แผนกกงสุล
ระเบียบการสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น (B : กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง )
- A : กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศไทยภายหลัง
- B : กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง
กรณีจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทยนั้น คู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องยื่นขอ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” และ “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” จากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนำเอกสารนั้นไปรับการประทับตรารับรองจากกรมการกงสุลกระทรวงการต่างประเทศไทยก่อนแล้วจึงนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยต่อไป
อนึ่ง คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นจะต้องมายื่นขอหนังสือรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและจำเป็นต้องแสดงตัว ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยด้วยตนเอง โดยจากระเบียบการดังกล่าวแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นที่จะยื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนนั้น กรุณาเผื่อเวลาการพำนักในประเทศไทยด้วย
ก) การจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต / อำเภอของประเทศไทย
(1) การยื่นขอ “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” นั้น กรุณาเตรียมเอกสารตามที่ระบุดังต่อไปนี้
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
- ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
ทะเบียนครอบครัวต้องออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น
สำหรับผู้ที่เคยสมรสมาก่อนต้องนำทะเบียนครอบครัวที่ระบุเรื่องการหย่าหรือการเสียชีวิตของคู่สมรสเดิมมาด้วย
หนังสือรับรองความเป็นโสดนั้นออกจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น ดังนั้น กรุณาเขียนคำอ่าน (ฟุริกานา) กำกับชื่อสกุล, ชื่อบิดามารดา, ภูมิลำเนาและสถานที่เกิดด้วย - ทะเบียนบ้านญี่ปุ่น (จูมินเฮียว) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น
a. บุคคลที่พำนักในประเทศไทย
สถานทูตญี่ปุ่นจะตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันกับ “ใบแจ้งถิ่นที่อยู่” ที่ยื่นต่อสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
b. บุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศไทย
กรุณายื่น “หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่” ที่มีการบันทึกที่อยู่ปัจจุบันและออกจากประเทศที่ตนพำนักอยู่ - หนังสือรับรองการทำงาน (ไซโชคุโชเมโชะ) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
หนังสือรับรองการทำงานที่ตนเองพิมพ์ขึ้นหรือออกจากบริษัทนั้นต้องได้รับการประทับตรารับรองจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนของสำนักงานทะเบียน (โคโชนินยะคุบะ) แล้วจึงนำไปรับการประทับตรารับรองว่าเป็นการรับรองที่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ทะเบียนที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานด้านกฎหมายส่วนท้องถิ่นของกระทรวงยุติธรรม (ชิโฮโฮมุเคียวคุ)
ในกรณีหนังสือรับรองการทำงานออกจากหน่วยงานราชการแล้วก็ไม่จำเป็นต้องรับการประทับตรารับรองอีก
กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น
a. บุคคลที่พำนักในประเทศไทย
• “หนังสือรับรองการทำงาน” ที่ออกจากสถานที่ทำงานนั้นต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ, ภาษาไทย, ภาษาญี่ปุ่นก็ได้
• ใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย (ต้นฉบับ) พร้อมสำเนา 1 ชุด
b. บุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศไทย
• หลังจากได้รับ “หนังสือรับรองการทำงาน” ที่ออกจากสถานที่ทำงานแล้ว กรุณานำไปรับการประทับตรารับรองจาก NOTARY PUBLIC ในประเทศนั้น ๆ ด้วย
* บุคคลที่ไม่ได้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้
* กรณีเป็นนักศึกษาต้องมีหนังสือรับรองจากสถาบันที่กำลังศึกษา
- หนังสือรับรองรายได้ (โชะโทคุโชเมโช) 1 ฉบับ (ซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น)
หนังสือรับรองรายได้ซึ่งออกจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
หนังสือรับรองการเสียภาษีซึ่งออกจากบริษัทฯ ต้องได้รับการประทับตรารับรองจากเจ้าหน้าที่ทะเบียนของ สำนักงานทะเบียน (โคโชนินยะคุบะ) แล้วจึงนำไปรับการประทับตรารับรองฯ จากสำนักงานด้านกฎหมายส่วนท้องถิ่นของกระทรวงยุติธรรม (ชิโฮโฮมุเคียวคุ) ด้วย
กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศญี่ปุ่น
a. บุคคลที่พำนักในประเทศไทย
•“หนังสือรับรองรายได้” ที่ออกจากสถานที่ทำงานนั้นต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาไทย หรือภาษาญี่ปุ่นก็ได้
b. บุคคลที่พำนักในประเทศอื่นๆ นอกจากประเทศไทย
•หลังจากได้รับ “หนังสือรับรองรายได้” ที่ออกจากสถานที่ทำงานแล้ว กรุณานำไปรับรองจาก NOTARY PUBLIC ด้วย หากเอกสาร ไม่ใช่ภาษาญี่ปุ่นหรืออังกฤษ กรุณาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นมาด้วย
*บุคคลที่ไม่ได้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้
- หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนาหน้ารายละเอียด 1 ชุด)
- ใบคำร้องในการขอหนังสือรับรอง 1 ฉบับ (กรอกด้วยภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ)
ใบคำร้องฯ จัดวางไว้ในห้องยื่นขอหนังสือรับรองและขอได้ที่ที่เคาน์เตอร์สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ใบคำร้องฯ → WORD / PDF
ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องฯ → WORD / PDF - แบบสอบถามเพื่อพิมพ์ [ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส ]
กรุณากรอกข้อความในแบบสอบถามให้ครบถ้วนเพื่อที่สถานทูตญี่ปุ่นจะได้ใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการพิมพ์
[ หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส]
แบบสอบถาม → EXCEL / PDF
ตัวอย่างการกรอกแบบสอบถาม → EXCEL / PDF - หนังสือมอบอำนาจ 1 ใบ (ในกรณีให้ผู้อื่นมายื่นแทน)
หนังสือมอบอำนาจ → WORD / PDF
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
- บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
- ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
หน้าซึ่งต้องถ่ายสำเนา
• หน้าที่อยู่/ หน้ารายละเอียดของผู้ยื่น/ กรณีคู่สมรสฝ่ายไทยมีการแก้ไขรายการใดๆ แล้ว กรุณาถ่ายสำเนาหน้า 18 มาด้วย - หนังสือเดินทาง (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ถ้าไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องนำมา - กรุณาเตรียมเอกสารข้างล่างนี้มาด้วย ในกรณี........
กรณีเคยสมรสมาก่อน......... ใบสำคัญการหย่า (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
กรณีเคยเปลี่ยนชื่อสกุล......... ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
กรณีมีบุตรโดยไม่ได้สมรส......... ใบสูติบัตรของเด็ก (ตัวจริงและสำเนา 1 ฉบับ)
(2) หลังจากเตรียมเอกสารที่กล่าวมาข้างต้นครบถ้วนแล้ว กรุณานำมายื่นที่เคาน์เตอร์ แผนกหนังสือรับรองหนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
~ สำหรับอ้างอิง ~
ตัวอย่าง หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส
(กรณีคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งจะทำการสมรสครั้งแรก) WORD / PDF
(กรณีคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นที่เคยทำการสมรส) WORD / PDF
(ตัวอย่าง หนังสือรับรองความเป็นโสด) → WORD / PDF
ในวันรับเรื่อง คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องกรุณามาที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นด้วยเพื่อตรวจสอบเนื้อหาในหนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรสซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นพิมพ์ให้และลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองดังกล่าว
เงื่อนไขของผู้ยื่นคำร้อง
ให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ (เวลายื่น กรุณานำหนังสือมอบอำนาจมาด้วย)
คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหรือเจ้าของเรื่องต้องมารับเรื่องด้วยตนเอง
ค่าธรรมเนียม
ชำระค่าธรรมเนียมในวันที่มารับเรื่อง
เวลาทำการเคาน์เตอร์
เวลายื่นและรับเรื่อง ตั้งแต่เวลา 8.30-12.00 น., 13.30-16.00 น.
วันจันทร์-วันศุกร์ (วันหยุดวันเสาร์วันอาทิตย์, วันหยุดสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น)
***********************
(3) กรุณาแปล “หนังสือปฏิญาณคุณสมบัติในการสมรส” และ “หนังสือรับรองความเป็นโสด” ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยออกให้นั้นเป็นภาษาไทยและนำไปรับการประทับตรารับรองจากกองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทยด้วย
*กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย
ที่อยู่ เลขที่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0-2203-5000・ Call Center 0-2572-8442
(4) หลังจากได้รับหนังสือรับรองฯ ที่กระทรวงการต่างประเทศไทยประทับตรารับรองแล้ว ให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายนำหนังสือรับรองฯ ดังกล่าวไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเพื่อทำการจดทะเบียนสมรสต่อไป อนึ่ง เกี่ยวกับเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่จะต้องนำไปยื่น ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยเวลายื่นจดทะเบียนสมรสนั้น กรุณาสอบถามจากที่ว่าเขต/อำเภอของประเทศไทยโดยตรง
หลังจากที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยรับเรื่องการจดทะเบียนสมรสแล้วจะออก “ใบสำคัญการสมรส” ให้คู่สมรสทั้งสอง เป็นการเสร็จสมบูรณ์ของระเบียบการจดทะเบียนในประเทศไทย
(5) คู่สมรสทั้งสองฝ่ายจะยื่นจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการเขต/อำเภอที่คู่สมรสฝ่ายไทยมีทะเบียนบ้านอยู่ หากคู่สมรสหญิงฝ่ายไทยต้องการเปลี่ยนคำนำหน้านาม (จากนางสาวเป็นนาง)หรือต้องการเปลี่ยนนามสกุลตามคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสฝ่ายไทยกรุณาแจ้งที่ว่าการเขต/อำเภอที่ตนมีทะเบียนบ้านอยู่ด้วย
ข) การแจ้งเรื่องการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่น หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทย
(1) หลังจากจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยแล้ว กรุณาแจ้งการจดทะเบียนสมรสดังกล่าว ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นด้วย โดยต้องแจ้งการจดทะเบียนสมรสภายในสามเดือน
การแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะแจ้งที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย หรือสำนักทะเบียนเขต/อำเภอของประเทศญี่ปุ่นก็ได้โดยยื่นเอกสารดังต่อไปนี้
(A) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
- ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
ขอได้ที่เคาน์เตอร์ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
การลงลายมือชื่อของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายในช่องลงลายมือชื่อของผู้ยื่นคำร้องฯ กรุณาลงลายมือชื่อตัวบรรจงไม่ใช่ลายเซ็น อนึ่ง กรณีคู่สมรสฝ่ายไทย กรุณาลงลายมือชื่อด้วยภาษาไทย(เขียนด้วยตัวอักษรไทยตัวบรรจงให้อ่านออกได้ ไม่ใช่ลายเซ็น) นอกจากนี้ กรณีชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตราประทับหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือ
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น(โคะเซกิโทฮ่ง) 2 ฉบับ
กรุณาตรียมมาอีก 1 ฉบับในกรณีหลังการสมรสมีการเปลี่ยนภูมิลำเนาจากภูมิลำเนาที่ตนอยู่
สำเนาทะเบียนครอบครัวต้องออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
- ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ → แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF - ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ → แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF
(B) กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ สำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น (เอกสารจำเป็นที่ระบุไว้ข้างล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น กรุณาสอบถามรายละเอียดโดยตรงที่สำนักทะเบียนเขต/ท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นที่จะแจ้งการจดทะเบียนสมรสก่อน)
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
- ใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส 2 ฉบับ → ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอจดทะเบียนสมรส
ใบคำร้องขอได้ที่เคาน์เตอร์ ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและเป็นใบคำร้องใช้สำหรับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นในต่างประเทศ ถ้าเป็นไปได้ กรุณาใช้ใบคำร้องฯ ที่ใช้ยื่นในประเทศญี่ปุ่น
การลงลายมือชื่อของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายในช่องลงลายมือชื่อของผู้ยื่นคำร้องฯ กรุณาลงลายมือชื่อตัวบรรจงไม่ใช่ลายเซ็น อนึ่ง กรณีคู่สมรสฝ่ายไทย กรุณาลงลายมือชื่อด้วยภาษาไทย(เขียนด้วยตัวอักษรไทยตัวบรรจงให้อ่านออกได้ไม่ใช่ลายเซ็น) นอกจากนี้ กรณีชาวต่างชาติก็ไม่จำเป็นต้องใช้ตราประทับหรือการพิมพ์ลายนิ้วมือ
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่น
- ทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิโทฮ่ง) 1 ฉบับ
ไม่จำเป็นหากยื่นที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นที่มีภูมิลำเนาอยู่ แต่กรุณาเตรียมไว้หากยื่นที่สำนักทะเบียนเขต/อำเภออื่นนอกเหนือจากภูมิลำเนาตน (เช่นใน พื้นที่ที่อาศัยอยู่หรือที่พำนักชั่วคราว) 1 ฉบับ
ทะเบียนครอบครัวซึ่งออกภายใน 3 เดือนนับถึงวันที่มายื่น
เอกสารจำเป็นของคู่สมรสฝ่ายไทย
- ใบสำคัญการสมรส (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ → แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF - ทะเบียนบ้าน (ตัวจริงและสำเนา 1 ชุด)
ฉบับแปลภาษาญี่ปุ่น 1 ฉบับ→ แบบการแปลภาษาญี่ปุ่น WORD / PDF
หมายเหตุ
ข้อแตกต่างของการแจ้งการจดทะเบียนสมรสแบบ (A) และ (B) คือ เวลาที่ใช้ในการบันทึกการสมรสลงในทะเบียนครอบครัว (โคะเซกิ)โดยการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (A) ต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนครึ่งถึงสองเดือน ในขณะที่การจดทะเบียนแบบ (B) ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ ดังนั้น คู่สมรสที่ต้องการใช้เวลาน้อย ควรเลือกการแจ้งการจดทะเบียนฯ แบบ (B)
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการแปลเอกสาร
หนังสือรับรองที่ออกโดยที่ว่าการเขต/อำเภอของประเทศไทยนั้นเป็นภาษาไทย ดังนั้นกรุณาแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเพื่อนำไปยื่น ณ สำนักทะเบียนเขต/อำเภอท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น
เอกสารฉบับแปลภาษาญี่ปุ่นนำไปยื่นที่ประเทศญี่ปุ่นได้โดยไม่จำเป็นต้องรับการประทับตรารับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
กรุณาระบุชื่อสกุลของผู้แปลลงในเอกสารฉบับคำแปลด้วย
(2) หลังจากแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว จะใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์ (กรณีแจ้งการจดทะเบียนฯ ที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยใช้เวลาเดือนครึ่งถึงสองเดือน) จึงได้รับทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย แล้วจึงถือว่าเสร็จสิ้นระเบียบการการแจ้งการจดทะเบียนสมรส ณ ประเทศญี่ปุ่น อนึ่ง กรณีแจ้งการจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยนั้นสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นและสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นจะไม่แจ้งให้คู่สมรสทราบเรื่องทะเบียนครอบครัวใหม่ซึ่งมีการบันทึกการสมรสกับคู่สมรสฝ่ายไทย ดังนั้น คู่สมรสฝ่ายญี่ปุ่นกรุณาสอบถามจากสำนักทะเบียนท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่นด้วยตนเอง
สถานที่ติดต่อสอบถาม
แผนกหนังสือรับรอง หนังสือเดินทาง ฝ่ายกงสุล สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2207-8501, 0-2696-3001 (ภาษาญี่ปุ่น)
E-mail: ryouji-soumu@bg.mofa.go.jp
แผนที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร
โทรศัพท์: 052-012500 ต่อ 102 (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย)
โทรสาร: 052-012515