หน้าแรก | นโยบายต่างประเทศ | ข้อความจากสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ นาย ยาซุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น



ข้อความจากสุนทรพจน์โดย ฯพณฯ นาย ยาซุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

มุ่งไปสู่ "วันที่มหาสมุทรแปซิฟิกจะกลายเป็น "ทะเลใน"
-สัญญา 5 ข้อเพื่ออนาคตของเอเชียด้วย "การก้าวไปด้วยกัน" -"

ณ การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชีย ครั้งที่ 14
วันที่ 22 พฤษภาคม 2551

1.บทนำ

  1. ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์พายุไซโคลนในประเทศพม่าและแผ่นดินไหวในมลฑลในภาคตะวันตกของจีน
  2. กล่าวถึงการมาเยือนของฯพณฯ หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน และ ฯพณฯ ลี เมียง บัค ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี
  3. มองด้วยทัศนคติในระยะยาวและวาดภาพของเอเชียในอีก30ปีข้างหน้าโดยใช้มหาสมุทรแปซิฟิกในการสะท้อนภาพมุมต่างๆ

2. ความหวังและโอกาสของภูมิภาคเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก

  1. นโยบายFukuda Doctrineในปีค.ศ.1977 → ความสัมพันธ์แบบเพื่อนร่วมงานระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  2. ภูมิภาคเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิกเป็น "ความหวังและโอกาส" ของเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก อยากจะเรียกร้องให้มีการนำเอาประสบการณ์30ปีและความสามารถที่เอเชียมีไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาภูมิภาคแอฟริกา ณ ที่ประชุมTICADIV

3. ในอีก30ปีข้างหน้า มหาสมุทรแปซิฟิกจะกลายเป็น "ทะเลใน"

  1. ในอีก30ปีข้างหน้า มหาสมุทรแปซิฟิกจะแปรเปลี่ยนเป็นดั่ง "ทะเลใน" ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนของสินค้าและคนดังเช่นทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียเป็นตัวหลักในประวัติศาสตร์โลก ทะเลเป็นตัวเชื่อมเอเชียกับโลก ทะเลจะเป็นเครือข่ายเชื่อมประเทศกับประเทศที่มีมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นทะเลใน เช่น อเมริกาเหนือ-ใต้ รัสเซีย อินเดีย เมื่อการพัฒนาขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น
  2. คำสำคัญคือ "การเปิดกว้าง" ญี่ปุ่นจะต้องเปิดกว้างต่อภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกและโลกที่มีความหลากหลายมากขึ้นพร้อมๆกับแสวงหาความเป็นไปได้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด ญี่ปุ่นต้องการที่จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับประเทศในเอเชียและสหรัฐอเมริการวมทั้งร่วมกันคิดวิธีที่จะทำให้ เครือข่ายการผลิตและการคมนาคมในภูมิภาคเข้มแข็ง

4. สัญญา5ข้อ

ประเด็นดังต่อไปนี้จำเป็นต่อการสร้างเครือข่ายที่สามารถดำรงการขยายตัวและการพัฒนา

  1. ประเทศในเอเชียต้องมีสายตาที่ครอบคลุมถึงมหาสมุทรแปซิฟิก เตรียมพร้อมในด้านกำลังที่จะเข้าร่วมเครือข่ายนี้
  2. เตรียมพร้อมสภาพแวดล้อมที่จำเป็น

⇒ ญี่ปุ่นได้ให้สัญญา5ข้อ

สัญญาข้อที่ 1 จะสนับสนุนความร่วมมือในการสร้าง ASEAN COMMUNITY (ประชาคมอาเซียน) เป็นความจริงอย่างเต็มที่

ความมั่นคงและรุ่งเรืองของอาเซียนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจะขยายความร่วมมือเพื่อทำให้ ASEAN COMMUNITY เป็นความจริงภายในปี ค.ศ.2015

  1. หลังจากกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ จะมีการแต่งตั้งทูตอาเซียน และการตั้งผู้แทนถาวรญี่ปุ่นประจำอาเซียนในอนาคตอันใกล้
  2. ส่งเสริมการรวมตัวของตลาดอาเซียนผ่านความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจของญี่ปุ่น-อาเซียน
  3. ประกาศ "30 ปีแห่งการแก้ไขปัญหาความแตกต่าง" เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างบริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงไปพร้อมๆกับสนับสนุนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (EAST WEST CORRIDOR)
  4. ญี่ปุ่นและอาเซียนสามารถร่วมมือกันในหลายหัวข้อได้ เช่น การสร้างความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การประหยัดพลังงาน การเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงของอาหาร การป้องกันการระบาดของไข้หวัดนก

⇒ การเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างญี่ปุ่นกับประเทศอาเซียนในการสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ แนวคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน

สัญญาข้อที่ 2 กระชับความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในสมาชิกของประเทศในเอเชียและแปซิฟิกที่มีความสำคัญมากที่สุด เอเชียยังคงมีปัจจัยของความไม่มั่นคงและ ความไม่แน่นอนหลงเหลืออยู่ การแก้ไขปัญหาคาบสมุทรเกาหลีจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นการกระชับความเป็นพันธมิตรระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกาเป็นกลไกสร้างความปลอดภัยตลอดจนเป็นฐานความเจริญและพัฒนาทรัพยากรให้ญี่ปุ่นรวมทั้งให้อาเซียนและแปซิฟิกอีกด้วย

สัญญาข้อที่ 3 การทุ่มเทในการเป็น "ประเทศที่ใหัความร่วมมือในด้านสันติภาพ"

ญี่ปุ่นจะฝึกฝนตนเองไปพร้อมๆกับส่งเสริมสันติภาพในเอเชียและโลกโดยไม่เสียดายหยาดเหงื่อ

  1. ส่งเสริมความร่วมมือให้เส้นทางเดินเรือซึ่งมีช่องแคบมะละกาเป็นจุดศูนย์กลางให้มีความปลอดภัย
  2. ส่งเสริมการต่อสู้ลัทธิก่อการร้ายอย่างต่อเนื่องเริ่มตั้งแต่การเติมน้ำมันในมหาสมุทรอินเดีย
  3. ส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาการในการเสริมสร้างสันติภาพ เพื่อผลิตผู้เชี่ยวชาญทางสันติภาพจากภูมิภาคเอเชียให้มีบทบาททั้งในและนอกเอเชีย
  4. แสวงหา"การทูตเพื่อความร่วมมือในการป้องกันภัยธรรมชาติ" ก่อนอื่นร่วมมือกับอาเซียนรวมถึงประเทศเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิกในด้านการป้องกันภัยธรรมชาติ สร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องในประเทศเอเชียและสร้างระบบความร่วมมือที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขนาดใหญ่

⇒ สร้าง"เครือข่ายป้องกันภัยธรรมชาติและโรคระบาด" รวมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือไข้หวัดนกเป็น

สัญญาข้อที่ 4 การสร้างและส่งเสริมฐานความรู้และการแลกเปลี่ยนติดต่อข้ามรุ่นอายุคนในภูมิภาคเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิก

  1. ส่งเสริมโครงการรับนักศึกษาต่างชาติจำนวน 300,000 คน
  2. เชิญเยาวชนในภูมิภาคเอเชีย6,000คนต่อปีเดินทางมาญี่ปุ่นภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนในเอเชียตะวันออกในศตวรรษที่21
  3. การขยายการแลกเปลี่ยนระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมุ่งมั่นไปสู่ "Erasmus Program" ของยุโรปในแบบของเอเชีย
  4. มุ่งหมายให้ERIA(Economic Research Institute for ASEAN and East Asiaทำหน้าที่เสมือน OECD(Organisation for Economic Co-Operation and Development) ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในอนาคต

สัญญาข้อที่ 5 การจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ สร้างสังคมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่ำ

มีความเป็นไปได้สูงว่า ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดในโลก เร่งดำเนินความร่วมมือให้มีการตกลงกันภายใต้กรอบของพิธีสารเกียวโตโดยเร็ว ด้วยการร่วมมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเพื่อสร้างสังคมที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ญี่ปุ่นปรารถนาจะร่วมมือกับประเทศในเอเชียในด้านต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อภูมิภาค

5. สรุป

  1. ต่อจากนี้ไป ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะเผชิญปัญหาที่ท้าทายหลายด้าน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศ นํ้า พลังงาน อาหาร การขยายตัวของประชากรและ การรวมตัวของประชากรในเมืองใหญ่ การพัฒนาระบบการปกครองให้ดียิ่งขึ้นถือเป็นสิ่งจำเป็นในการแก้ไขและป้องกันปัญหาและความวุ่นวาย
  2. ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เคยประสบปัญหามากมาย เช่น การปล่อยสารที่ทำลายสภาพแวดล้อม ปัญหาฟองสบู่แตก เศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากภาวะเงินฝืด แต่ก็สามารถฝ่าฟันและแก้ไขปัญหาเหล่านั้นไปได้ แนวความคิดว่าด้วย "ความรู้สึกเสียดาย" จึงเป็นรากฐานอันหนึ่งในการสร้างสังคมที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับตํ่า ⇒ จะเป็นเพื่อนที่สามารถเล่าประสบการณ์สู่กันได้
  3. ในอีกทางหนึ่ง ญี่ปุ่นก็สามารถเรียนรู้จากประเทศในเอเชียและแปซิฟิกเกี่ยวกับ การมีส่วนร่วมทางสังคมของสตรี การรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การใช้ทรัพยากรบุคคลในเอเชียที่มีความสามารถ เป็นต้น ญี่ปุ่นต้องเป็นประเทศที่เปิดกว้างขึ้น ⇒ ร่วมกันเรียนรู้และให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
  4. ญี่ปุ่นประสงค์จะขยายบทบาทในการเป็นศูนย์กลางความมั่นคงและการพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิก
  5. ต้องการที่จะสร้างความไว้วางใจระหว่างคนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกซึ่งกันและกันให้มากยิ่งขึ้น ด้วยการ "ก้าวไปด้วยกัน"