การผนวกเกาะทะเคะชิมะเข้ากับจังหวัดชิมาเนะ

2017/9/12
มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1905 (ภาพจาก NATIONAL ARCHIVES OF JAPAN)
Takeshima Fishery Company ในปี ค.ศ. 1909 (ภาพโดย Kokon Shoin)
 

         1. ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีการอนุญาตให้สามารถล่าลิงโตทะเลได้ในบริเวณเกาะทะเคะชิมะปัจจุบัน  แต่ทว่าไม่นานนัก เกิดปัญหาการแข่งขันอย่างมากในธุรกิจการล่าสิงโตทะเล และเพื่อจะดำรงธุรกิจการล่าสิงโตทะเลเอาไว้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1904 นายนะคะอิ โยซะบุโระ (Nakai Yozaburo) ผู้มีถิ่นพำนักบนเกาะโอคิ (Oki Islands) ได้ยื่นคำร้องต่อกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงเกษตรและการพาณิชย์ ให้ผนวกเอา “(*) เกาะลีอังโกะ (Lyanko Islands)” เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอเช่าพื้นที่สัมปทานเป็นระยะเวลา 10 ปี

(*) “เกาะลีอังโกะ (Lyanko Islands)” มาจาก “เกาะลีอังคอร์ต (Liancourt Islands)” ชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ “เกาะทะเคะชิมะ” ซึ่งเกิดจากความผิดพลาดของนักสำรวจชาวยุโรป ในช่วงเวลานั้น คล้ายคลึงกับ “เกาะอุทซึเรียว” ที่ถูกเรียกผิดเพี้ยนไปว่า “เกาะมัทซึชิมะ” และ “เกาะทะเคะชิมะ” ในปัจจุบันก็เคยถูกเรียกว่า “เกาะลีอังโกะ”

        2. หลังจากได้รับคำร้องของนายนะคะอิ และสอบถามความคิดเห็นไปยังจังหวัดชิมาเนะ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตรวจสอบและไม่พบว่ามีประเด็นปัญหาใดๆในการผนวกเกาะทะเคะชิมะเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้อำนาจส่วนการปกครองของเกาะโอคิ รวมถึงมีชื่ออย่างเป็นทางการที่ถูกต้องว่า “เกาะทะเคะชิมะ” สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรี ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1905 มีมติให้เกาะแห่งนี้อยู่ภายใต้อำนาจส่วนการปกครองเกาะโอคิ และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เกาะทะเคะชิมะ” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้แจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดชิมาเนะถึงมติดังกล่าว และจากมติของคณะรัฐมนตรีถือเป็นการรับรองอีกครั้งถึงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะของประเทศญี่ปุ่น

        3. จากมติของคณะรัฐมนตรีและคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1905 ผู้ว่าราชการจังหวัดชิมาเนะ ประกาศชื่อ “ทะเคะชิมะ” เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของเกาะแห่งนี้ และอยู่ภายใต้อำนาจส่วนการปกครองเกาะโอคิ พร้อมแจ้งไปยังส่วนการปกครองเกาะโอคิ อนึ่ง ข่าวนี้ได้ถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์อย่างแพร่หลายในช่วงเวลานั้น

        4. นอกจากนี้ จากมติของคณะรัฐมนตรี กำหนดให้เกาะทะเคะชิมะอยู่ภายใต้อำนาจส่วนการปกครองเกาะโอคิ จังหวัดชิมาเนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดชิมาเนะจึงได้ขึ้นทะเบียนที่ดินบนเกาะทะเคชิมะเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัด พร้อมทั้งอนุญาตให้สามารถล่าสิงโตทะเล การล่าสิงโตทะเลยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปี ค.ศ. 1941

        5. อนึ่ง จากพระบรมราชโองการลำดับที่ 41 ของเกาหลี ประกาศใช้ใน ค.ศ. 1900 ได้เปลี่ยนชื่อ “เกาะอุทซึเรียว” เป็น “เกาะอุทซึ (Utsu Island)” พร้อมทั้งยกระดับตำแหน่งผู้บริหารเกาะแห่งนี้เป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง นอกจากนี้เนื้อหาภายในพระบรมราชโองการฉบับนี้ ยังกำหนดพื้นที่ภายใต้อำนาจของเขตการปกครองเกาะอุทซึเอาไว้ว่า “ครอบคลุมพื้นที่เกาะอุทซึเรียวทั้งหมด เกาะทะเคะชิมะ และเกาะอิชิจิมะ (Ishi-Jima)” นักวิจัยบางคนโต้แย้งว่า “เกาะทะเคะชิมะ” หมายถึงเกาะเล็กๆใกล้กับเกาะอุทซึเรียวที่เรียกว่า “Jukdo” และแท้ที่จริงแล้ว “เกาะอิชิจิมะ” หมายถึง “เกาะดกโด (Dokdo)” เนื่องจาก คำว่า “อิชิ (Ishi (Dol))” สามารถออกเสียงได้ว่า “ดก (Dok)” ในภาษาเกาหลี และคำว่า “อิชิจิมะ” สามารถเขียนด้วยตัวอักษรจีนได้ว่า “ดกโด” ตามการออกเสียง

        6. อย่างไรก็ตาม ถ้าเกาะอิชิจิมะ คือ เกาะทะเคะชิมะ (ดกโด) ในปัจจุบัน จะมีคำถามต่างๆนานาเกิดขึ้นมากมาย รวมไปถึง เหตุใดในพระบรมราชโองการลำดับที่ 41 ซึ่งประกาศใช้ใน ค.ศ. 1900 จึงไม่ใช้ชื่อเกาะว่า “ดกโด” แล้วเหตุใดจึงใช้ชื่อเกาะว่า “อิชิจิมะ” นอกจากนี้ เหตุใดถึงไม่ใช้ชื่ออื่นๆ เช่น “เกาะอูซัน (Usan Island)” หรือชื่ออื่นๆที่สาธารณรัฐเกาหลียืนยันว่าเป็นชื่อเดิมของเกาะทะเคะชิมะ

        อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคำถามเหล่านั้นจะได้รับคำตอบ แต่ก็ยังคงไม่มีหลักฐานชิ้นใดที่พิสูจน์ได้ว่า สาธารณรัฐเกาหลีได้เข้าครอบครองเหนือเกาะทะเคะชิมะทั้งก่อนและหลังพระบรมราชโองการฉบับดังกล่าวได้ประกาศใช้ เพราะฉะนั้น สาธารณรัฐเกาหลีจึงไม่เคยสถาปนาอำนาจอธิปไตยใดๆเหนือเกาะทะเคะชิมะ



 
การล่าสิงโตทะเลบนเกาะทะเคะชิมะ (ภาพโดย Takeshima Archive of the Shimane Prefectural Government)
การล่าสิงโตทะเลบนเกาะทะเคะชิมะ ในปี ค.ศ. 1930 (ภาพโดย Takeshima Archive of the Shimane Prefectural Government)