SSW คืออะไร
- 日本語
- English
- Filipino
- ភាសាខ្មែរ
- नेपाली
- မြန်မာဘာသာစကား
- Монгол хэл
- Bahasa Indonesia
- Tiếng Việt
- ภาษาไทย
- 简体中文
- বাাংলা
- O`zbek
- اردو
- हिंदी
- Bahasa Melayu
- ພາສາລາວ
- Кыргыз тили
วีซ่าและ "สถานภาพการพำนัก"
โดยหลักการแล้ว ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องได้รับการออก "วีซ่า" ณ สถานทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศ (องค์กรของกระทรวงการต่างประเทศ) แต่แม้จะมีวีซ่าแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้เสมอไป เมื่อเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่นแล้ว ท่านจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการตรวจสอบที่จำเป็นโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองของกระทรวงยุติธรรมที่สนามบิน ฯลฯ และได้รับ "สถานภาพการพำนัก" ตามกิจกรรมที่จะทำในประเทศญี่ปุ่น "วีซ่า" และ "สถานภาพการพำนัก" จึงเป็นคนละขั้นตอนที่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของต่างหน่วยงานกันดังเช่นข้างต้น SSW ที่ได้แนะนำในหน้านี้เป็น "สถานภาพการพำนัก" ประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นมาใหม่ โดย SSW มี 2 ประเภท คือ "ทักษะเฉพาะทาง" (i) และ (ii)
คุณสมบัติของ SSW
คุณสมบัติของผู้ที่จะสามารถทำงานในญี่ปุ่นในฐานะ SSW ได้จะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีทักษะฝีมือที่จำเป็นพร้อมจะทำงานในฐานะที่เป็นแรงงานทักษะเฉพาะทางทันทีโดยไม่ต้องรับการฝึกอบรมเป็นพิเศษ
อีกทั้งยังมีอีกระบบที่เรียกว่า“ การเข้าฝึกงานด้านเทคนิค (Technical Intern Training)” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความช่วยเหลือในระดับนานาชาติโดยเมื่อได้เรียนรู้เทคนิคต่าง ๆ ของญี่ปุ่นผ่านการฝึกงานที่หน้างานจริง และกลับประเทศของตนไปแล้ว ก็จะได้เผยแพร่เทคนิคดังกล่าวในประเทศภูมิลำเนา ผู้ที่สำเร็จการฝึกงาน (Training) ที่กำหนดในระบบนี้เรียบร้อยแล้ว จะสามารถเปลี่ยนสถานภาพการพำนักเป็นแบบ SSW (i) ในสาขาเดียวกันได้โดยไม่ต้องเข้ารับการทดสอบทักษะและการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น โปรดดูความแตกต่างหลัก ๆ ระหว่าง SSW (i) และ (ii) จากตารางต่อไปนี้
ทักษะเฉพาะทาง
SSW (i) : สำหรับชาวต่างชาติที่จะได้รับสถานภาพเป็นผู้มีถิ่นพำนัก จะต้องเป็นแรงงานที่มีทักษะเฉพาะทาง หรือประสบการณ์มากพอในสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทางนั้นๆ
SSW (ii) : สำหรับชาวต่างชาติที่เกี่ยวข้องกับงานซึ่งจำเป็นต้องมีทักษะเชี่ยวชาญในสาขาอุตสาหกรรมเฉพาะทาง
ระยะเวลาพำนัก |
SSW (i) : รวมทั้งสิ้นแล้วสูงสุดไม่เกิน 5 ปี SSW (ii) : ไม่มีข้อจำกัดในการพำนักเนื่องจากสามารถต่ออายุได้ |
---|---|
ระดับมาตรฐานของทักษะ |
SSW (i) : ได้รับการรับรองโดยการทดสอบ ฯลฯ (ชาวต่างชาติที่ผ่านการฝึกงานด้านเทคนิค (ii) จะได้รับยกเว้นการทดสอบ) SSW (ii) : ได้รับการรับรองโดยการทดสอบ ฯลฯ |
ระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น |
SSW (i) : ตรวจสอบด้วยการสอบวัดความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน (ชาวต่างชาติที่ผ่านการฝึกงานด้านเทคนิค (ii) จะได้รับยกเว้นการสอบ) SSW (ii) : ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยการสอบ ฯลฯ |
การนำสมาชิกครอบครัวติดตามมาด้วย |
SSW (i) : โดยทั่วไปแล้วจะไม่อนุญาต SSW (ii) : สามารถทำได้หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนด (คู่สมรส บุตร) |
SSW (i) เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนโดยองค์กรที่ตอบรับหรือองค์กรสนับสนุนที่ได้รับการจดทะเบียน
งานที่สามารถทำได้ในฐานะ SSW
ลักษณะงานเฉพาะทางที่สามารถทำได้ในสถานะ SSW ที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับแต่ละสาขาอุตสาหกรรมทั้ง 16 สาขา มีดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม Specified Skilled Worker (i) (แรงงานทักษะเฉพาะทาง) สามารถทำงานในสาขาเฉพาะดังต่อไปนี้เท่านั้น การบริบาล, อุตสาหกรรมการขนส่งทางรถยนต์, การรถไฟ, การป่าไม้ และอุตสาหกรรมไม้
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ
-
การบริบาลนอกเหนือจากการบริบาล ฯลฯ (ช่วยอาบน้ำ ป้อนอาหาร และจัดการของเสียที่ร่างกายขับออกมาตามสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ว่าจ้าง) ยังรวมถึงงานบริการสนับสนุนอื่น ๆ (เป็นผู้ช่วยในการสันทนาการและฝีกฝนการใช้งานร่างกาย ฯลฯ)
หมายเหตุ : ไม่รวมบริการการเข้าเยี่ยม -
การจัดการความสะอาดอาคารการทำความสะอาดภายในอาคาร
สังกัดกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม
-
การผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ・การตัดเฉือนและการแปรรูปโลหะ
・การประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
・การชุบผิวโลหะ
・การผลิตกล่องกระดาษและกล่องกระดาษลูกฟูก
・การผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป
・การผลิตเชื้อเพลิงจากกระดาษและพลาสติกรีไซเคิล
・การผลิตเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องตกแต่ง
・การพิมพ์/การเย็บเล่มหนังสือ
・การผลิตสิ่งทอ
・การตัดเย็บ
สังกัดกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค ขนส่ง และการท่องเที่ยว
-
การก่อสร้าง・วิศวกรรมโยธา
・การก่อสร้าง
・สิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน -
อุตสาหกรรมการต่อเรือและเครื่องจักรเรือ・การต่อเรือ
・เครื่องจักรของเรือ
・อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเรือ -
การซ่อมและดูแลรักษารถยนต์การบำรุงรักษารถยนต์ประจำวัน การบำรุงรักษาปกติ การบำรุงรักษาเฉพาะด้าน รวมถึงงานที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาเฉพาะด้าน
-
การบินงานจัดการภาคพื้นดินของสนามบิน (บริการขับรถสนับสนุนภาคพื้นดิน กระเป๋าสัมภาระ และจัดการขนส่งสินค้า ฯลฯ), งานดูแลรักษาเครื่องบิน (ซ่อมบำรุงเครื่องบินและอุปกรณ์ ฯลฯ)
-
การโรงแรมบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น แผนกต้อนรับส่วนหน้า, วางแผนและประชาสัมพันธ์, งานต้อนรับ, งานบริการในร้านอาหาร ฯลฯ
-
อุตสาหกรรมการขนส่งทางรถยนต์・คนขับรถบรรทุก
・คนขับรถแท็กซี่
・คนขับรถบัส -
การรถไฟ・การก่อสร้างและการบำรุงรักษารางรถไฟ
・การก่อสร้างและการบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวกไฟฟ้า
・การบำรุงรักษาและการซ่อมบำรุงล้อเลื่อน
・การผลิตล้อเลื่อน
・งานการเดินรถไฟ (พนักงานสถานี พนักงานควบคุมขบวนรถ และพนักงานขับรถ)
สังกัดกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง
-
การเกษตรงานปลูกพืชทำสวนทั่วไป (จัดการการเพาะปลูก การจัดเก็บ/จัดส่ง/จำแนกผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ), งานปศุสัตว์ทั่วไป (จัดการการเลี้ยงสัตว์ การจัดเก็บ/ขนส่ง/จำแนกผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ฯลฯ)
-
การทำประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำงานประมง (การผลิตและซ่อมแซมอุปกรณ์ทำประมง, ค้นหาสัตว์และพืชน้ำ, การใช้งานอุปกรณ์และเครื่องจักรทำประมง, การจับสัตว์น้ำและเก็บเกี่ยวพืชน้ำ, การจัดการและเก็บรักษาสิ่งที่จับหรือเก็บมาได้, การดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัย ฯลฯ), งานอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (การผลิต ซ่อมแซม และจัดการวัสดุการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การจัดการเพาะพันธุ์, การจัดเก็บ (เก็บเกี่ยว) และจัดการสัตว์น้ำกับพืชที่เพาะเลี้ยง, การดูแลความปลอดภัยและสุขอนามัย ฯลฯ)
-
อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่มการผลิตอาหารและเครื่องดื่มทั่วไป (การผลิต/แปรรูป ความปลอดภัยและสุขอนามัยของอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมสุรา))
-
อุตสาหกรรมบริการด้านอาหารอุตสาหกรรมร้านอาหารทั่วไป (การทำอาหารและเครื่องดื่ม, การบริการลูกค้า, การจัดการ Store management)
-
การป่าไม้การปลูกป่า การผลิตท่อนซุง ฯลฯ
-
อุตสาหกรรมไม้การแปรรูปไม้ในอุตสาหกรรมเลื่อยไม้และอุตสาหกรรมไม้อัด ฯลฯ
คำแนะนำจากแรงงานทักษะเฉพาะทางที่กำลังทำงานในประเทศญี่ปุ่น
วิดีโอต่อไปนี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 "อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนเครื่องจักร" ได้เปลี่ยนเป็น "การผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม"