คำถามข้อที่ 1. ตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศนั้น ความใกล้ชิดระหว่างเกาะกับดินแดนของประเทศส่งผลต่อสิทธิในการครอบครองดินแดนเหนือเกาะหรือไม่?
2017/9/12
คำตอบข้อที่ 1.
สาธารณรัฐเกาหลีได้อ้างเหตุผลทางสภาพภูมิศาสตร์ของเกาะทะเคะชิมะและเกาะอุทซึเรียว ซึ่งอยู่ใกล้กันว่า “เกาะทะเคะชิมะเป็นส่วนหนึ่งของเกาะอุทซึเรียว” แต่ทว่าในทางกฎหมายระหว่างประเทศ สภาพทางภูมิศาสตร์นั้นไม่มีผลต่ออำนาจอธิปไตยในการครอบครองดินแดน ซึ่งปรากฎอยู่ในคำพิพากษาคดีที่ผ่านมาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
กรณีตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่ผ่านมาในช่วงปี ค.ศ.1920 กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะPalmas ระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีคำตัดสินว่า “ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ปรากฏหลักพื้นฐานว่า ความใกล้ชิดของดินแดนจะสามารถนำมาอ้างถึงอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน” นอกจากนี้เมื่อไม่นานมานี้ กรณีพิพาทดินแดนและการเดินเรือในทะเลแคริบเบียน ระหว่างประเทศนิการากัว และประเทศฮอนดูรัส ในปีค.ศ. 2007 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ไม่ยอมรับการอ้างในเรื่องสภาพทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้ชิดของประเทศนิการากัว มาเป็นส่วนหนึ่งเพื่อยืนกรานถึงอำนาจอธิปไตย ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีข้อพิพาทในปีค.ศ. 2002 ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย กรณีเกาะลิกิตันและเกาะสิปาดัน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศปฏิเสธคำโต้แย้งของอินโดนีเซียในประเด็นที่อ้างว่าเกาะทั้งสองซึ่งอยู่ห่างจากดินแดนอาณาเขต 40 ไมล์ทะเลถือเป็นเกาะภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศอินโดนีเซีย