สารจากนายคิชิดะ ฟุมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เนื่องในโอกาสการประชุมผู้นำสมัยพิเศษเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน
2023/12/21
ร่วมสรรค์สร้างอนาคตภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกบนพื้นฐานของความไว้วางใจ

สวัสดีประชาชนชาวไทยทุกท่าน ข้าพเจ้า คิชิดะ ฟุมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น จะเป็นประธานจัดการประชุมผู้นำสมัยพิเศษเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ในช่วงเวลาสำคัญทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้มีโอกาสต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีประเทศไทยสู่กรุงโตเกียว ซึ่งประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้ก่อตั้งแรกเริ่มและยังเป็นสถานที่ต้นกำเนิดของประชาคมอาเซียนจากการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพฯ" ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีบทบาทสำคัญในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียน อีกทั้งยังช่วยให้การเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียนประสบผลสำเร็จ
เป็นเวลาผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มสานความสัมพันธ์กับอาเซียนก่อนชาติอื่นใดในโลก ญี่ปุ่นร่วมก้าวเดินกับไทยและประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนบนเส้นทางแห่งการพัฒนาและการรวมกันเป็นหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาในหลากหลายสาขาตราบจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและอาเซียน ยังเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่สำคัญต่อกัน สำหรับอาเซียนแล้วญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนโดยตรงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนมีมูลค่าเฉลี่ยราว 2.8 ล้านล้านเยนต่อปีในทุกๆปี และมีบริษัทญี่ปุ่นอยู่ในอาเซียนมากกว่า 15,000 แห่ง โดยเมื่อนำเอาเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของอาเซียนรวมเข้ากับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากจะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ และการจ้างงานในแต่ละประเทศในอาเซียนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดาประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับญี่ปุ่น โดยในประเทศไทย มีจำนวนชาวญี่ปุ่นพำนักอยู่ประมาณ 8 หมื่นคน และมีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนอยู่ราว 6,000 แห่ง ซึ่งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้ เงินลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย มีมูลค่ารวมประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 40% ของการลงทุนจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยรวมไปถึงอาเซียนนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ญี่ปุ่นและอาเซียนเป็นมิตรแท้ต่อกันบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบ "ใจถึงใจ" อันเป็นความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ซึ่งก่อร่างสร้างกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปีผ่านการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกันระหว่างบุคคลในหลากหลายสาขา โดยทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเรื่อยมา เช่น การแลกเปลี่ยนกันหลากหลายรูปแบบในกลุ่มคนหนุ่มสาวและการแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนที่ศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
ญี่ปุ่นและอาเซียนได้ผ่านประสบการณ์และบททดสอบมากมาย เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2540 เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ในปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2554 และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อปี พ.ศ. 2562 เป็นต้น แต่ทั้งญี่ปุ่นและอาเซียนต่างได้มอบความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเรื่อยมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นหุ้นส่วนที่ไว้วางใจกัน
ปัจจุบัน ประชาคมโลกกำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ โดยเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการรักษาระเบียบของโลกที่เสรีและเปิดกว้างซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้เรายังต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่ทับซ้อนกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความเลื้อมล้ำทางสังคม วิกฤติด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และการควบคุมเทคโนโลยี AI เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประชาชนในอาเซียนทุกท่านให้ยิ่งแน่นแฟ้นมากกว่าที่ผ่านมา ภายใต้พื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจอันแนบแน่นเพื่อ “ร่วมกันสร้างสรรค์” โลกอันสงบสุขและมีเสถียรภาพที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีเกียรติ รวมถึงอนาคตที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปิดฉากการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ในการประชุมผู้นำสมัยพิเศษที่ต้อนรับเหล่าผู้นำของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะมีการประมวลความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียนในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ และความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะนำเสนอความร่วมมือในหลายประการ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลแบบครอบคลุมเพื่อส่งเสริมและส่งต่อแนวความคิดหุ้นส่วนแบบ "ใจถึงใจ" ไปยังคนรุ่นต่อไป การรับมือกับปัญหาในรูปแบบใหม่โดยร่วมกันสร้างยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจของพวกเรา การรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยส่งเสริมข้อริเริ่ม Asia Zero Emission Community (AZEC) ร่วมกัน และการสร้างความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น
ข้าพเจ้ามุ่งหวังให้การประชุมผู้นำสมัยพิเศษที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ จะเป็นโอกาสอันเจิดจริสในการส่งต่อมิตรภาพที่ส่องประกายของพวกเราไปยังคนรุ่นต่อไป โดยใช้โอกาสที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีประเทศไทย เดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ พัฒนาความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น อีกทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นให้ยิ่งแนบแน่น รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งไม่เพียงแต่ความร่วมมือญี่ปุ่น-อาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระชับสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่น-ไทย ที่มีประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนอันยาวนานกว่า 600 ปีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
เป็นเวลาผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ประเทศญี่ปุ่นได้เริ่มสานความสัมพันธ์กับอาเซียนก่อนชาติอื่นใดในโลก ญี่ปุ่นร่วมก้าวเดินกับไทยและประเทศอื่นๆในกลุ่มอาเซียนบนเส้นทางแห่งการพัฒนาและการรวมกันเป็นหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านความร่วมมือในการพัฒนาในหลากหลายสาขาตราบจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและอาเซียน ยังเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่สำคัญต่อกัน สำหรับอาเซียนแล้วญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนโดยตรงมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นลงทุนโดยตรงในกลุ่มประเทศอาเซียนมีมูลค่าเฉลี่ยราว 2.8 ล้านล้านเยนต่อปีในทุกๆปี และมีบริษัทญี่ปุ่นอยู่ในอาเซียนมากกว่า 15,000 แห่ง โดยเมื่อนำเอาเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วของอาเซียนรวมเข้ากับเศรษฐกิจของญี่ปุ่น นอกจากจะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ และการจ้างงานในแต่ละประเทศในอาเซียนแล้ว ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบรรดาประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับญี่ปุ่น โดยในประเทศไทย มีจำนวนชาวญี่ปุ่นพำนักอยู่ประมาณ 8 หมื่นคน และมีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนอยู่ราว 6,000 แห่ง ซึ่งในช่วง 40 ปีที่ผ่านมานี้ เงินลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย มีมูลค่ารวมประมาณ 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 40% ของการลงทุนจากต่างประเทศ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและไทยรวมไปถึงอาเซียนนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในด้านเศรษฐกิจเท่านั้น ญี่ปุ่นและอาเซียนเป็นมิตรแท้ต่อกันบนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบ "ใจถึงใจ" อันเป็นความสัมพันธ์แบบไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน ซึ่งก่อร่างสร้างกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปีผ่านการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนกันระหว่างบุคคลในหลากหลายสาขา โดยทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเรื่อยมา เช่น การแลกเปลี่ยนกันหลากหลายรูปแบบในกลุ่มคนหนุ่มสาวและการแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียนที่ศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
ญี่ปุ่นและอาเซียนได้ผ่านประสบการณ์และบททดสอบมากมาย เช่น วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2540 เหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย ในปี พ.ศ. 2547 เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2554 และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อปี พ.ศ. 2562 เป็นต้น แต่ทั้งญี่ปุ่นและอาเซียนต่างได้มอบความช่วยเหลือซึ่งกันและกันเรื่อยมาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นหุ้นส่วนที่ไว้วางใจกัน
ปัจจุบัน ประชาคมโลกกำลังยืนอยู่บนจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ โดยเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ในการรักษาระเบียบของโลกที่เสรีและเปิดกว้างซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้เรายังต้องเผชิญกับปัญหามากมายที่ทับซ้อนกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความเลื้อมล้ำทางสังคม วิกฤติด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล และการควบคุมเทคโนโลยี AI เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประชาชนในอาเซียนทุกท่านให้ยิ่งแน่นแฟ้นมากกว่าที่ผ่านมา ภายใต้พื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจอันแนบแน่นเพื่อ “ร่วมกันสร้างสรรค์” โลกอันสงบสุขและมีเสถียรภาพที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีเกียรติ รวมถึงอนาคตที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปิดฉากการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ในการประชุมผู้นำสมัยพิเศษที่ต้อนรับเหล่าผู้นำของประเทศในกลุ่มอาเซียน จะมีการประมวลความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-อาเซียนในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เพื่อนำไปสู่การเปิดวิสัยทัศน์ใหม่ และความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นมีความประสงค์ที่จะนำเสนอความร่วมมือในหลายประการ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลแบบครอบคลุมเพื่อส่งเสริมและส่งต่อแนวความคิดหุ้นส่วนแบบ "ใจถึงใจ" ไปยังคนรุ่นต่อไป การรับมือกับปัญหาในรูปแบบใหม่โดยร่วมกันสร้างยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ในสังคมและเศรษฐกิจของพวกเรา การรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยส่งเสริมข้อริเริ่ม Asia Zero Emission Community (AZEC) ร่วมกัน และการสร้างความร่วมมือในด้านอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น
ข้าพเจ้ามุ่งหวังให้การประชุมผู้นำสมัยพิเศษที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นี้ จะเป็นโอกาสอันเจิดจริสในการส่งต่อมิตรภาพที่ส่องประกายของพวกเราไปยังคนรุ่นต่อไป โดยใช้โอกาสที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีประเทศไทย เดินทางเยือนญี่ปุ่นในครั้งนี้ พัฒนาความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ความร่วมมือด้านพลังงาน เป็นต้น อีกทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจอันแน่นแฟ้นให้ยิ่งแนบแน่น รวมถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งไม่เพียงแต่ความร่วมมือญี่ปุ่น-อาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระชับสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่น-ไทย ที่มีประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนอันยาวนานกว่า 600 ปีให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น