ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรม (Cultural Grant Aid)

2020/2/28

ประเทศกำลังพัฒนาหลาย ๆ ประเทศดำเนินความพยายาม พร้อมด้วยสติกำลังในการสร้างประเทศไม่เพียงแต่ในสาขาเศรษฐกิจสังคม แต่รวมถึงกิจกรรมทางวัฒนธรรมและการศึกษา

โครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมได้เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2518 โดยเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือ ODA (Official Development Assistance - ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา) เพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมกิจกรรมการศึกษาและวัฒนธรรม

รัฐบาลและองค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและการศึกษาในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 120 ประเทศทั่วโลกได้แสดงความชื่นชมต่อความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น

ในงบประมาณปี พ.ศ. 2000 "ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม" (Grant Aid for Cultural Heritage) ที่ให้แก่โครงการขนาดใหญ่เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม และ "ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐาน" (Grant Assistance for Cultural Grassroots Projects) เป็นโครงการจัดทำขึ้นใหม่ เพื่อขยายขอบข่ายความช่วยเหลือทางวัฒนธรรมให้กว้างขวางขึ้น กำหนดให้ความช่วยเหลือในขนาดย่อม นอกเหนือจากความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมที่ดำเนินการอยู่ ในแผนโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่สองรูปแบบนี้ ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐานมุ่งให้การช่วยเหลือโดยตรงแก่องค์กรระดับรากหญ้า รวมถึงหน่วยงานรัฐในท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน ในประเทศกำลังพัฒนา ขณะเดียวกัน ด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม ทำให้สามารถให้การช่วยเหลือครอบคลุมในส่วนเกี่ยวกับการก่อสร้าง (รวมถึงการสร้างสถานที่สำหรับแสดงหรือเก็บรักษาสิ่งของและวัตถุเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมที่ขุดพบ) ที่ไม่สามารถกระทำได้ภายใต้แผนการช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมรูปแบบทั่วไป และบูรณะแหล่งวัฒนธรรมที่กำหนดเพื่อฟื้นฟู เก็บรักษา และใช้ประโยชน์ (รวมถึงการก่อสร้าง/ปรับปรุงทางถนนเข้าสู่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม)


 
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรม
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรม ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐาน
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา
เนื้อหา : จัดหาอุปกรณ์
เป้าหมาย : หน่วยราชการ
วงเงิน : 50 ล้านเยน/โครงการ
วัตถุประสงค์ : ฟื้นฟู บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
เนื้อหา : ปรับปรุงสภาพแวดล้อม จัดหาอุปกรณ์
เป้าหมาย : หน่วยราชการ
วงเงิน : 300 ล้านเยน/โครงการ
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการศึกษา
เนื้อหา : จัดหาอุปกรณ์
เป้าหมาย : หน่วยงานรัฐในท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน
วงเงิน : 10 ล้านเยน/โครงการ
ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมแก่ประเทศไทย ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมแก่ประเทศไทย ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐาน
  Application Form   WORD  |   PDF

 

1. ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมคืออะไร


ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมคือการให้ความช่วยเหลือโครงการด้านวัฒนธรรมและการศึกษา วงความช่วยเหลือสูงสุด 50 ล้านเยนต่อหนึ่งโครงการ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ รวมทั้งค่าขนส่งและค่าติดตั้งอุปกรณ์ นับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการเมื่อปีงบประมาณ 2518 จนถึงปีงบประมาณ 2544 ประเทศญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือภายใต้โครงการนี้แก่โครงการต่างๆ 1,124 โครงการใน 126 ประเทศมีมูลค่าสูงถึง 46,198.3 ล้านเยน อุปกรณ์ที่จัดหาให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาภายใต้โครงการนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัตถุทางวัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรม การจัดการโครงการต่าง ๆ ณ โรงละครและพิพิธภัณฑ์ ตลอดจนการส่งเสริมกิจกรรมทางการศึกษาและการวิจัย

ความช่วยเหลือที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้แก่รัฐบาลไทยจนถึงปีงบประมาณ 2544 มีมูลค่ารวม 1,742.6 ล้านเยน สำหรับ 41 โครงการ

 

ประเทศเป้าหมาย

ประเทศเป้าหมายได้แก่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีรายได้ GNP ต่อคนไม่เกินกว่า 5,225 ดอลล่าร์ (กลุ่ม 4 ตามเกณฑ์เงินกู้ของธนาคารโลก *)
* ธนาคารโลกได้กำหนดเกณฑ์เงินกู้โดยสอดคล้องกับ GNP ต่อคน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม จากกลุ่ม 1 (น้อยกว่า 775 ดอลล่าร์สหรัฐ) ถึง กลุ่ม 4 (ระหว่าง 2,996 - 5,225 ดอลล่าร์สหรัฐ) สำหรับประเทศในกลุ่ม 5 (มากกว่า 5,225 ดอลล่าร์สหรัฐ) ไม่สามารถรับเงินกู้ธนาคารโลก สำหรับประเทศญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมแก่ประเทศในกลุ่ม 1 ถึง กลุ่ม 4

 

ผู้รับ

ความช่วยเหลือจะให้ในรูปแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลของประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นประเทศที่เข้าเกณฑ์การขอรับความช่วยเหลือ
 

การยื่นขอรับความช่วยเหลือ

องค์กร (ตัวอย่างเช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือ กระทรวงวัฒนธรรม) ทำหน้าที่เป็นหน้าต่างสำหรับประเทศผู้รับด้วยการรวบรวมโครงการอันเป็นเป้าหมายจากทั่วประเทศและยื่นขอต่อสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
 

2. ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรม


ภายใต้แผนความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรม ประเทศญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมผ่านการให้อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมของโลก ซึ่งรวมทั้งการบูรณะ นครวัต อย่างไรก็ดี บางครั้งประเทศกำลังพัฒนาต้องการอุปกรณ์ขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถจัดหาให้ได้ภายใต้ขอบข่ายความช่วยเหลือแบบให้เปล่าตามปกติ ยิ่งกว่านั้น กรณีการให้เฉพาะอุปกรณ์นั้นไม่สามารถประกันว่าการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำนึกในคุณค่าของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในที่ต่าง ๆ ของโลกว่าไม่ได้เป็นเพียงสมบัติของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็น"สมบัติโดยรวมของมนุษยชาติ" ทำให้ความสนใจเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศญี่ปุ่นเพิ่มสูงขึ้น การแต่งตั้ง นายโคอิชิโระ มัสซึอุระ เป็นเลขาธิการ ยูเนสโก เมื่อปี 2542 ได้กระตุ้นความคาดหวังของประเทศกำลังพัฒนาในด้านความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่นเพื่อการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมได้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2543 เป็นการสนองตอบความสนใจที่เพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและความคาดหวังจากสังคมโลก และจนถึงปีงบประมาณ 2544 ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่โครงการรวม 4 โครงการในสี่ประเทศ รวมมูลค่าความช่วยเหลือ 855.8 ล้านเยน

 

โครงการเป้าหมาย


ญี่ปุ่นสามารถให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมแก่โครงการในประเภทต่อนี้

  • จัดหาอุปกรณ์และสิ่งของสำหรับการอนุรักษ์และ/หรือ การบูรณะแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม
  • สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในส่วนเกี่ยวกับการอนุรักษ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์ และโรงเก็บของขนาดเล็กสำหรับเก็บรักษาสิ่งของที่ขุดพบ เป็นต้น)
  • ปรับปรุงบริเวณแวดล้อมแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม (ทางถนน และล้อมรั้ว เป็นต้น)
 

ประเทศเป้าหมาย

ตามหลักการ ประเทศที่สามารถยื่นขอรับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมได้แก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มี GNP ต่อคนไม่เกิน 5,225 ดอลล่าร์สหรัฐ
 

ผู้รับ

ความช่วยเหลือจะให้ในรูปแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลของประเทศผู้รับ โดยต้องเป็นประเทศที่เข้าเกณฑ์การขอรับความช่วยเหลือ
 

การยื่นขอรับความช่วยเหลือ

องค์กร (ตัวอย่างเช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือ กระทรวงวัฒนธรรม) ทำหน้าที่เป็นหน้าต่างสำหรับประเทศผู้รับด้วยการรวบรวมโครงการอันเป็นเป้าหมายจากทั่วประเทศและยื่นขอต่อสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
 

ตัวอย่าง

ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่อนุมัติให้ในปีงบประมาณ 2000 มีอาทิ การจัดหาอุปกรณ์การวิจัยและการขุดหาโบราณวัตถุสมัยโรมัน และ Carthaginian ที่ประเทศตูนิเซีย อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อกิจกรรมทางโบราณคดี ตามโบราณสถานที่ Copan และโบราณสถานเกี่ยวกับอารยธรรมมายา ที่ประเทศฮอนดูรัส
 

3. ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐาน


ตามธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไป ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นเป็นการให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ โดยยกเว้นองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานที่มิใช่ของรัฐ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดได้แก่ จากระยะเวลาการยื่นขอความช่วยเหลือจนถึงขั้นตอนการดำเนินการจริงจะใช้เวลานานเนื่องจากจำต้องผ่านการแลกเปลี่ยนหนังสือแลกเปลี่ยน เป็นต้น ดังเช่นนี้ ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมจึงไม่สามารถสนองต่อความต้องการเพื่อความช่วยเหลือขนาดย่อมอย่างรวดเร็วและตรงตามต้องการ

เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ จึงได้ริเริ่มโครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐานขึ้นในปีงบประมาณ 2543 ความช่วยเหลือตามแผนนี้ได้ขยายขอบข่ายความร่วมมือ ด้วยการให้ความช่วยเหลือที่กำหนดขึ้นอย่างรอบคอบเพื่อประโยชน์โดยตรงแก่ระดับรากหญ้าในประเทศกำลังพัฒนาโดยผ่านองค์กรพัฒนาเอกชน และหน่วยงานรัฐในท้องถิ่น ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงปีงบประมาณ 2544 มีโครงการได้รับความช่วยเหลือแล้ว 37 โครงการใน 32 ประเทศรวมมูลค่า 178.16 ล้านเยน

 

โครงการเป้าหมาย

ความช่วยเหลือตามแผนฉบับใหม่นี้เหมือนกับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าทางวัฒนธรรมทั่วไปในแง่ว่าเป็นการช่วยด้านอุปกรณ์ อย่างไรก็ดี ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒธรรมระดับพื้นฐานยังสามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง ดังเช่น เครื่องดนตรี เป็นต้น ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพในประเทศกำลังพัฒนา
 

ประเทศผู้รับ


ประเทศเป้าหมายได้แก่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีรายได้ GNP ต่อคนไม่เกินกว่า 5,225 ดอลล่าร์
 

ผู้รับ


องค์กรพัฒนาเอกชน หรือหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นยื่นคำขอโดยตรงต่อ สำนักข่าวสารญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น โทรศัพท์ : 0-2259-0234-7
 

ตัวอย่าง


โครงการสำคัญที่ได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อโครงการทางวัฒนธรรมระดับพื้นฐานในปีงบประมาณ 2000 มีอาทิ การจัดหาอุปกรณ์เพื่อฟื้นฟูโบราณสถานของชุดศึกษา (Angkor Ruins International Study Team) ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยโซเฟีย ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในประเทศกัมพูชา การจัดหาโสตทัศนูปกรณ์เพื่อ Sofia Central Puppet Theatre ในประเทศบัลแกเรีย และการจัดทำหอดูดาวเคลื่อนที่แก่ Association of Astrology Enthusiasts (สมาคมผู้ชื่นชอบโหราศาสตร์) ในปารากวัย