คำถามข้อที่ 3. นายอันยง-บก เป็นคนอย่างไร?
2017/9/12
คำตอบข้อที่ 3.
ในปีค.ศ.1693 นายอันยง-บก ชายชาวเกาหลีซึ่งเดินทางข้ามไปทำประมงที่เกาะอุทซึเรียว (ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า “เกาะทะเคะชิมะ” ในเวลานั้น) และถูกพาตัวไปยังประเทศญี่ปุ่นโดยครอบครัวโอยะ และในปีค.ศ.1696 เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นด้วยตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อฟ้องร้องเขตการปกครองโทตโทริ แต่ทว่าหลังจากนั้นนายอันยง-บกถูกจับกุมและสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ของเกาหลี ในข้อหาเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ในการสอบสวนครั้งนี้ นายอันยง-บกได้ให้การว่าพบคนญี่ปุ่นรุกล้ำเขตแดนเข้ามายังเกาะอุทซึเรียว นอกจากนี้ยังให้การว่ามีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่บน “เกาะมัทสึชิมะ” หรือ “เกาะJasan” ซึ่งเขาได้บอกคนญี่ปุ่นเหล่านั้นว่าเกาะดังกล่าวเป็นดินแดนของเกาหลีเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้เอกสารของทางเกาหลีจึงบันทึกเชื่อมโยง “เกาะฮูซาน” กับ “เกาะทะเคะชิมะ” ในปัจจุบันเข้าด้วยกันภายหลัง สาธารณรัฐเกาหลี ได้ใช้คำให้การของนายอันยง-บก ณ เวลานั้น เป็นหนึ่งในหลักฐานเพื่ออ้างสิทธิในอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะ
คำให้การของอันยง-บกนี้ได้ถูกบันทึกไว้ใน จดหมายเหตุกษัตริย์ซุกจง (Annals of King Sukjong) เดือนกันยายนปีครองราชย์ที่ 22 ของพระองค์ (ค.ศ.1696) แต่ทว่าในจหมายเหตุเล่มเดียวกัน (ของเดือนกุมภาพันธ์ ในปีครองราชย์ที่ 23) ได้ระบุไว้ว่า อาณาจักรเกาหลีปฏิเสธความเกี่ยวข้องในการกระทำของนายอันยง-บก จึงสามารถยืนยันได้ว่าการกระทำของอันยง-บกนั้นไม่ถือเป็นตัวแทนของอาณาจักรเกาหลี (ดูข้อมูลเพิ่มเติม 1) นอกจากนี้ ยังมีหลายส่วนในคำให้การของนายอันยง-บกที่ขัดแย้งกับความเป็นจริง และขาดความน่าเชื่อถือ (ดูข้อมูลเพิ่มเติม 2)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 นายอันยง-บกไม่ได้เป็นตัวแทนของอาณาจักรเกาหลี
การกระทำของนายอันยง-บกนั้นไม่ถือเป็นตัวแทนของทางอาณาจักรเกาหลีดังรายละเอียดต่อไปนี้
การเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นของนายอันยง-บกได้ถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุกษัตริย์ซุกจงซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เจ้าหน้าที่ของทางการDongnae นายYi (Sejae) ได้ขอพระราชทาน กราบทูลฝ่าพระบาทต่อกษัตริย์ซุกจง เรื่อง ทูตจากเขตปกครองทซึชิมะ ได้สอบถามว่าเมื่อปีที่ผ่านมามีคนจากอาณาจักรเกาหลีมีความต้องการจะฟ้องร้องพวกเรา นี่เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์หรือไม่? ซึ่งนายYiได้ตอบคำถามของทูตผู้นั้นไปดังต่อไปนี้ “หากมีเรื่องที่ต้องการร้องเรียนทางเราจะส่งล่ามไปยังเอโดะ ไม่มีเหตุผลที่ทางเราจะส่งชาวประมงไป” ทางสภาความมั่นคงชายแดนแห่งโชซอน (The Border Defence Counsil of Joseon)ได้ระบุไว้ว่า “ทางการอาณาจักรเกาหลีไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้โง่เขลาที่ลู่ลอยไปตามลม” ซึ่งคำตอบนี้ได้รับพระราชวินิจฉัยจากทางพระมหากษัตริย์ และได้ถูกส่งต่อไปยังทูตแห่งเขตปกครองทซึชิมะ (จากปีซุกจงที่23)
คำปฏิเสธของอาณาจักรเกาหลีได้ส่งถึงประเทศญี่ปุ่นผ่านทางจดหมายจาก Yi Seon-bak, Deputy Vice-Minister for Protocol ถึงขุนนางผู้ปกครองเขตการปกครองทซึชิมะ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
“เรื่องของชายผู้ที่ล่องเรือขึ้นฝั่งเมื่อปีที่ผ่านมา เขาใช้ชีวิตอยู่ตามริมชายหาดและประทังชีวิตการล่องเรือ ประสบพบกับลมพายุ จึงถูกคลื่นลมพัดจนมาถึงประเทศของท่าน หากมีคำร้องเรียนจากเขา ให้ถือว่าเขาได้ก่ออาชญากรรมปลอมแปลงเอกสารขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทางอาณาจักรเกาหลีจึงได้เนรเทศชายคนดังกล่าวตามกฎหมายแล้ว”
หมายเหตุ เขตการปกครองทซึชิมะเป็นช่องทางในการติดต่อทางการทูตและการค้าขายอย่างกับอาณาจักรเกาหลีในยุคสมัยเอโดะ
อนึ่ง เรือที่นายอันยง-บกโดยสาร ติดธงที่เขียนไว้ว่า “ผู้ตรวจการเก็บภาษีเกาะอุทซึเรียวทั้งสองเกาะแห่งโชซอน ข้าหลวงอันยง-บกโดยสาร” นอกจากนี้นายอันยง-บก อ้างชื่อตัวเองว่า “ผู้ตรวจการภาษีแห่งเกาะอุทซึเรียวและฮูซาน” ซึ่งเป็นการสร้างเรื่องขึ้น อีกทั้งนายอันยง-บกเองก็ได้ยอมรับว่าตำแหน่งที่ว่านั้นเป็นเรื่องโกหก ตำแหน่ง “ผู้ตรวจภาษี” หรือ “ผู้ตรวจการภาษี” ที่นายอันยง-บกกล่าวอ้างขึ้นนั้นคือเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เก็บภาษีจากเกาะอุทซึเรียวและฮูซาน โดยเขาเข้าใจว่าเกาะฮูซานนั้นเป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
ข้อเพิ่มเติม2 ความน่าเชื่อถือของคำให้การของนายอันยง-บก
คำให้การของนายอันยง-บกมีข้อขัดแย้งอยู่หลายจุด ซึ่งทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ นายอันยง-บกได้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ.1693 เขาถูกพาตัวมายังประเทศญี่ปุ่นเพื่อพิสูจน์ว่ารอบเกาะอุทซึเรียว (ในประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า “เกาะทะเคะชิมะ” ณ เวลานั้น) ไม่สามารถทำการประมง ครั้งที่สองคือ ปีค.ศ.1696 ครั้งนี้เขาแอบลักลอบเข้าประเทศญี่ปุ่นเพื่อฟ้องร้องต่อเขตปกครองโทตโทริ และได้ถูกเนรเทศออกจากเขตปกครองโทตโทริ คำให้การของนายอันยง-บกถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุของกษัตริย์ซุกจง ซึ่งคำให้การนี้ถูกบันทึกขึ้นในขณะที่เขาถูกสอบสวนโดย The Border Defence Counsil of Joseon หลังจากที่ถูกเนรเทศกลับประเทศ ได้ข้อสรุปว่า เมื่อครั้งที่เขาเดินทางมาเยือนประเทศญี่ปุ่นในครั้งแรก และได้รับหนังสือจากรัฐบาลโชกุน ระบุว่า เกาะอุทซึเรียวและเกาะฮูซาน เป็นดินแดนของอาณาจักรเกาหลี แต่ขุนนางผู้ปกครองเขตการปกครองทซึชิมะยึดหนังสือฉบับนั้นไป แต่ทว่าในข้อเท็จจริงการเริ่มต้นเจรจาระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับอาณาจักรเกาหลีในเรื่องการทำประมงในบริเวณเกาะอุทซึเรียวเริ่มต้นขึ้นหลังจากการคุมตัวนายอันยง-บกมายังประเทศญี่ปุ่น และเนรเทศกลับอาณาจักรเกาหลีโดยผ่านเขตปกครองทซึชิมะ ด้วยเหตุนี้ ก่อนที่การเจรจาจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อครั้งที่เขาเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่นในปีค.ศ.1963 จึงไม่มีการมอบหนังสือใดๆที่ยอมรับการครอบครองเกาะอุทซึเรียวและเกาะฮูซานของอาณาจักรเกาหลีจากรัฐบาลโชกุนโทกุกาวะ
นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคมปีค.ศ.1696 เมื่อนายอันยง-บกเดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น เขาเล่าว่ามีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากอยู่บนเกาะอุทซึเรียว แต่ทว่าในช่วงเดือนมกราคมปีเดียวกันนั้น รัฐบาลโชกุนมีคำสั่งห้ามเดินทางข้ามไปยังเกาะอุทซึเรียว และแจ้งไปยังจังหวัดทตโทริ จึงทำให้ใบอนุญาตการเดินทางทางทะเลที่มอบให้แก่ครอบครัวโอยะและครอบครัวมุราคาวะนั้นถูกเพิกถอน ทางสาธารณรัฐเกาหลีโต้แย้งโดยอ้างคำให้การของนายอันยง-บกว่า การเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่นในปีค.ศ.1696 เป็นสาเหตุที่ทำให้รัฐบาลโชกุนออกคำสั่งห้ามชาวญี่ปุ่นเดินทางข้ามไปยังเกาะอุทซึเรียว แต่นายอันยง-บกเดินทางมาถึงประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่รัฐบาลโชกุนได้ออกคำสั่งห้ามเดินทางข้ามไปยังเกาะอุทซึเรียว 4 เดือนแล้ว
นายอันยง-บกได้ถูกสอบสวนหลังจากเดินทางกลับไปยังอาณาจักรเกาหลี คำให้การของเขาได้บันทึกคำพูดที่เขาอ้างว่าพูดต่อชาวญี่ปุ่นไว้ว่า “เกาะมัตสึชิมะ คือ เกาะJasan (ฮูซาน) ดังนั้นจึงเป็นดินแดนของประเทศเรา ทำไมพวกท่านถึงกล้ามาอาศัยอยู่?” แต่ทว่าในปีนั้นไม่มีชาวญี่ปุ่นเดินทางไปยังเกาะอุทซึเรียว ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่เป็นความจริง อนึ่ง ดูเหมือนว่าอันยง-บกจะเชื่อว่าผู้คนสามารถอาศัยอยู่บนเกาะฮูซานได้ ในปีค.ศ.1693 ในขณะที่เขาทำการประมงอยู่ในบริเวณเกาะอุทซึเรียว ได้คำบอกเล่าจากเพื่อนว่าเกาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของอุทซึเรียวคือ “เกาะฮูซาน” และเมื่อเขาถูกควบคุมตัวมายังประเทศญี่ปุ่นเขาได้ให้การว่าเห็น “เกาะที่ มีขนาดใหญ่มากมายกว่าเกาะอุทซึเรียวหลายเท่า” การที่นายอันยง-บกเข้าใจว่า มัทซึชิมะ คือ เกาะJasan (ฮูซาน)” สันนิษฐานว่าเป็นผลมาจาก ในระหว่างการถูกควบคุมตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปีค.ศ.1693 เข้าได้รู้จักชื่อ “เกาะมัทซึชิมะ” (ปัจจุบันคือ “เกาะทะเคะชิมะ”) และนำมาประติดประต่อกับความรู้ดั้งเดิมเกี่ยวกับ “ฮูซาน” ของอาณาจักรเกาหลี อย่างไรก็ตามการกล่าวว่า “เกาะมัทซึชิมะ คือ “เกาะJasan (ฮูซาน)” เป็นเพียงในแง่มุมของชื่อเรียกเท่านั้นแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเกาะทะเคะชิมะในปัจจุบันแม้แต่น้อย
- การตระหนักรับรู้ถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะ (การตระหนักรับรู้ถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะในสาธารณรัฐเกาหลี)
- การห้ามไม่ให้เดินทางข้ามไปยังเกาะอุทซึเรียว (บันทึกคำให้การของนายอันยง-บก และจุดที่ยังเป็นข้อสงสัย)