หน้าแรก | นโยบายต่างประเทศ | G8 HOKKAIDO TOYAKO SUMMIT

G8 HOKKAIDO TOYAKO SUMMIT

(คำแปลไม่เป็นทางการ)



บทนำ


จากการที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน ประกาศให้ดอลลาร์สหรัฐออกจากมาตรฐานทองคำ (Nixon Shock) และวิกฤตการณ์นํ้ามันครั้งที่1ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะที่ไม่มั่นคง ผู้นำประเทศพัฒนาแล้วจึงมีความเห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นของเวทีที่จะใช้เป็นสถานที่ในการตกลงนโยบายความร่วมมือ จึงได้มีการจัดการประชุม Summit ครั้งแรกขึ้นที่เมืองRambouillet ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นการประชุม Summit ก็ได้ถูกจัดขึ้นทุกปี และมีการหยิบยกหัวข้อหารือระดับโลกมาใช้ในการประชุม การประชุมนี้ได้ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆมากมายจนได้มาถึงการประชุมครั้งที่ 34 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่าวันที่ 7-9 กรกฎาคม ณ Toyako จังหวัด Hokkaido หัวข้อในการประชุม Summit ครั้งนี้คือ “สิ่งแวดล้อมและการแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศ” “การพัฒนาและแอฟริกา” “เศรษฐกิจโลก” “ปัญหาการเมืองเช่นการป้องกันการขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์” ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อใดก็ตามได้มีการจับตามองความเป็นผู้นำของญี่ปุ่นจากทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหัวข้อ“สิ่งแวดล้อมและการแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศ”ซึ่งเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดในการประชุมครั้งนี้ ญี่ปุ่นได้เสนอนโยบาย “Cool Earth” ในการประชุม Heiligendamm Summit ในปีค.ศ.2007 ณ ประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นนโยบายที่ว่าด้วย “การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากสถานการณ์ปัจจุบันลงครึ่งหนึ่งภายในปีค.ศ. 2050” ญี่ปุ่นได้รับการชื่นชมจากประเทศต่างๆในเรื่องของความพยายยามที่จะให้แต่ละประเทศสามารถตกลงกันได้ การประชุม Summit เป็นเวทีสำคัญที่ผู้นำประเทศพัฒนาแล้วจะหารือกันในหัวข้อต่างๆ แต่ไม้ได้หมายความว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกได้ ในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละคนจะต้องมีความสนใจในหัวข้อนั้นๆและหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเสมือนเป็นปัญหาของตัวเอง จากความคิดดังกล่าวมาข้างต้น จึงมีการทำแผ่นพับนี้เกิดขึ้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกท่านเกี่ยวกับการประชุม Summit ที่ Toyako จังหวัด Hokkaido โดยการประชุมนี้มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาระดับโลกและเป็นเวทีที่ใช้ส่งข้อความสำคัญไปทั่วโลกซึ่งหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านเป็นอย่างดี





เศรษฐกิจโลก


จากปัญหาเช่น ปัญหาซับไพรม (Subprime) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและการเพิ่มขึ้นของราคานํ้ามันอย่างเป็นปรากฎการณ์ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะซบเซายิ่งขึ้น การหารือกันอย่างจริงจังเกี่ยวกับการประชุม G8 ของผู้นำประเทศที่เป็นผู้นำทาง เศรฐกิจเพื่อร่วมกันส่งสัญญาณที่มีความสอดคล้องกันถือเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในการประชุม Summit ครั้งต่อไปที่จะถึงนี้นอกจากจะมีแผนการณ์เกี่ยวกับ การสร้างการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืนแล้ว ยังมีการหารือเกี่ยวกับการลงทุน การค้าขาย การรักษาลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา และปัญหาทรัพยากรอีกด้วย



สิ่งแวดล้อมและการแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศ


ได้มีการริเริ่มเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการหารือขององค์การสหประชาชาติในเรื่องของขอบข่ายงานในยุคต่อไปซึ่งเป็นยุคที่อยู่ในช่วงหลังปีค.ศ.2013 สำหรับญี่ปุ่น ได้มีการวางจุดมุ่งหมายระยะยาวในเรื่องของการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากสถานการณ์ปัจจุบันลงครึ่งหนึ่งภายในปีค.ศ.2050 พร้อมกันนี้ได้ให้ความสำคัญกับกรอบในยุคถัดไปดังนี้

  1. ให้ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณมากรวมถึงประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศมีส่วนร่วม
  2. มีความยืดหยุ่นและหลากหลาย
  3. ให้ความสำคัญกับการนำเทคนิคการประหยัดพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สภาวะแวดล้อมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ ฯพณฯ ยาซุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศแนวความคิด “Cool Earth”ขึ้น ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ประการ คือ “กรอบพิธีสารเกียวโต” “ความร่วมมือนานาชาติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม” และ “นวัตกรรม” นอกจากนี้ยังมีการหารือในหัวข้อ ป่าไม้ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต 3R (การลด(reduce) การใช้อีกครั้งหนึ่ง(reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่(recycle)) และการให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) อีกด้วย



การพัฒนาและแอฟริกา


การพัฒนาแอฟริกาซึ่งมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่และมีประชากรเป็นจำนวนมากโดยสันติภาพนั้น มีผลดีต่อโครงสร้างสันติภาพโลกเป็นอย่างมาก การสนับสนุนความพยายามในด้านสังคมระหว่างประเทศเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) ภายในปีค.ศ.2015 นั้น จะมุ่งเน้นในสาขาอนามัย นํ้า และการศึกษา นอกจากนี้ การประชุม TICAD IV (การประชุมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาแอฟริกา ณ กรุงโตเกียว ครั้งที่ 4) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองYokohamaในเดือน พฤษภาคมโดยมีรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นแกนนำ ได้มีการรวบรวบความรู้และเงินทุนจากทั่วโลกภายใต้สโลแกน “มุ่งสู่ความเป็นแอฟริกาที่สดใสและเปี่ยมไปด้วยพลัง” และจะนำผลการประชุมเข้าหารือในการประชุม Summit ด้วย



ปัญหาการเมืองเช่นการป้องกันการขยายตัวของอาวุธนิวเคลียร์


ปัญหาการกระจายตัวของอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูงเป็นปัญหาที่คุกคามสังคมโลกอย่างหนัก ปัญหาการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในเกาหลีเหนือ ปัญหาอาวุธนิวเคลียร์ในอิหร่าน ล้วนเป็นปัญหาที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมโคลงสร้างปลอดอาวุธร้ายแรง นอกจากนี้ ในการประชุม Summitจะมีการหารือกันในฐานะผู้นำ G8 เกี่ยวกับการแสดงท่าทีอันแน่วแน่ในการต่อต้านลัทธิก่อการร้ายไปพร้อมๆกับการมีหน้าที่ร่วมกันในสังคมโลกในเรื่องของการให้ความสนใจสภาวะของแต่ละประเทศ




อะไรคือการประชุม Summit?


◎Summitคือ การประชุมผู้นำโลกซึ่งถูกจัดขึ้นทุกปีโดยมี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศษ เยอรมัน อิตาลี แคนาดา รัสเซีย และสหภาพยุโรป (EU) เป็นสมาชิก ก่อนการประชุมผู้นำโลกจะมีการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังซึ่งทั้งหมดเรียกว่า G8 Summit การประชุม Summit จะเป็นการหารือบนโต๊ะประชุมเดียวกันของผู้นำแต่ละประเทศในหัวข้อต่างๆ ซึ่งจะมีการสร้างข้อตกลงโดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างอิสระและไม่เป็นทางการ เป็นการตัดสินในลักษณะTop-down ซึ่งการขยายตัวของโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันส่งผลให้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีการเรียกร้องให้มีการตัดสินใจที่มีความสมดุลและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การประชุม Summit ซึ่งมีลักษณะการตัดสินใจแบบTop-down จึงเป็นการประชุมที่มีประสิทธิภาพสูง


◎ความสำคัญของการประชุม Summit การประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่ 1ซึ่งถูกจัดขึ้นในปีค.ศ.1975 ณ เมือง Rambouillet ประเทศฝรั่งเศสถือเป็นการประชุมที่มีผลดี จากผลของการประชุมทำให้มีการตระหนักถึงความสำคัญของการประชุม Summit โดยถือว่าเป็นวิธีในการเตรียมรับมือต่อปัญหาเศรษฐกิจโลก ในปีต่อมาแต่ละประเทศได้ผลัดกันทำหน้าที่ประธานจัดการประชุมและได้มีการกำหนดให้ผู้นำของแต่ละประเทศมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกปีจนกระทั่งทุกวันนี้ ในที่สุดก็ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการเมืองขึ้น เช่น ปัญหาของโลกฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกอันมีเบื้องหลังมาจากสงครามเย็น หลังจากสงครามเย็นได้ยุติลงก็ได้มีปัญหาความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ปัญหาทางการเมืองในช่วงเวลานั้นๆ นอกจากนี้ยังได้มีการหารือกันเกี่ยวกับปัญหาสังคมระดับโลก เช่น สิ่งแวดล้อม ยาเสพติด การก่อการร้าย โรคติดต่อร้ายแรงเช่นโรคเอดส์ ดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ความสำคัญของการประชุม Summit ในฐานะเป็นเวทีความร่วมมือทางนโยบายก็ได้ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นทุกวัน


◎สรุปเกี่ยวกับการประชุม Summit การประชุม Summit เป็นการประชุมที่แตกต่างจากการประชุมอื่นโดยจะไม่มีสำนักงานประจำ ผู้นำของแต่ละประเทศเป็นผู้ที่สามารถมองเห็นภาพรวมภายในประเทศในแต่ละสาขาจะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นการตัดสินในแบบ Top-down จึงเป็นการตัดสินใจที่มีความเหมาะสมและสามารถวางนโยบายได้อย่างรวดเร็ว ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในระยะเวลา 1 ปีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม จะดำรงตำแหน่งประธานการประชุมด้วย ประธานการประชุมจะเตรียมการประชุมต่างๆเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าของการประชุม Summit มีการเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นำ การประชุมระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและการประชุมระว่างรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ประเทศที่เป็นประธานสามารถเรียกประชุมด่วนตามสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นได้ ประเทศที่ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมจะรวบรวมสรุปผลการประชุมสุดยอดผู้นำ G8 และแจ้งต่อประเทศอื่นๆต่อไป



การประชุม Summit ที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์


ประเทศในโลกได้มีการติดต่อและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพิ่มมากขึ้นจนประเทศเพียงประเทศเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาระดับโลกได้ ปัญหาระดับโลก เช่น ปัญหาสภาวะโลกร้อน ปัญหาการพัฒนา การป้องกันลัทธิก่อการร้าย และการกระจายตัวของอาวุธนิวเคลียร์หรือจรวดขีปนาวุธเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการในสมัยนี้ หลังจากการประชุม Summit ที่ Kyushu-Okinawa ในปีค.ศ.2000 ได้มีการจัดการหารือนอก G8 ซึ่งเป็นการหารือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในหัวข้อที่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาในปีนั้น สำหรับการประชุม Summit ครั้งนี้ ได้มีการจัดการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนาแอฟริกาขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคม โดยมีผู้นำแอฟริกา 8 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ แอลจีเรีย อียิปต์ เอธิโอเปีย กานา ไนจีเรีย เซเนกัล แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย และประธานของสหภาพแอฟริกา (AU) หัวข้อหลักการประชุมก็คือ การประชุมเกี่ยวกับการแปรปรวนของสภาวะภูมิอากาศ (9 ก.ค) ซึ่งมี 8 ประเทศที่ได้รับเชิญมาร่วมประชุม ได้แก่ ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเชีย เกาหลี แม็กซิโก แอฟริกาใต้ การประชุมในครั้งนี้จึงมีผู้ร่วมการประชุมรวม23ประเทศและถือเป็นการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์


◎ Toyako จังหวัด Hokkaido สถานที่พักตากอากาศที่แวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ

Toyako-chou ซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่จัดการประชุม Summit ตั้งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของพื้นที่ Douou ในเขตอุทยานแห่งชาติ Shikotsu-toya มีพื้นที่รวม 181 ตารางกิโลเมตร ที่ราบสูงตอนล่างเอียงไปทางใต้หันเข้าสู่ผิวนํ้า ที่ราบสูงตอนบนติดต่อกับภูเขา Youtei ในช่วงหลัง มีแนวโน้มว่ามีการใช้สถานที่พักตากอากาศเป็นสถานที่จัดการประชุม Summit มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความเงียบสงบแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติเหมาะสมที่จะใช้เป็นเวทีหารือปัญหาสำคัญของโลก ซึ่งปัญหานี้ยังได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นในการประชุม Summit อีกด้วย ปัจจุบัน Toyako ถูกจับตามองในฐานะเป็นสถานที่ที่รายล้อมด้วยธรรมชาติอันงดงาม เหมาะสมที่จะใช้เป็นสถานที่ที่ใช้ในระดมความคิดปัญหาสิ่งแวดล้อม





ประวัติ Summit


การเปลี่ยนแปลงและการก้าวเดินไปข้างหน้าจนถึงปัจจุบัน

การประชุม Summit ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้น ณ เมือง Rambouillet (ประเทศฝรั่งเศส รูปถ่าย) มีผู้นำประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 6 ประเทศ หลังจากการประชุมครั้งนั้น การประชุม Summit ได้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย ในปีต่อมา จากการประชุมที่ Puerto Rico (สหรัฐอเมริกา) ประเทศแคนาดาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก และได้เกิดเป็นการประชุม G7ขึ้น จากนั้นในปีค.ศ.1977 จากการประชุม ณ กรุงลอนดอน (สหราชอาณาจักร) ประธานคณะกรรมการประชาคมยุโรปและประเทศที่เป็นประธาน EC (ประชาคมยุโรป) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก ต่อมา ECได้พัฒนาเป็น EU (สหภาพยุโรป) ในปีค.ศ.1993 ในช่วงปีค.ศ.1990 เหตุการณ์ที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญคือ ความเคลื่อนไหวของรัสเซียภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ภายหลังจากการประชุม Summit ณ กรุงลอนดอนในปีค.ศ.1991 ประธานาธิบดีรัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนอกกรอบ Summit และหลังจากการประชุม ณ เมือง Napoli (อิตาลี) ในปีค.ศ.1994  รัสเซียก็ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำในส่วนของประเด็นการเมือง ต่อมาในปีค.ศ.1997ภายหลังจากการประชุม ณ เมือง Denver (สหรัฐอเมริกา) รัสเซียก็ได้เข้าร่วมการประชุมในทุกหัวข้อ ยกเว้น “เศรษฐกิจโลก” “การเงิน” ในปีค.ศ.1998 ได้กลายเป็น G8  รัสเซียได้ร่วมการประชุมในทุกหัวข้อตั้งแต่การประชุมในปีค.ศ.2003 ณ เมือง Evian (ฝรั่งเศส) ญี่ปุ่นได้มีการจัดการประชุมขึ้น ณ กรุงโตเกียว เมื่อปีค.ศ.1979 1986 และ1993 สำหรับปีค.ศ.2000 ได้จัดขึ้นที่ Kyushu-Okinawa หัวข้อที่สำคัญมากหัวข้อหนึ่งในการประชุมครั้งนี้คือ “การพัฒนาและแอฟริกา” เป็นหัวข้อที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในการประชุมที่Kyushu-Okinawa ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประธานการจัดประชุมได้เชิญผู้นำแอฟริกาเข้าร่วมการประชุมทำให้เริ่มมีการตระหนักถึงปัญหาแอฟริกาขึ้น

◎ สถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1stปีค.ศ. 1975Rambouilletฝรั่งเศสNovember 15–17
2ndปีค.ศ. 1976San Juan, Puerto RicoสหรัฐอเมริกาJune 27–28
3rdปีค.ศ. 1977LondonสหราชอาณาจักรMay 7–8
4thปีค.ศ. 1978Bonnสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีJuly 16–1
5thปีค.ศ. 1979Tokyoญี่ปุ่นJune 28–29
6thปีค.ศ. 1980VeniceอิตาลีJune 22–3
7thปีค.ศ. 1981OttawaแคนาดาJuly 20–21
8thปีค.ศ. 1982Versaillesฝรั่งเศสJune 4–6
9thปีค.ศ. 1983Williamsburg, VirginiaสหรัฐอเมริกาMay 28–30
10thปีค.ศ. 1984LondonสหราชอาณาจักรJune 7–9
11thปีค.ศ. 1985Bonnสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี May 2–4
12thปีค.ศ. 1986Tokyoญี่ปุ่นMay 4–6
13thปีค.ศ. 1987VeniceอิตาลีJune 8–10
14thปีค.ศ. 1988TorontoแคนาดาJune 19–21
15thปีค.ศ. 1989Grande Arche, Parisฝรั่งเศสJuly 14–16
16thปีค.ศ. 1990Rice University, Houston, TexasสหรัฐอเมริกาJuly 9–11
17thปีค.ศ. 1991LondonสหราชอาณาจักรJuly 15–17
18thปีค.ศ. 1992MunichอิตาลีJuly 6–8
19thปีค.ศ. 1993Tokyoญี่ปุ่นJuly 7–9
20thปีค.ศ. 1994NapoliอิตาลีJuly 8–10
21stปีค.ศ. 1995Halifax, Nova ScotiaแคนาดาJune 15–17
22ndปีค.ศ. 1996Lyonฝรั่งเศสJune 27–29
23rdปีค.ศ. 1997DenverสหรัฐอเมริกาJune 20–22
24thปีค.ศ. 1998Birmingham, EnglandสหราชอาณาจักรMay 15–17
25thปีค.ศ. 1999CologneเยอรมันJune 18–20
26thปีค.ศ. 2000Kyushuu, Okinawaญี่ปุ่นJuly 21–23
27thปีค.ศ. 2001GenoaอิตาลีJuly 20–22
28thปีค.ศ. 2002Kananaskis, AlbertaแคนาดาJune 26–27
29thปีค.ศ. 2003Évian-les-Bainsฝรั่งเศสJune 2–3
30thปีค.ศ. 2004Sea Island, GeorgiaสหรัฐอเมริกาJune 8–10
31stปีค.ศ. 2005Gleneagles, ScotlandสหราชอาณาจักรJuly 6–8
32ndปีค.ศ. 2006Strelna, St. PetersburgรัสเซียJuly 15–17
33rdปีค.ศ. 2007HeiligendammเยอรมันJune 6–8
34thปีค.ศ. 2008Toyako, Hokkaidoญี่ปุ่นJuly 7–9




ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประชุม Summit ที่ท่านควรจะทราบ


Q ช่วยบอกตารางการประชุม Summit ให้ด้วย

A ตามปกติแล้วการประชุมสุดยอดผู้นำจะใช้เวลา 3 วัน ในการประชุมครั้งที่แล้วซึ่งจัดขึ้น ณ เมือง Heiligendamm ใช้เวลา 7 ชั่วโมงในการประชุมของผู้นำ G8 และการหารือกับประเทศที่ไม่อยู่ในกลุ่ม G8 ใช้เวลา 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ระหว่างการประชุมทั้งสองยังมีการจัดการหารือระหว่างสองประเทศอีกด้วย ผู้นำแต่ละประเทศต่างมีตารางการประชุมที่หนักมาก


Q ในการจัดการประชุม Summit มีการให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมหรือไม่

A ในการประชุม Summit ที่ Toyako จ. Hokkaido ได้มีการยกหัวข้อสิ่งแวดล้อมขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในการหารือ และในด้านการจัดการก็ได้มีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย International Media Centerซึ่งเป็นสถานที่ทำการของผู้สื่อข่าว (IMC รูป=ภาพจำลองเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์) มีมุมที่แนะนำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดและการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม IMCได้มีการคำนึงถึงหลักการ 3R (การลด(reduce) การใช้อีกครั้งหนึ่ง(reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่(recycle)) ไปพร้อมๆกับการนำเทคโนโลยีทางด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น แผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ ฝาผนังสีเขียวและเครื่องทำความเย็นหิมะเป็นต้น อีกทั้งยังจะมีการนำรถในยุคต่อไปเข้ามาใช้ เช่น  รถบัสที่ใช้พลังงานจากถ่านไฟฟ้า (ดังรูป) นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีความพยายามที่จะลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการประชุม Summit และมีการลบล้างการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือที่เรียกว่า “Carbon Offset” โดยผ่านการลงทุนในโครงการเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์


Q ผู้นำประเทศใดเข้าร่วมประชุมมากที่สุด

A นายกรัฐมนตรี Helmut Josef Michael Kohl (เยอรมัน) ถูกบันทึกว่าเป็นผู้เข้าร่วมการประชุมมากที่สุดรวม 16 ครั้ง รองลงมาคือประธานาธิบดี François Maurice Adrien Marie Mitterrand (ฝรั่งเศส) เข้าร่วม 14 ครั้ง นายกรัฐมนตรี Margaret Hilda Thatcher (อังกฤษ) 12 ครั้ง ประธานาธิบดี Jacques Rerie Chirac (ฝรั่งเศส) 12 ครั้ง นายกรัฐมนตรี Tony Blair (อังกฤษ) 11ครั้ง นายกรัฐมนตรี Joseph Jacques Jean Chrétien (แคนาดา) 10 ครั้ง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่เข้าร่วมประชุมมากที่สุดคือ นายกรัฐมนตรี Junichiro Koizumi เข้าร่วมการประชุม 6 ครั้ง รองลงมาคือ นายกรัฐมนตรี Yasuhiro Nakasone เข้าร่วมการประชุม 5 ครั้ง


Q มีลำดับการเรียงธงชาติหรือไม่

A ในการประชุมที่ Toyako จ. Hokkaido ฝั่งซ้ายสุดจะเป็นธงของประเทศญี่ปุ่นที่ทำหน้าที่เป็นประธาน ตามด้วยธงของประเทศที่เข้าร่วมประชุมอื่นๆจะเรียงตามลำดับอักษร ท้ายที่สุดจะเป็นEU



เรื่องที่น่ารู้


ตารางการประชุม Summit (การประชุม ณ เมือง Heiligendamm ในปี 2007)


วันแรก

คณะผู้นำมาเดินทางถึง /พิธีในทางสังคม /การรับประธานอาหารคํ่าอย่างไม่เป็นทางการ (ผู้นำพร้อมด้วยภริยา)


วันที่สอง

การประชุมผู้นำ G8 / ถ่ายภาพรวม / Working Lunch / การประชุมผู้นำ G8 / Working Dinner


วันที่สาม

การประชุมระหว่างกลุ่มประเทศ G8และกลุ่มประเทศOutreach / Working Lunch / การแถลงข่าวของประเทศที่เป็นประธานการ/ประชุม / คณะผู้นำเดินทางกลับประเทศ


วิธีการเรียงถ่ายภาพรวมของผู้นำแต่ละประเทศ

ตรงกลางของภาพคือนายกรัฐมนตรีของประเทศเจ้าภาพ จากทางด้านขวาเรียงตามลำดับอายุในการดำรงตำแหน่ง จะเรียงสลับซ้ายขวาตามอายุในการดำรงตำแหน่ง



คุณรู้แค่ไหน


Q ใครเป็นผู้ออกแบบเครื่องหมายของการประชุม Summit

A จากการรับสมัครของรัฐบาล ผลงานที่ได้รับการการคัดเลือกคือ ผลงานกลุ่ม 5 คนของนาย Atsuya Kondo จากโรงเรียมมัธยม Hokusei Kirara ในจังหวัด Mie (ในตอนนั้นอายุ 18 ปี) “วงกลมตรงกลางคือเมล็ดที่กำลังงอกอยู่และบริเวณที่เป็นพื้นที่วงกลมสีนํ้าเงินคือโลก สัญลักษณ์นี้แสดงถึงการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมบนโลก และยังแสดงถึงความหวังที่โลกจะเป็นดาวที่มีสีเขียวตลอดไป ต้นอ่อนที่งอกขึ้นจากการประชุม Summit จะเจริญเติบโตขึ้น และออกดอกออกผลที่ใหญ่โต” (โดย คุณ Kondo)


Q บุคคลที่เรียกว่า “Sherpa” เป็นใครและทำหน้าที่อะไร

A Sherpa มีที่มาจาก ชนเผ่า Sherpa ซึ่งทำหน้าที่นำทางในการปีนเขาหิมาลัย Sherpaจะรับคำสั่งจากผู้นำและจะมีการติดต่อกันเองเพื่อเป็นการเตรียมการประชุม Summit ในการประชุมครั้งนี้ผู้ที่ทำหน้าที่นี้คือ นาย Masaharu Kohno รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อที่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้นำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด บทบาทของ Sherpa จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้


Q ในแต่ละภาษาต้องใช้ล่ามกี่คน ทุกคนเป็นคนญี่ปุ่นหรือไม่

A ในการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีล่ามภาษาญี่ปุ่นแล้วจะมีล่ามภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี รัสเซีย อีกด้วย จำนวนล่ามจะขึ้นอยู่กับความยาวของการประชุม ในการประชุมครั้งนี่แต่ละภาษาจะมีล่าม 2-3 คน และเพื่อให้ภาษาที่ผู้นำแต่ละประเทศฟังเป็นภาษาแม่ของแต่ละประเทศจึงมีการใช้ล่ามที่เป็นชาวต่างชาติด้วย


Q ในประวัติการประชุม Summit การประชุมที่ส้นที่สุดคือการประชุมใด

A การประชุมครั้งที่สองซึ่งจัดขึ้นที่ Puerto Rico (สหรัฐอเมริกา) (ปี 1976) มีการเตรียมประชุมเพียง 7 เดือน และใช้เวลาการประชุม 24 ชั่วโมง



Junior Eight Summit (J8) คืออะไร

การประชุมของเยาวชนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากประเทศกลุ่ม G8 ในประเด็นปัญหาระดับโลกซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นการประชุม G8 มีการร่วมกันคิดข้อเสนอแนะให้แก่โลก ครั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นร่วมกับยูนิเซฟได้จัดการประชุมนี้ขึ้นที่เมือง Chitose จ. Hokkaido ระหว่างวันที่ 1-10 กรกฎาคม


ความหมายของ G8 คืออะไร

ชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มประเทศที่เข้าร่วมการประชุมผู้นำโลก ได่แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศษ เยอรมัน อิตาลี แคนาดา รัสเซีย ซึ่งใช้คำเรียกว่า Group of Eight


จำนวนคนที่เข้าร่วมประชุม (ประมาณจากการประชุมที่ผ่านมา) ผู้แทนแต่ละประเทศ (ผู้นำหรือผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล)


ประมาณ 1,000-1,500คน


ผู้เกี่ยวข้องกับรัฐบาลของฝ่ายประเทศเจ้าภาพ

ประมาณ 10,000 คน


ผู้สื่อข่าว

ประมาณ3,000-4,000คน


ผู้เตรียมการ

ประมาณ 1,000 คน