แผนกกงสุล

2022/6/7

เกี่ยวกับ “การแจ้งการเกิด”

A. กรณีใดบ้างที่เด็กเกิดแล้วจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น

(1)กรณีบิดามารดาเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นทั้งคู่

เด็กที่เกิดจากบิดามารดาที่มีสัญชาติญี่ปุ่นทั้งคู่จะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น โดยไม่ต้องคำนึงว่าบิดามารดานั้นได้แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมาย (ซึ่งเรียกว่า การสมรส) หรือไม่

 

(2) กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติอื่น

(ก) กรณีบิดามีสัญชาติญี่ปุ่น ส่วนมารดามีสัญชาติอื่น

  1. เด็กที่เกิดจากการที่บิดามารดาสมรสกันจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น
  2. เด็กที่เกิดภายใน 300 วันหลังจากที่บิดามารดาทำเรื่องหย่ากันจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น
  3. เด็กที่เกิดก่อนที่บิดามารดาสมรสกันจะไม่ได้รับสัญชาติญี่ปุ่น เว้นแต่ว่า บิดาที่มีสัญชาติญี่ปุ่นได้ทำการรับรองบุตรขณะที่ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ เด็กที่เกิดมาจึงจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่น

 

(ข) กรณีบิดามีสัญชาติอื่น ส่วนมารดามีสัญชาติญี่ปุ่น

ไม่ว่าบิดาและมารดาจะสมรสกันหรือไม่ เด็กที่เกิดมานั้นจะได้รับสัญชาติญี่ปุ่นเสมอ

 

B. สำหรับเด็กที่เกิดมานั้นสามารถแยกได้เป็น “เด็กที่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้สมรสกันตามกฎหมาย) : 嫡出子” และ “เด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย) : 嫡出でない子 ”

ตามกฎหมายแพ่งแห่งประเทศญี่ปุ่นนั้น จะแยกประเภทเด็กเป็น “เด็กที่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้สมรสกันตามกฎหมาย”  และ “เด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย)”  กล่าวคือ

(1) “เด็กที่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้สมรสกันตามกฎหมาย)”

ใช้สำหรับเรียกเด็กที่เกิดระหว่างชายหญิงที่สมรสกัน หรือสมมติฐานตามกฎหมายนั้นหมายถึงเด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งสมรสกันตามกฎหมายและเกิด 200 วันให้หลังหลังจากที่บิดามารดาสมรสกันเรียบร้อยแล้ว หรือเป็นเด็กที่เกิดภายใน 300 วันนับจากวันที่บิดามารดาได้หย่ากัน สำหรับเด็กที่เกิดภายใน 200 วันหลังจากบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยและเป็นลูกของสามีของมารดา  ถือว่าเป็น “เด็กที่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งได้สมรสกันตามกฎหมาย)”

 

(2) “เด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย)”

ใช้สำหรับเรียกเด็กที่เกิดระหว่างชายหญิงที่ไม่ได้สมรสกัน หรือเป็นเด็กที่เกิดภายใน 200 วันหลังจากมารดากับสามีได้จดทะเบียนสมรสกันเรียบร้อยและไม่ได้เป็นลูกของสามีของมารดา ถือว่าเป็น “เด็กที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งไม่ได้สมรสกันตามกฎหมาย)”

 

C. กฎหมายญี่ปุ่นบัญญัติไว้ว่าเด็กที่เกิดในต่างประเทศนั้น “ต้องแจ้งการเกิดภายใน 3 เดือน”

ตามกฎหมายทะเบียนครอบครัวมาตรา 49 นั้นกำหนดไว้ว่า “การแจ้งการเกิดต้องดำเนินการภายใน 14 วัน (หรือภายใน 3 เดือน กรณีที่เด็กนั้นเกิดในต่างประเทศ)” นอกจากนี้ ตามกฎหมายสัญชาติมาตรา 12 ยังกำหนดไว้ว่า “ประชาชนชาวญี่ปุ่นที่เกิดในต่างประเทศและได้รับสัญชาติอื่นเนื่องจากการเกิดนั้น สัญชาติญี่ปุ่นจะสูญหาย ณ ตอนที่เกิดถ้าไม่แสดงเจตจำนงในการคงไว้ซึ่งสัญชาติญี่ปุ่นตามที่กฎหมายทะเบียนครอบครัวกำหนดไว้”

 

ดังนั้น ขอให้พึงระวังว่า กรณีเด็กเกิดในประเทศไทยและเป็นเด็กที่ถือสองสัญชาติทั้งไทยละญี่ปุ่นเนื่องจากการเกิดนั้น ถ้าไม่แจ้งการเกิด “ภายใน 3 เดือน” ณ ตอนที่เกิดในการคงไว้ซึ่งสัญชาติญี่ปุ่น สัญชาติญี่ปุ่นจะสูญหายไป

 

ฉะนั้น กรุณาแจ้งการเกิดให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ ภายในระยะเวลา 3 เดือนตามที่กำหนดให้แจ้งการเกิด

เกี่ยวกับ “การคงไว้ซึ่งสัญชาติญี่ปุ่น”

สัญชาติ”นั้น มีหลายกรณีที่เด็กจะได้รับสัญชาติอื่นด้วยนอกเหนือจากสัญชาติญี่ปุ่นเนื่องจากการเกิด ดังนั้นการแจ้งการเกิดของเด็กที่มีสองสัญชาติในกรณีที่กล่าวมา บิดาหรือมารดาที่มาแจ้งการเกิดต้องแสดงเจตจำนงในการคงไว้ซึ่งสัญชาติญี่ปุ่นใน “ใบคำร้องในการแจ้งการเกิด” โดยต้องลงลายมือชื่อประทับไว้ใน “ช่องการคงไว้ซึ่งสิทธิ์ของการมีสัญชาติญี่ปุ่น” (กรณีแจ้งการเกิดของเด็กที่มีสัญชาติญี่ปุ่นเพียงชาติเดียว ไม่จำเป็นต้องคงไว้ซึ่งสิทธ์ของการมีสัญชาติญี่ปุ่น)

 

เอกสารที่จำเป็นในการแจ้งการเกิด

1. ใบคำร้องในการแจ้งการเกิด   2   ฉบับ

●สำหรับ “ใบคำร้องในการแจ้งการเกิด” สามารถติดต่อเคาวน์เตอร์รับเรื่องของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นระจำประเทศไทย

 

ข้อควรระวังหลักๆในการกรอก “ใบคำร้องในการแจ้งการเกิด”

  1. ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนชื่อเด็ก  โดยทั่วไปจำกัดการใช้แค่ตัวอักษรคันจิทั่วไป  ตัวอักษรคันจิสำหรับใช้กับชื่อบุคคล ตัวอักษรคาตากานะ ตัวอักษรฮิรางานะ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
  2. ชื่อของประชาชนชาวญี่ปุ่นนั้นจะไม่มีระบบ “ชื่อกลาง”  จึงไม่สามารถใช้สัญลักษณ์   「・」  จุดตรงกลางได้
  3. “วันเวลาเกิด” ให้ใส่วันเดือนปี และเวลาให้ใส่ถึงหลักนาทีที่เกิด เช่น กรณีเกิดเที่ยงตรงกลางวันให้ใส่  “เที่ยงวัน 0 นาฬิกา     ( 午後0時 )” หรือ กรณีเกิดเที่ยงคืนตรงให้ใช้ “เที่ยงคืน 0 นาฬิกา (午前0時)”
  4. “สถานที่เกิด”  ให้ใส่เป็นตัวอักษรภาษาญี่ปุ่นไม่ใช้ตัวอักษรภาษาต่างชาติ และให้เขียนตามรูปแบบญี่ปุ่นตั้งแต่ชื่อประเทศ จนถึงบ้านเลขที่
  5. “ผู้ที่แจ้งการเกิด” ถ้าเป็น “เด็กที่เกิดจากบิดามารดาซึ่งสมรสกันตามกฎหมาย” บิดาหรือมารดาสามารถแจ้งเกิดได้ แต่ถ้าเป็น“เด็กที่ไม่ได้เกิดจากบิดามารดาซึ่งสมรสกันตามกฎหมาย” มารดาต้องเป็นผู้แจ้งเกิด

 

ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องในการแจ้งการเกิด

 

2. ใบรับรองการเกิดหรือสูติบัตร  :  ตัวจริงพร้อมสำเนา   จำนวน 1 ฉบับ

กรณีเด็กเกิดในประเทศไทย ก่อนอื่นต้องให้ทางโรงพยาบาลแจ้งเรื่องการเกิดไปยังสำนักงานทะบียน (ที่ว่าการเขตหรืออำเภอ) ที่โรงพยาบาลนั้นสังกัดอยู่ในพื้นที่ เพื่อให้สำนักงานทะบียน (ที่ว่าการเขตหรืออำเภอ) ออก “สูติบัตร” ให้

  • กรณีบิดามารดาเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นทั้งคู่ → ใช้ใบรับรองการเกิดเป็นภาษาอังกฤษที่ออกโดยแพทย์
  • กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งมีสัญชาติอื่น → ใช้ “สูติบัตร” ที่ออกโดยที่ว่าการเขตหรืออำเภอ (ตัวจริงจะคืนให้เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว)

 

3. ฉบับแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นของเอกสารในหัวข้อ 2.  :   กรุณาระบุชื่อผู้แปล

  • รูปแบบการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นของสูติบัตร( /
  • ตัวอย่างการกรอกรูปแบบการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นของสูติบัตร(  /

 

4. ทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ)   : ไม่จำเป็นในกรณีไม่มีอยู่กับตัว

  • เพื่อใช้ประกอบการยืนยันการสะกดชื่อสกุลของคู่สมรสชาวต่างชาติและที่อยู่ในทะเบียนครอบครัว ถ้าท่านมีทะเบียนครอบครัวฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ)  หลังจากมีการบันทึกเรื่องแต่งงานแล้วแม้จะเป็นสำเนาก็ตาม กรุณานำมายื่นพร้อมกันในตอนที่แจ้งการเกิด
  • (ดูอ้างอิงได้ที่)  → การแจ้งการเกิดกับทะเบียนครอบครัว

สถานที่ติดต่อสอบถาม

แผนกหนังสือรับรอง หนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2207-8501, 0-2696-3001

E-mail: ryouji-soumu@bg.mofa.go.jp

แผนที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

 

สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร

โทรศัพท์: 053-012500  (ต่อ 102) (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย)

โทรสาร: 052-012515