เศรษฐกิจ
(ก) ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจโดยสังเขป
- สัดส่วนการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 12.0 และนำเข้าร้อยละ 20.5 การลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น (พ.ศ. 2550) ที่ได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) คิดเป็นประมาณร้อยละ 49 ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด จากต่างประเทศ การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา อย่างเป็นทางการของรัฐบาลญี่ปุ่น (ODA) ต่อไทยในรูปทวิภาคี ก็คิดเป็นประมาณร้อยละ 70 - 80 ของการช่วยเหลือ ทั้งหมดที่ประเทศไทยได้รับ จากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศกลุ่ม DAC
- สิ่งที่ฝ่ายไทยให้ความสนใจ นอกจากการส่งเสริมการลงทุน ทางการค้า ฯลฯ โดยเฉพาะ การทุ่มเทให้แก่ การส่งเสริมการส่งออก ดังเช่นในปัจจุบัน เพื่อฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤต ฝ่ายไทย ให้ความสนใจในเรื่องการส่งออกไปญี่ปุ่นมาก
(ข) การพาณิชย์
- เมื่อมองจากฝ่ายไทยแล้ว ประเทศไทยนำเข้าสินค้า จากประเทศญี่ปุ่น มากเป็นอันดับ 1 ขณะที่ การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่น มีปริมาณสูงเป็นอันดับ 2 รองจากการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อมองจากทางฝ่ายญี่ปุ่น การส่งออกและนำเข้าต่อไทย มีสัดส่วนดังนี้ คือ ส่งออกร้อยละ 3.6 (ส่งออกมาประเทศไทยเป็นอันดับที่ 6) นำเข้าร้อยละ 2.9 เท่านั้น(นำเข้าจากประเทศไทยเป็นอันดับที่ 10) (พ.ศ. 2550)
- โดยสภาพรวมแล้ว ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าสูงมากต่อเนื่องมา ตั้งแต่ครึ่งหลังของทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2528-2532) จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยและการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่น ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การนำเข้าสินค้าเพื่อการผลิต และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความไม่สมดุล ทางการค้า ขยายตัวออกไปอีก
- โดยโครงสร้างแล้ว ญี่ปุ่นส่งออก เครื่องจักร อุปกรณ์โลหะ และผลิตภัณฑ์จากโลหะ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ให้ไทย (โดย 3 รายการที่กล่าวมาคิดเป็นประมาณร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด) เดิมทีสินค้าที่นำเข้าจากไทย จะเป็นประเภทอาหาร (เช่น กุ้งแช่แข็ง เนื้อไก่ น้ำตาล) และวัตถุดิบ เป็นต้น แต่ในระยะหลัง การนำเข้าสินค้าจำพวก เครื่องจักรอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
การเปลี่ยนแปลงของยอดการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น (หน่วย : ร้อยล้านดอลล่าร์)
ปี พ.ศ. | ส่งออกสู่ญี่ปุ่น | นำเข้าจากญี่ปุ่น | ผลต่าง |
2535 | 59.5 | 103.7 | -44.2 |
2536 | 65.0 | 122.6 | -57.6 |
2537 | 81.8 | 147.0 | -65.2 |
2538 | 93.6 | 204.1 | -110.5 |
2539 | 102.1 | 182.8 | -80.6 |
2540 | 87.0 | 161.1 | -74.1 |
2541 | 74.7 | 100.3 | -25.7 |
2542 | 82.6 | 121.5 | -38.8 |
2543 | 102.8 | 153.8 | -51.0 |
2544 | 99.5 | 137.7 | -38.2 |
2545 | 99.5 | 148.0 | -48.5 |
2546 | 113.6 | 180.8 | -67.2 |
2547 | 134.9 | 222.9 | -88.0 |
2548 | 150.9 | 260.3 | -109.4 |
2549 | 163.9 | 256.7 | -92.8 |
2550 | 179.8 | 283.8 | -104.1 |
* ยอดปี 2539, 2540 เป็นสถิติจากฝ่ายไทย และคำนวณตามค่าเงินที่เปลี่ยนไป
(สถิติ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง)
(ค) การลงทุน
- การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย คิดเป็นสัดส่วนประมาณ ร้อยละ 3.6 ของการลงทุนของญี่ปุ่นทั่วโลก และเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจาก จีน (พ.ศ. 2550) แต่หากมองจากฝ่ายไทย โดยพิจารณาจาก ยอดการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนต่อ คณะกรรมการ ส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ประเทศญี่ปุ่นครองอันดับ 1 (คิดเป็นร้อยละ 29 ของยอดการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2550 รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 20) สิงคโปร์ (ร้อยละ 20) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 18)
- เพื่อรับมือกับค่าเงินเยนแข็งตัว หลังเดือนกันยายน พ.ศ. 2528 บริษัทญี่ปุ่นต่างๆ ได้มีการเคลื่อนไหวที่จะย้าย ฐานการผลิต ออกสู่ต่างประเทศ และดำเนินการกัน อย่างจริงจัง หลังปี พ.ศ. 2529 ในขณะนั้น สภาวะการลงทุนในประเทศไทย ก็อยู่ในสภาพดีเด่น การลงทุนของญี่ปุ่นในไทย จึงเริ่มขยายตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของทศวรรษที่ 80 (พ.ศ.2528-2532) การลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อการส่งออก และในช่วงครึ่งแรกของทศวรรษที่ 90 (พ.ศ. 2533-2537) การลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (supporting industries) เพื่อผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น ทว่า จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และเงินบาทที่ไร้เสถียรภาพ ดังในขณะนี้ อาจจะมีผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงของญี่ปุ่นด้วย
การเปลี่ยนแปลงของการลงทุนของญี่ปุ่นในไทย
- สำหรับฝ่ายไทยยังคงต้อนรับการลงทุนจากญี่ปุ่น แต่ว่ามาในระยะหลัง มีความพยายามที่จะ ชะลอการเพิ่มการลงทุนในเขตกรุงเทพฯและเปลี่ยนมา ส่งเสริมการลงทุนสู่ท้องถิ่น
ส่วนแบ่งการลงทุนจากญี่ปุ่นต่อการลงทุน จากต่างประเทศในไทยทั้งหมด
(หน่วย : ร้อยละ)
ปี พ.ศ. การลงทุนจากญี่ปุ่น 2531 57.2 2532 38.1 2533 27.0 2534 30.5 2535 41.8 2536 43.5 2537 39.0 2538 49.5 2539 49.4
(คำนวณจากเงินลงทุนจดทะเบียนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
( i ) สถิติของฝ่ายญี่ปุ่น
(เอกสารของกระทรวงการคลัง : ยอดการลงทุนในต่างประเทศจริงตามแจ้ง)
(หน่วย : ล้านดอลล่าร์)
ปี พ.ศ. | การลงทุนจากญี่ปุ่น |
2535 | 657 |
2536 | 578 |
2537 | 719 |
2538 | 1,224 |
2539 | 1,437 |
( ii ) สถิติของฝ่ายไทย (เอกสาร BOI)
(หน่วย : เรื่อง, ร้อยล้านบาท)
พ.ศ. 2536 | พ.ศ. 2537 | พ.ศ. 2538 | พ.ศ. 2539 | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2542 | พ.ศ. 2543 | พ.ศ. 2544 | พ.ศ. 2545 | พ.ศ. 2546 | พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2548 | พ.ศ. 2549 | พ.ศ. 2550 | พ.ศ. 2513-2543 | ||
ยื่นเรื่อง | จำนวน | 171 | 258 | 317 | 319 | 216 | 251 | 275 | 275 | 251 | 316 | 340 | 387 | 335 | 330 | --- |
ยอดเงิน | 645 | 1,734 | 2,432 | 1,341 | 983 | 555 | 1,031 | 592 | 719 | 1,064 | 1,019 | 1,753 | 1,105 | 1,491 | --- | |
อนุมัติ | จำนวน | 125 | 190 | 284 | 254 | 254 | 188 | 282 | 257 | 215 | 260 | 350 | 354 | 353 | 330 | 4,877 |
ยอดเงิน | 685 | 643 | 1,966 | 1,569 | 1,634 | 270 | 1,073 | 834 | 384 | 976 | 1,259 | 1,718 | 1,152 | 1,643 | 19,653 | |
ดำเนินการ | จำนวน | 86 | 56 | 74 | 220 | 165 | 177 | 184 | 187 | 180 | 236 | 334 | 348 | 317 | 332 | --- |
ยอดเงิน | 429 | 126 | 318 | 740 | 727 | 889 | 956 | 498 | 547 | 801 | 1,050 | 1,667 | 899 | 1,296 | --- |