลักดัน "เพื่อมุ่งสู่ความเป็นแอฟริกาที่สดใสเปี่ยมพลัง" ผ่านกระบวนการของการประชุมการพัฒนาแอฟริกา (TICAD IV)
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีกับประเทศใน Sub-Saharan Africa
(3) การปรับยุทธศาสตร์ของ ODA และก้าวสู่ความเป็นผู้นำการแก้ไขปัญหาระดับโลก
- ใช้ ODAสร้างสรรค์นโยบายของประเทศให้เป็นรูปธรรม (การปฏิบัติตามสัญญาระหว่างประเทศ เช่น การเพิ่มปริมาณสะสมของODAให้เป็น 10,000 ล้าน
- ดอลล่าร์สหรัฐภายในปี 2009)
- เพิ่มศักยภาพของ ODA และส่งเสริมการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใสเพื่อก่อตั้ง JICAแบบใหม่
- ส่งเสริม "ความมั่นคงของมนุษย์"
- ดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ความพยายามในการแก้ปัญหาโรคติดต่อ ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก การป้องกันภัยธรรมธาติ (รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์)
(4) การเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกาภิวัตน์และการส่งเสริมกฎเกณฑ์ระดับสากล
- ส่งเสริมและสนับสนุนความหลากหลายของระบบการค้าระหว่างประเทศโดยมี องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นศูนย์กลาง อีกทั้งสนับสนุน EPA/FTA (รวมถึงการส่งเสริมการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา)
- ส่งเสริมการปรับปรุงองค์การสหประชาชาติ เช่น การปรับปรุงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
- สมัครเพื่อการรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแบบในปี ค.ศ.2008
- ส่งเสริมการลดกำลังทหารและการแพร่ของอาวุธที่มีอำนาจทำลายร้างร้ายแรง (รวมถึงความพยายามในเรื่องของปัญหาอาวุธขนาดเล็ก)
(5) การรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน
- รักษาเส้นทางเชื่อมสู่พลังงานและแหล่งผลิตทรัพยากรและเสริมสร้างความหลากหลายของทรัพยากร การรักษาความมั่นคงของเส้นทางขนส่ง การประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- สนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ โดยส่งเสริมการลดการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์และยึดหลักความปลอดภัยเป็นพื้นฐาน
3. การเสริมสร้างพื้นฐานความแข็งแกร่งด้านการต่างประเทศ
(1) เสริมสร้างระบบการต่างประเทศ
- เพิ่มจำนวนสถานทูตและสถานกงสุล (ขยายจำนวนสถานทูตให้ถึง150 แห่งและสร้างสถานกงสุลที่จำเป็นภายใน 10 ปี) และกำลังคน (เพิ่มจำนวนบุคลากรอีก 2,000 คนภายใน 10 ปี)
- ส่งเสริมระบบและการรักษาความปลอดภัยของสถานทูตซึ่งเปรียบดัง "หน้าตาของญี่ปุ่น"และ "ป้อมปราการด่านสุดท้าย" รวมทั้งการเตรียมสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ให้ความร่วมมือกับภาคธุรกิจ ส่งเสริมความเป็นเอกภาพในภูมิภาคและความร่วมมือกับNGO
- สร้างบุคลากรที่จะดำเนินการเพื่อเป็นประโยชน์กับสังคมโลก (รวมถึงการสร้างบุคลากรในสาขาสันติภาพ
(2) ส่งเสริมระบบรักษาความมั่นคงและความเชื่อมั่นของประชาชน
- เตรียมพร้อมรับต่อภัยพิบัติและวิกฤตการต่างๆอย่างเต็มที่
- สนับสนุนความพยายามเพื่อขยายการให้บริการทางกงสุล
- จัดให้กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในมาตรการควบคุมทางน้ำและทางทะเล
(3) ส่งเสริมโครงสร้างยุทธศาสตร์ในเรื่องประชามติ
- เสริมสร้างยุทธศาสตร์ทางข้อมูล (เพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในด้านการวางแผน ความหลากหลายของข่าวสารจากราชการ พัฒนานโยบายในการเตรียมรับสื่อมวลชนต่างชาติ ส่งเสริมการถ่ายทอดโทรทัศน์ในต่างประเทศ การสร้างโฮมเพจของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อก้าวไปสู่อันดับหนึ่งของโลก)
- เสริมสร้างการได้รับความเข้าใจ เสียงสนับสนุนที่ให้แก่ "ญี่ปุ่น" (ขยายการศึกษาภาษาญี่ปุ่น นำPop-Cultureมาใช้ เสริมสร้างบทบาทมูลนิธิญี่ปุ่น (Japan Foundation) เสริมสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบญี่ปุ่น ผู้ที่รู้จักญี่ปุ่น(รวมถึงผู้มีเชื้อสายญี่ปุ่น) ตลอดจนขยายความร่วมมือผ่านยูเนสโก อีกทั้งขอความสนับสนุนในการจัดโอลิมปิกโตเกียวในปี 2016)
(4) เสริมสร้างรากฐานประสิทธิภาพในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์
- เสริมสร้างระบบเก็บรักษาข้อมูลเพื่อดำรงความเชื่อมั่น
- ส่งเสริมการรวบรวมข้อมูลหลากหลายและการวิเคราะห์
CLMV: กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม SAARC: ประเทศสมาชิกสมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (The South Asian Association for Regional Cooperation) : GUAM จอร์เจีย ยูเครน อาเซอร์ไบจาน มอลโดวา V4: Visegrad (เช็ก สโลวะเกีย โปแลนด์ ฮังการี)