หน้าแรก | ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่โครงการ GGP | ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรม | ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น


ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกันอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดจากตัวเลขต่างๆ ดังที่จะกล่าวในต่อไปนี้

ปี พ. ศ. 2547 ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย ในขณะที่ไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเป็นรายใหญ่อันดับที่ 7 จากทั่วโลก โดยมีมูลค่าการค้าสูงถึง 34,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่าการส่งออกจากไทยไปยังญี่ปุ่นนั้นมีสัดส่วนร้อยละ 14.0 จากมูลค่าการส่งออกจากไทยสู่ทั่วโลก เป็นอันดับที่ 2 รองจากการส่งออกไปสหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าจากญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 23.6 ของมูลค่าการนำเข้าจากนานาประเทศสู่ไทย จึงกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศแหล่งนำเข้ารายใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศไทย

ส่วนการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ผ่านมาจนถึงปี 2547 มีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด โดยที่ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุด ปัจจุบันจึงมีบริษัทญี่ปุ่นที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยนั้นมากถึง 1,234 แห่ง (ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทที่ลงทะเบียนกับหอการค้าญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เท่านั้น) และบริษัทเหล่านี้ได้จ้างแรงงานคนไทยมากเกือบ 4 แสนคน

การเดินทางไปมาระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศก็คึกคักเช่นกัน ในปี 2547 มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาประเทศไทยมากถึง 1.21 ล้านคน เป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย แต่ในขณะเดียวกันคนไทยที่เดินทางไปยังญี่ปุ่นนั้นมีประมาณ 1แสนคน ซึ่งถือว่ายังเป็นจำนวนน้อย ดังนั้นเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนคนไทยให้ไปเยือนญี่ปุ่นและรู้จักญี่ปุ่นให้มากขึ้น รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้จัดให้มีการรณรงค์ “Visit Japan Campaign” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้มาเยือนประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น โดยกำหนดให้ประเทศไทยเป็นตลาดที่สำคัญ

ไทยและญี่ปุ่นกำลังดำเนินการเจรจาว่าด้วยเขตการค้าเสรี (FTA) หรือชื่อทางการว่า “ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนไทย – ญี่ปุ่น (JTEPA)” ทั้งสองประเทศคาดหวังว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ภายในต้นปีหน้า เป้าหมายของ JTEPA นั้นนอกจากเป็นการเปิดตลาดการค้าสินค้าโดยเสรีแล้ว ยังครอบคลุมถึงสาขาอื่นๆ อย่างกว้างขวาง รวมถึงการบริการ กฎระเบียบการลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคลากร และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ดังนั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีชื่อว่า ข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วน (EPA)แทนข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ผลจากการประเมินของมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย (TDRI) พบว่า หาก JTEPA มีผลบังคับใช้แล้ว GDP ( ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ) ของไทยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.81 การส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.44 และการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.17 ส่งผลให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย – ญี่ปุ่น และมิตรภาพที่ดีงามระหว่างทั้งสองประเทศ ที่ใกล้ชิดแน่นแฟ้นอยู่แล้ว จะทวีความมั่นคงสถาพรยิ่งขึ้น



ยอดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแก่ไทย

ญี่ปุ่นให้ความสำคัญแก่ประเทศไทย และให้ความช่วยเหลือเทียบเท่ากับ การช่วยเหลือที่ให้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยประมาณร้อยละ 60 - 70 ของความช่วยเหลือจาก ประเทศกลุ่ม DAC ที่ประเทศไทยได้รับเป็น ความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น โดยให้ความสำคัญกับสาขาต่างๆ ตามลำดับความสำคัญใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) ได้แก่ ความช่วยเหลือด้านสังคม (การศึกษา HIV/AIDS) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การพัฒนาท้องถิ่น พื้นที่เกษตร การเตรียมพื้นฐานอุตสาหกรรม (การพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรรม การเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ เป็นต้น)

ยอดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแก่ไทย (หน่วย : พันล้านเยน)


เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในรูปเงินเยน
(ตามเอกสารแลกเปลี่ยน
อย่างเป็นทางการ)
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า
(ตามเอกสารแลกเปลี่ยน
อย่างเป็นทางการ)
ความร่วมมือทางเทคโนโลยี
(ยอดจริง)
ปีงบประมาณ 252873.112.56.0
ปีงบประมาณ 2529-12.16.1
ปีงบประมาณ 253081.811.78.1
ปีงบประมาณ 253175.89.38.4
ปีงบประมาณ 253281.28.98.0
ปีงบประมาณ 2533-6.77.7
ปีงบประมาณ 25348476.07.6
ปีงบประมาณ 2535127.4
* ยอดประจำปี 93.0
* ส่วนพิเศษ 33.475
3.29.3
ปีงบประมาณ 2536104.53.18.4
ปีงบประมาณ 253782.30.18.1
ปีงบประมาณ 253861.60.28.0
ปีงบประมาณ 2539118.30.39.5
ปีงบประมาณ 2540105.90.38.9
ปีงบประมาณ 2541147.62.310.3
ปีงบประมาณ 2542151.80.26.6
ปีงบประมาณ 254395.70.26.6
ปีงบประมาณ 25446.40.36.9
ปีงบประมาณ 254545.20.45.7
ปีงบประมาณ 254644.90.44.3
ปีงบประมาณ 254700.54.7
ปีงบประมาณ 254835.50.23.6
ปีงบประมาณ 254900.23.0
ปีงบประมาณ 255062.40.12.4
ปีงบประมาณ 255163.00.11.9





สัดส่วนของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการแห่งญี่ปุ่น (ODA) ของกลุ่มประเทศ DAC ต่อประเทศไทย
(ปี พ.ศ. 2531 - 2541 เป็นยอดจ่ายสุทธิ หน่วย : ล้านดอลล่าร์)

(ODA NET ยอดรวมระหว่าง 2 ประเทศ)

โครงการสำคัญ ๆ ที่ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทย
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าและด้านเทคโนโลยีรวม 366,753 ล้านเยน
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ามูลค่า159,241 ล้านเยน
ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีมูลค่า207,512 ล้านเยน
ณ ปีงบประมาณ 2551


การให้เงินกู้ในรูปเงินเยน
2,170,213 ล้านเยน ( ณ ปีงบประมาณ 2551)



ความร่วมมือทางเทคโนโลยี
โครงการอื่นๆ

โครงการศูนย์พัฒนาเทคโนโลยี่สารสนเทศเพื่อการศึกษา (ITEd)



ปีงบประมาณ 2551
รับนักวิจัย389 คน
ส่งผู้เชี่ยวชาญ94 คน
ส่งคณะสำรวจ197 คน
ส่งอาสาสมัคร17 คน
ส่งอาสาสมัครอาวุโส37 คน
ให้อุปกรณ์80 ล้านเยน
ความร่วมมือทางเทคโนโลยี142 โครงการ
การสำรวจเพื่อการพัฒนา213 โครงการ