หน้าแรก > เส้นทาง 60 ปีในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ





ความท้าทายในอนาคต หลัง 6 ศตวรรษความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น:บทบรรยายโดย ฯพณฯ นายเคียวจิ โคะมะจิ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย NEW
Statement by Prime Minister Taro Aso on the Enactment of the Law on the Penalization of Acts of Piracy and Measures against Acts of Piracy
Speech on the Environment by Prime Minister Taro ASO NEW
"Overcoming the Economic Crisis to Rekindle a Rapidly Developing Asia", speech by H.E. Mr. Taro Aso, Prime Minister of Japan
Speech by Prime Minister Taro ASO: Japan's Future Development Strategy and Growth Initiative towards Doubling the Size of Asia's Economy
นโยบายการต่างประเทศที่สำคัญในปีค.ศ.2008
G8 HOKKAIDO TOYAKO SUMMIT
ปีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง – ประเทศญี่ปุ่น
ข้อความจากสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ นาย ยาซุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
เส้นทาง 60 ปีในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ
สุนทรพจน์ ฯพณฯ นายจุนอิชิโร โคะอิซึมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในการประชุมประเทศเอเชียและแอฟริกา
สถานะพื้นฐานของรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเยือนศาลเจ้ายาสึคุนิของนายกรัฐมนตรี จุนอิชิโร โคะอิซุมิ
Foreign Policy
Policy Speech by Mr. Masahiko Koumura, Minister for Foreign Affairs"Education for All: Human Resource Development for Self-Reliance and Growth"
Special Address by H.E. Mr. Yasuo Fukuda, Prime Minister of Japan On the Occasion of the Annual Meeting of the World Economic Forum
Address by H.E. Mr. Taro Aso, Minister for Foreign Affairs: On the "Arc of Freedom and Prosperity"
Address by H.E. Mr. Taro Aso, Minister for Foreign Affairs "Middle East Policy As I See It"
Speech by Mr.Taro Aso, Minister for Foreign Affairs on the Occasion of the Japan Institute of International Affairs Seminar "Arc of Freedom and Prosperity: Japan's Expanding Diplomatic Horizons"
Japan's School Textbooks Examination Procedure

ญี่ปุ่น: เส้นทาง 60 ปี ในฐานะประเทศที่มุ่งมั่นเพื่อสันติภาพ


ในช่วงระยะเวลาหนึ่งในอดีต ประเทศญี่ปุ่นได้ดำเนินนโยบายแห่งชาติที่ผิดพลาด และได้ก่อความเสียหายและความทุกข์มหันต์แก่ประชาชนในหลายๆประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในเอเชียโดยการเข้ายึดครองและรุกราน ญี่ปุ่นเผชิญความจริงแห่งประวัติศาสตร์ข้อนี้ด้วยสำนึกอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างยิ่ง จากจิตสำนึกที่ฝังแน่นด้วยความรู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง และคำขอโทษจากใจจริงตลอดมา ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเสริมสร้างรากฐานด้วยความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง ได้ยืนหยัดมุ่งมั่นเพื่อสันติภาพโดยยึดมั่นในนโยบายป้องกันและรักษาความมั่นคง ป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างประเทศ และอุทิศตนเพื่อสันติสุขและความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างเหนียวแน่นด้วยการระดมความสามารถทุกอย่างที่มีอยู่ เส้นทางเส้นนี้บ่งบอกในตัวเองถึงความเพียรพยายามมุ่งมั่นเพื่อสันติภาพอย่างไม่ย่อท้อที่ญี่ปุ่นได้แสดงให้ปรากฏตลอดระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมา ผลงานดังต่อไปนี้เป็นเพียงบางส่วนของความสำเร็จ

I. ญี่ปุ่นยึดมั่นในนโยบายป้องกันรักษาความมั่นคง
  • มีอาวุธในครอบครองเพื่อการป้องกันตนเองในปริมาณน้อยที่สุด และไม่มีอาวุธร้ายแรงซึ่งอาจคุกคามประเทศอื่น
    ไม่พึ่งพาการใช้กำลังนับแต่การสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2
    คงงบประมาณสำหรับการป้องกันประเทศไว้ในระดับเพียงร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รักษานโยบายหรือท่าทีในการป้องกันประเทศให้โปร่งใส
    ไม่ครอบครอง ไม่ผลิต ไม่อนุญาตให้นำเข้า อาวุธนิวเคลียร์ (หลักการไม่ถือครองนิวเคลียร์ 3 ประการ)
  • ธำรงข้อตกลงความมั่นคง ญี่ปุ่น - สหรัฐอเมริกา
    เพื่อประกันเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาค


II. ญี่ปุ่นป้องกันการขยายตัวของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
  • จะไม่เป็นผู้จัดหาอาวุธ ไม่แสวงหากำไรโดยการค้าอาวุธ (“หลักการว่าด้วยการส่งออกอาวุธ”)
  • มุ่งมั่นดำเนินความพยายามที่จะนำไปสู่การกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้น ในฐานะเป็นประเทศเดียวที่เคยประสบกับความโหดร้ายจากนิวเคลียร์
    ริเริ่มการกำจัดอาวุธ และการไม่แพร่ขยายอาวุธ (เช่น เสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบ NPT – สนธิสัญญาการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และบังคับใช้ CTBT – สนธิสัญญาว่าด้วยการห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์)

III. ญี่ปุ่นอุทิศตนเพื่อสันติสุขและความมั่นคงระหว่างประเทศ

  • บทบาทต่อสหประชาชาติ
    เป็นสมาชิกไม่ถาวรแห่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 9-ครั้ง โดยการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกในเอเชีย
    ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายขององค์การสหประชาชาติ
  • การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน (ODA – ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ)
    ให้ความช่วยเหลือแก่ 185 ประเทศ เป็นมูลค่ารวม 230,000 ล้านดอลล่าร์ในระยะเวลา 51 ปีที่ผ่านมา
    ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือรายใหญ่ที่สุดในระหว่างปี ค.ศ. 1991 – 2000 ที่ให้ความช่วยเหลือในรูปของ ODA สูงถึงร้อยละ 20 ของยอดความช่วยเหลือODA ทั้งหมดในทศวรรษที่ผ่านมา
    ห้ามใช้ความช่วยเหลือ ODA เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร ป้องกันการ ขยายตัวของความขัดแย้งใดๆ (“กฎของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ”)
  • การร่วมมือด้วยการระดมทรัพยากรมนุษย์
    (รักษาความสงบ สร้างสันติภาพ สนับสนุนปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมและการบูรณะฟื้นฟู)
    เข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาสันติภาพในกัมพูชา โมซัมบิค ติมอร์ตะวันออก และที่ราบสูงโกลาน เป็นต้น
    ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการต่อสู้การก่อการร้ายโดยการส่งกองกำลังป้องกันตนเองเข้าร่วมปฏิบัติการส่งกำลังบำรุงด้านเชื้อเพลิงในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2544
    ปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรมและบูรณะฟื้นฟูโดยกองกำลังป้องกันตนเองในอิรัก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 (ความร่วมมือในการส่งและรับผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัคร)
    ส่งผู้เชี่ยวชาญ และอาสาสมัคร 280,000 คน ไปประเทศต่างๆ 166 ประเทศ และรับผู้เข้าอบรมชาวต่างประเทศ 280,000 คนเข้าอบรมที่ญี่ปุ่นภายใต้โครงการความร่วมมือทางเทคโนโลยี
    ส่งอาสาสมัครญี่ปุ่น 27,000 คน ไปประจำใน 79 ประเทศ

Path of 60 Years as a Nation Striving for Peace