รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความร่วมมือสนับสนุนโครงการ “The Project for Taking Measures of Mine/ERW Contamination along Thai-Cambodia Border”

2020/3/11
2004
     รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนเงินทุนจำนวนทั้งสิ้น 4,545,700 บาทแก่โครงการ “The Project for Taking Measures of Mine/ERW Contamination along Thai-Cambodia Border” ผ่านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (จีจีพี)

     พิธีลงนามข้อตกลงจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 ระหว่าง ฯพณฯ นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ Mr. Aksel Steel-Nilsen ผู้อำนวยการโครงการ องค์กรช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People’s Aid) ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

     ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดตกค้างเช่น ทุ่นระเบิดที่ไม่ทำงาน, ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจากสงครามของประเทศเพื่อนบ้าน แม้ในปัจจุบันนี้เองในแนวชายแดนประเทศกัมพูชาและลาวยังคงมีพื้นที่วัตถุระเบิดตกค้าง

      ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวดำรงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์แบบปล่อยหากินตามธรรมชาติ, เก็บของป่าหรือพืชผลจากการเกษตร แม้จะมีความเสี่ยงจากทุ่นระเบิดแต่พวกเขาจำเป็นต้องเข้าไปในป่า จึงทำให้ชาวบ้านจำนวนมากสูญเสียขา หรือไปจนถึงสูญเสียชีวิต และสัตว์ที่เลี้ยงปล่อยตามธรรมชาติได้รับบาดเจ็บเช่นกัน แต่พวกเขาไม่สามารถที่จะหยุดใช้ชีวิตเลี้ยงชีพแบบนี้ได้ ชาวบ้านใช้ชีวิตในแต่ละวันไปพร้อมกับความหวาดกลัวทุ่นระเบิด

     การเก็บกู้ทุ่นระเบิดในไทยนั้น องค์กรNGOจะกระชับพื้นที่เสี่ยงจากการสำรวจรับฟังจากชาวบ้านเป็นอย่างแรก(Non-Technical Survey:วิธีการสำรวจที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือ) ไปจนถึงการสำรวจค้นหาโดยการใช้เครื่องมือ(Technical Survey:วิธีการสำรวจโดยใช้เครื่องมือ)หลังจากนั้น การเก็บกู้ทุ่นระเบิดในขั้นตอนสุดท้าย(การรวบรวมและทำลายวัตถุระเบิด)ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ (TMAC:Thailand Mine Action Center)ซึ่งอยู่ภายใต้กองทัพไทยจะเป็นผู้ดำเนินการ

     องค์กรช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ได้ดำเนินกิจกรรมเก็บกู้ทุ่นระเบิดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 และได้ปลดปล่อยพื้นที่ปลอดระเบิดโดยการใช้วิธีการสำรวจที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือ และองค์กรนี้ได้ทำการบันทึกความเข้าใจข้อตกลง(MOU)ร่วมมือกับศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งชาติ และจัดทำกิจกรรมการกู้ระเบิดตามแนวชายแดนของไทย อีกทั้งในโครงการนี้องค์กรจะดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ 200,220คน ขนาด16ตารางกิโลเมตรในจังหวัดสุรินทร์ซึ่งติดกับประเทศกัมพูชา

     รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ให้ประชาชนแถบชายแดนอาศัยอยู่อย่างปลอดภัยและสงบสุขด้วยการสนับสนุนโครงการดังกล่าวนี้ ผ่านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (จีจีพี)

     รัฐบาลญี่ปุ่นยินดีที่จะสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ในต่อๆไป


 
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
แผนกเศรษฐกิจ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
เลขที่ 177 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์  0-2696-3000, 0-2207-8500
โทรสาร   0-2207-8517