หน้าแรก | สำรวจญี่ปุ่น | คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น
นายเคอิโซ โอบูชิ นายกรัฐมนตรี ได้ปรับคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2542 ดังรายชื่อต่อไปนี้ (ชื่อ อายุ ตำแหน่งทางรัฐสภาและตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ)
(รัฐบาลนายโอบูชิ ปรับ ครม.ครั้งที่ 2) และ
ประวัตินายกรัฐมนตรีเคอิโซ โอบุชิ
** รัฐมนตรีคนเดิม
- นายกรัฐมนตรี
- เคอิโซ โอบูชิ (62 ปี) **
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) / ประธานพรรคฯ
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- คิอิชิ มิยาซาว่า (79 ปี) **
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- ฮิเดโอะ อุสึอิ (60 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีทบวงป้องกันประเทศ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- โยเฮ โคโนะ (62 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีทบวงวางแผนเศรษฐกิจ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีทบวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ฮิโรฟูมิ นาคะโซเน่ (53 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกวุฒิสภา
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ
- ยูยะ นิวะ (55 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารธสุข และสวัสดิการ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง
- โตคุอิชิโร ทามาซาวะ (61 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีทบวงการป้องกันประเทศ
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศ และอุตสาหกรรม
- ทาคาชิ ฟูคายะ (64 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไปรษณีย์ และโทรคมนาคม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีทบวงการพัฒนาฮอกไกโด
- โทชิฮิโระ นิคะอิ (60 ปี)
- พรรคลิเบอรัล
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีทบวงการพัฒนาฮอกไกโด
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคม
- เออิตะ ยาชิโร (62 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต ประธานคณะกรรมการด้านกฎหมาย พรรคแอลดีพี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- ทาคะโมริ มาคิโนะ (73 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รองเลขาธิการพรรคแอลดีพี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการ
- มาซาอะคิ นาคายามะ (67 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีทบวงการจัดการและประสานงาน และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- โคสุเกะ โฮริ (65 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีทบวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (รัฐมนตรี) และรัฐมนตรีทบวงการพัฒนาโอกินาวา
- มิคิโอะ อาโอกิ (65 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกวุฒิสภา
- อดีต เลขาธิการพรรคแอลดีพี
- รัฐมนตรีทบวงการจัดการและประสานงาน
- คุนิฮิโระ ทซึซึกิ (69 ปี)
- พรรคโคเม
- สมาชิกวุฒิสภา
- อดีต รองผู้ว่าการกรุงโตเกียว
- รัฐมนตรีทบวงการป้องกันประเทศ
- ซึโตมุ คาวาระ (62 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีทบวงการป้องกันประเทศ และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการ
- รัฐมนตรีทบวงวางแผนเศรษฐกิจ
- ทะอิชิ ซาไกยะ (64 ปี) **
- นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ นักเขียน
- อดีต ข้าราชการประจำกระทรวงการค้า ระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม
- รัฐมนตรีทบวงสิ่งแวดล้อม
- คาโยโกะ ชิมิซึ (63 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกวุฒิสภา
- รัฐมนตรีกำกับดูแลกิจการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการเงิน
- ซาดะคะซึ ทานิงะกิ (55 ปี)
- พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี)
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
- อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ
รัฐมนตรีทบวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ประวัตินายกรัฐมนตรีเคอิโซ โอบุชิ
เคอิโซ โอบุชิ ได้รับเลือกเป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 84 ของญี่ปุ่น ด้วยการลงคะแนนเสียงของ สมาชิกสภาไดเอ็ต เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 เคอิโซ โอบุชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน นาย ริวทาโร่ ฮาชิโมโตะ ที่ได้ลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อ ความพ่ายแพ้ของ พรรคเสรีประชาธิปไตย ( LDP ) ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ในทันทีที่ได้รับเลือก โอบุชิ ได้เรียกคณะรัฐบาลใหม่ว่า "รัฐบาลเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ" โดยแต่งตั้ง อดีตนายกรัฐมนตรี นาย คิอิชิ มิยาซาวะ ผู้เชี่ยวชาญด้าน นโยบายเศรษฐกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และแต่งตั้งให้ นายทะอิชิ ซะกะอิยะ นักเขียน และนักวิจารณ์เศรษฐกิจ เป็นรัฐมนตรีทบวงวางแผนเศรษฐกิจ โอบุชิมัก จะเรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้อำนวยการสร้าง" ความมีไมตรีจิต และพร้อมด้วยมิตรสหายใน สภาไดเอ็ต ทำให้เป็นบุคคลที่เหมาะสมแก่ การสืบทอดตำแหน่ง ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย ต่อจาก นายฮาชิโมโตะ และนำสมาชิกสภาไดเอ็ต มากกว่า 300 คน ให้ร่วมมือกันด้วยความสามารถ ในการประสานงานอย่างดีเยี่ยม
โอบุชิ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดกุนมะ เป็นบุตรชายคนที่สองของ นายโคเฮอิ แลนางชิโยะ โอบุชิ เจ้าของโรงงานปั่นด้าย เมื่อเข้าเรียนใน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ ในโตเกียว ก็ได้มุ่งมั่นที่จะ เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ เช็คสเปียร์ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป เมื่อนายโคเฮอิ โอบุชิ ผู้บิดา ได้ที่นั่งใน สภาผู้แทนราษฎร กลับคืนมาอีกครั้ง จากการเลือกตั้งทั่วไป ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2501 หลังจากที่เคยได้รับเลือกครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2492 แต่กลับสูญเสียตำแหน่ง ในความพยายามอีกสามครั้งต่อมา การชนะเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2501 นำนายโคเฮอิ กลับสู่สภาไดเอ็ต หลังจากที่ห่างหายไป 9 ปี ทว่าโชคร้ายที่ นายโคเฮอิ เสียชีวิตอย่างกะทันหัน ในอีกเพียง 3 เดือนต่อมา เหตุการณ์นี้ทำให้ โอบุชิ ที่ยังเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ก้าวเป็นนักการเมือง ตามรอยเท้าของบิดา โดยปฏิญาณตนอย่างซื่อสัตย์ที่จะ "สืบทอดงานของบิดา และตอบแทนบุญคุณของ ผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้"
ชีวิตของ โอบุชิ ได้เปลี่ยนแปลงไปในทันที เขาเข้าร่วม "ชมรมยูเบงไค" ซึ่งเป็นชมรมอภิปรายของมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะขัดเกลาทักษะใน การแสดงสุนทรพจน์ ชมรมแห่งนี้เคยสร้าง นักการเมืองที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ยังได้เข้าร่วมชมรมไอกิโด้ (ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของญี่ปุ่น) และเริ่มเพาะกาย จากความเชื่อที่ว่านักการเมือง ต้องมีร่างกายแข็งแรง เขายังได้เข้าร่วมชมรมชิงิน (การอ่านกลอนญี่ปุ่น) เพื่อปรับปรุงเสียง ชมรมการเขียนตัวอักษรด้วยพู่กัน เพื่อที่จะปรุบปรุงลายมือให้ดีขึ้น และยังเข้าร่วม ชมรมท่องเที่ยววาเซดะ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ จังหวัดกุนมะ ซึ่งมีจุดเด่นที่แหล่งน้ำพุร้อน และภูเขาที่สวยงามมากมาย โอบุชิ จะไม่เป็นเช่นทุกวันนี้ได้ หากไม่มีการเตรียมพร้อม เพื่ออาชีพในอนาคตดังเช่นนี้
เมื่ออายุครบ 25 ปี และมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง โอบุชิ เริ่มคิดอย่างจริงจัง ในการที่จะก้าวเข้าสู่โลกการเมือง แต่ก่อนอื่นใด ด้วยความคิดว่า นักการเมืองจะต้องรู้จักโลก ดังนั้นในเดือน มกราคม พ.ศ. 2506 เขาได้เดินทางไป ทัศนศึกษายังประเทศต่างๆ ทั่วโลก 38 ประเทศ โดยใช้เวลา 9 เดือน ที่กรุงวอชิงตันดีซี โอบุชิ ได้ส่งจดหมายผ่าน เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม แสดงความรู้สึกประทับใจอย่างมาก ในสุนทรพจน์ของ รัฐมนตรี โรเบิร์ต เคนเนดี้ ที่กล่าว ณ มหาวิทยาลัยวาเซดะ เมื่อปีก่อน พร้อมทั้งปรารถนาจะขออนุญาตเข้าพบ หนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น เคนเนดี้ ได้อนุญาตให้หนุ่มน้อยจากญี่ปุ่นผู้นี้พบ จับมือด้วยอย่างหนักแน่น และบอกว่า พวกเขาควรจะได้พบกันอีกที่ วอชิงตัน เมื่อโอบุชิได้เป็นนักการเมืองแล้ว
สามเดือนหลังจากเดินทางกลับ โอบุชิ ชนะการเลือกตั้ง ได้เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร จากเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดกุนมะ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2506 ด้วยวัยเพียง 26 ปี เขาจึงเป็นสมาชิกสภาไดเอ็ต ที่อายุน้อยที่สุด อดีตนายกรัฐมนตรี ทาเกโอะ ฟุกุดะ และอดีตนายกรัฐมนตรี ยาสุฮิโระ นากาโซเนะ คือบุคคลผู้มีชื่อเสียงอีกสองคน จากเขตเลือกตั้งเดียวกัน ดังนั้น โอบุชิ จึงต้องต่อสู้หนัก ระหว่างการเลือกตั้งเสมอ แต่ถึงกระนั้น เขาก็ได้รับเลือกติดต่อกันถึง 12 สมัยจนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2513 หลังจากที่ชนะเลือกตั้งเป็นสมัยที่สาม เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการไปรษณีย์ และโทรคมนาคม จากนั้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการ ในปี พ.ศ. 2516 โอบุชิ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีช่วยประจำสำนักนายก และได้มาเยือนประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้แทนพิเศษของ นายกรัฐมนตรี เพื่อสรุปผลการเจรจา ในรายละเอียดของโครงการ " เรือเยาวชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ "
โอบุชิ ได้รับตำแหน่งใน คณะรัฐบาลเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เมื่อเขาได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ควบคู่กับรัฐมนตรีว่าการทบวงการพัฒนาโอกินาวา ในคณะรัฐบาลชุดที่ 2 ของนายกรัฐมนตรี มาซาโยชิ โอฮิระ ด้วยเป็นที่รู้จักกันดีถึงบุคลิกภาพที่อบอุ่น ทำให้เขาเป็นมิตรได้กับทุกคน โอบุชิ ยังได้รับเลือกให้เป็นประธานของ คณะกรรมการพิเศษของ สภาผู้แทนราษฎร ในด้านความมั่นคงในปี พ.ศ. 2525 และประธานคณะกรรมการงบประมาณ ในปี พ.ศ. 2529 - อันเป็นสนามประลองทางการเมืองระหว่าง พรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน
ในการตั้งคณะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี โนโบรุ ทาเกชิตะ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2530 โอบุชิได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เขากลายเป็นมือขวาของ นายกรัฐมนตรี และโฆษกคณะรัฐบาล ในตำแหน่งนี้ โอบุชิ ต้องดำเนินบทบาทอย่างระมัดระวัง แต่สำคัญยิ่งยามมีการเปลี่ยนรัชสมัยจาก รัชสมัยโชวะ เป็น รัชสมัยเฮอิเซอิ หลังการสวรรคตของ จักรพรรดิโชวะ และการขึ้นครองราชย์ของ สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2534 เขาได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย ในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 พรรคเสรีประชาธิปไตย สูญเสียการมีเสียงข้างมากใน สภาผู้แทนราษฎร และกลายเป็นพรรคฝ่ายค้าน โอบุชิ ได้จัดตั้งกลุ่มของสมาชิก พรรคเสรีประชาธิปไตย ที่นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรี ทาเกชิตะ และกลายเป็นผู้นำกลุ่ม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2537 พรรคสังคมประชาธิปไตยแห่งญี่ปุ่น (SDPJ) และพรรคซากิงาเกะ ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมโดยมี นายโทมิอิชิ มุรายามา ประธานพรรคสังคมประชาธิปไตย เป็นนายกรัฐมนตรี นายโยเฮอิ โคโนะ ประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ และในเดือนกรกฎาคม โอบุชิ ก็ได้รับเลือกเป็น รองประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย และต้องรับหน้าที่ในการบริหารพรรค
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2540 โอบุชิ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ ในคณะรัฐบาลสมัยที่ 2 ของนายกรัฐมนตรี ฮาชิโมโต ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของ การประชุมว่าด้วยกำหนดห้ามใช้ เก็บสะสม ผลิต และขนย้ายกับระเบิด และการทำลายของกับระเบิด ในทันทีหลังจากเข้ารับตำแหน่ง โอบุชิ แสดงความสามารถ ในการประสานงานเพื่อชักจูง ให้ผู้ที่ไม่เห็นด้วย ได้เห็นประโยชน์ของสนธิสัญญา และ โอบุชิ ได้ลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ในนามของประเทศญี่ปุ่น ที่ออตตาว่า ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 โอบุชิ ได้ประกาศเจตนารมย์ว่า ญี่ปุ่นจะให้เงินสนับสนุนหนึ่งพันล้านเยน เป็นเวลา 5 ปี ในการช่วยเหลือการกวาดล้างกับระเบิด พัฒนาเทคโนโลยีการกวาดล้างกับระเบิด และช่วยเหลือเหยื่อของกับระเบิด และเขายังเสนอ "โครงการเหยื่อเป็นศูนย์" (Zero-Victim Program) ด้วย โอบุชิ ยังได้แสดงความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง ระหว่างการประชุมสภาไดเอ็ต สมัยที่ 143 ที่มีขึ้นเมื่อ เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541 ในการพิจารณาร่างกฏหมาย แก้ไขแนวนโยบาย ความร่วมมือป้องกันประเทศ ระหว่างสหรัฐอเมริกา-ญี่ปุ่น ด้วยมุ่งหวังที่จะ เสริมความแข็งแกร่งของ การดำเนินการทางความมั่นคง ระหว่างญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา
ปัญหาที่รัฐบาล โอบุชิ กำลังเผชิญอยู่ก็คือ การผ่านกฎหมายในการประชุม สภาไดเอ็ตสมัยวิสามัญ ที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของสถาบันการเงิน ในสุนทรพจน์ด้านนโยบาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นายกรัฐมนตรี โอบุชิ ได้ประกาศความตั้งใจ ที่จะนำญี่ปุ่นให้พ้นจาก สภาพถดถอยภายใน 2 ปี และให้ความสำคัญ ในเรื่องของหนี้เสีย เป็นอันดับแรก ด้วยการผลักดันให้ผ่าน กฎหมาย 6 ฉบับอย่างรวดเร็วภายใต้แผนการ กระตุ้นการเงินรวมเพื่อการจัดตั้งระบบ "บริดจ์ แบงค์" ในทันที นอกจากนี้การดำเนิน ความพยายามทางการทูต ในอนาคตอันใกล้ คงจะมุ่งเพื่อความคืบหน้าของ สนธิสัญญาสันติภาพที่ยังคงค้างคา ระหว่างญี่ปุ่นและรัสเซีย
โอบุชิและภรรยา นางชิซุโกะ มีบุตร 1 คน และ ธิดา 2 คน
ประวัติโดยสังเขป
25 มิ.ย.2480 เกิดที่จังหวัดกุนมะ พ.ศ. 2505 สำเร็จการศึกษาจาก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ (สาขาวรรณคดีอังกฤษ) พ.ศ. 2506 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบันได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 12 พ.ศ. 2513 ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ และโทรคมนาคม พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงโยธาธิการ พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธาน คณะกรรมาธิการสภาไดเอ็ต พรรคเสรีประชาธิปไตย พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน คณะกรรมาธิการการคลังของ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการทบวงการพัฒนาโอกินาวา พ.ศ. 2525 ได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมาธิการพิเศษ ด้านความมั่นคงของ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2527 ได้รับแต่งตั้งเป็น รองเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณของ สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็น เลขาธิการคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2534 ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคเสรีประชาธิปไตย พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย พ.ศ. 2539 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธาน คณะกรรมาธิการพิเศษด้าน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายนอกของ พรรคเสรีประชาธิปไตย ก.ย. 2540 ได้รับแต่งตั้งเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
พบกับนางแมเดลีน ออลไบรต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ในนิวยอร์ค
เข้าร่วมการประชุม สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติพ.ย. 2540 เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี เอเปก ที่แวนคูเวอร์ ธ.ค. 2540 เยือนสาธารณรัฐเกาหลี และพบกับประธานาธิบดีคิมแดจุง ก.พ. 2541 เยือนมอสโคว์ และพบกับประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ของรัสเซีย มี.ค. 2541 เยือนสาธารณรัฐเกาหลี และพบกับประธานาธิบดีคิมแดจุง เม.ย. 2541 เข้าร่วมการประชุมเอเชียยุโรป (ASEM) ในลอนดอน
เยือนบอสเนีย และเฮอร์เซโกวินาพ.ค. 2541 เยือนประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์
เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรี G-8 ในลอนดอนมิ.ย. 2541 เยือนบราซิล ก.ค. 2541 เข้าพบนางแมเดลีน ออลไบรต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มะนิลา
ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานพรรคเสรีประชาธิปไตย
ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีก.ย. 2541 เข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ
เข้าพบประธานาธิบดีบิล คลินตัน ของสหรัฐอเมริกา ที่นิวยอร์คพ.ย. 2541 เยือนมอสโคว์ และพบกับประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน ของรัสเซีย
เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปก ที่กัวลาลัมเปอร์ธ.ค. 2541 เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนกับ 3 ประเทศ ที่ฮานอย ม.ค. 2542 เยือนฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน มี.ค. 2542 เยือนสาธารณรัฐเกาหลี และพบประธานาธิบดีคิมแดจุง เม.ย. 2542 เยือนสหรัฐอเมริกา และพบประธานาธิบดีบิล คลินตัน มิ.ย. 2542 เข้าร่วมการประชุม G-8 ซัมมิท ที่โคโลนญ์
เยือนอังกฤษ และไอซ์แลนด์ก.ค. 2542 เยือนจีน และมองโกเลีย ก.ย. 2542 เข้าร่วมการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปก ที่โอคแลนด์
ได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน พรรคเสรีประชาธิปไตยเป็นสมัยที่สองต.ค. 2542 เปลี่ยนคณะรัฐมนตรี
เข้าร่วมการประชุมร่วมรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลของญี่ปุ่น-สาธารณรัฐเกาหลี ที่ เชจูพ.ย. 2542 เยือนอินโดนีเซีย
เข้าร่วมการประชุมผู้นำอาเซียนกับ 3 ประเทศ ที่มะนิลา