สถานการณ์ของเกาะทะเคะชิมะที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
2017/9/12


1. “ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (Supreme Commander for the Allied Powers (SCAP))” ได้กำหนดพื้นที่ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นจะต้องยุติการแทรกแซงอำนาจทั้งในด้านการเมืองและการปกครอง อีกทั้งพื้นที่ห้ามการทำการประมง หรือ การล่าปลาวาฬ ซึ่งรวมไปถึง เกาะทะเคะชิมะ อย่างไรก็ตาม ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า คำสั่งการกำหนดพื้นที่เหล่านี้ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นการแสดงถึงนโยบายของสัมพันธมิตรในเรื่องของการพิจารณากำหนดอาณาเขตดินแดนของประเทศญี่ปุ่น
2. เนื้อหาของบันทึกการบัญชาการสูงสุดเพื่อคำสั่งสัมพันธมิตร Supreme Commander for the Allied Powers Instruction Note (SCAPIN) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) SCAPIN ฉบับที่ 677
(ก.) ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1946 ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ออกบันทึกการบัญชาการสูงสุดเพื่อคำสั่งสัมพันธมิตร (SCAPIN) ฉบับที่ 677 เพื่อกำหนดแนวทางให้ประเทศญี่ปุ่น หยุดความพยายามในการเข้าแทรกแซงทางการเมืองหรือใช้อำนาจปกครองในบางพื้นที่เป็นการชั่วคราว
(ข.) ในย่อหน้าที่ 3 ของ บันทึกนี้ได้ระบุว่า “เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของคำสั่งนี้ ได้กำหนดให้ประเทศญี่ปุ่น หมายถึงเกาะทั้ง 4 (ฮอกไกโด, ฮอนชู, กิวชิว และชิโกกุ) และเกาะเล็กๆในบริเวณใกล้เคียงโดยประมาณ 1,000 เกาะ รวมไปถึง เกาะทซึชิมะ และเกาะริวกิว (นันเซ) ซึ่งตั้งอยู่ทิศเหนือของละติจูด 30องศาเหนือ (ไม่รวมไปถึงเกาะคุจิโนะชิมะ)” และกำหนดรายชื่อเกาะที่ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถใช้อำนาจแทรกแซงทางการเมืองหรืออำนาจในการปกครองได้ อันได้แก่ เกาะอุทซึเรียว, เกาะเชจู, เกาะอิซุ , เกาะโอกะซะวะระ และเกาะทะเคะชิมะ
(ค.) อย่างไรก็ดี ในย่อหน้าที่ 6 ของบันทึกเดียวกันนี้ ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่า คำสั่งนี้ ไม่ได้แสดงถึงนโยบายของฝ่ายสัมพันธมิตรเกี่ยวกับการกำหนดอันถือเป็นที่สุดในเรื่องอำนาจอธิปไตยบนเกาะเล็กต่างๆ ตามที่กำหนดในมาตรา 8 ของคำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม (คำประกาศ ณ เมืองปอตสแดม , ข้อ 8 : “อำนาจอธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นจะถูกจำกัดอยู่ภายในเกาะฮอนชู, ฮอกไกโด, คิวชู, ชิโกกุ และเกาะเล็กอื่นๆตามที่กำหนด”)
2) SCAPIN ฉบับที่ 1033
(ก.) ในปี ค.ศ. 1946 ศูนย์บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (SCAP) ได้ออก บันทึกการบัญชาการสูงสุดเพื่อคำสั่งสัมพันธมิตร (SCAPIN) ฉบับที่ 1033 เพื่อขยายอาณาเขตบริเวณที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับอนุญาตให้ทำการประมงและล่าวาฬได้ (the “Macarthur Line”)
(ข.) ในย่อหน้าที่ 3 ของบันทึกฉบับนี้ ได้ระบุว่า “เรือสัญชาติญี่ปุ่น หรือ ลูกเรือของเรือดังกล่าว ห้ามไม่เข้าใกล้เกาะทะเคะชิมะมากกว่า ระยะ 12 ไมล์ (ละติจูดที่ 37 องศา 15 ลิปาเหนือ, ลองจิจูด 131 องศา 53 ลิปดาตะวันออก) และทำการติดต่อใดๆกับเกาะดังกล่าว”
(ค.) อย่างไรก็ดี ในย่อหน้าที่ 5 ของบันทึกเดียวกันนี้ ระบุว่า คำสั่งนี้ไม่ได้เป็นการแสดงถึงนโยบายของฝ่ายสัมพันธมิตร เกี่ยวกับเรื่องของการกำหนดอันถือเป็นที่สุดในเรื่องเขตอำนาจปกครองของชาติ, อาณาเขตระหว่างประเทศ, สิทธิในการทำการประมงในบริเวณดังกล่าว หรือบริเวณอื่นๆ”
3. การยกเลิก เส้นแบ่งเขต “The MacArthur Line” ในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 1952 และหลังจากหลังจากยกเลิกเส้นแบ่งเขตดังกล่าว 3 วัน สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 เมษายน ส่งผลให้เป็นการลบล้างคำสั่งให้ประเทศญี่ปุ่นหยุดใช้อำนาจทางการเมืองและการบริหารในบริเวณดังกล่าว
สาธารณรัฐเกาหลีอ้างว่า ตามเอกสารบันทึกการบัญชาการสูงสุดเพื่อคำสั่งสัมพันธมิตร (SCAPIN) ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้ยอมรับว่า เกาะทะเคะชิมะ เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตประเทศญี่ปุ่น และนำเอกสารเหล่านี้มารวมเป็นหลักฐานสำหรับการอ้างสิทธิอำนาจอธิปไตยบนเกาะทะเคะชิมะ อย่างไรก็ดี ตามบันทึกการบัญชาการสูงสุดเพื่อคำสั่งสัมพันธมิตร (SCAPIN) ทั้งสองฉบับนั้น ต่างก็ระบุอย่างชัดเจนว่าคำสั่งเหล่านี้ไม่สามารถนำมาตีความว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงนโยบายของฝ่ายสัมพันธมิตรอันเกี่ยวกับการตกลงอันถือเป็นที่สุดในเรื่องการกำหนดสิทธิอำนาจอธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นได้ ดังนั้นข้อกล่าวอ้างดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง
อนึ่ง อาณาเขตประเทศญี่ปุ่นนั้นถูกกำหนดขึ้นตามสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ในเวลาต่อมา จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การปฎิบัติใดๆต่อเกาะทะเคะชิมะในเวลาก่อนที่สนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้นั้นไม่มีผลใดๆต่อกรรมสิทธิ์เหนือเกาะทะเคะชิมะ