การตระหนักรับรู้ถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะ

2017/9/6
“Kaisei Nippon Yochi Rotei Zenzu (แผนที่แสดงพื้นที่และเส้นทางคมนาคมของญี่ปุ่น : Complete Map of Japanese Lands and Roads) ฉบับปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์ (ค.ศ. 1846) (เก็บรักษา ณ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมจิ)
แผนที่เกาะทะเคะชิมะ (ประมาณ ค.ศ. 1724) (เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑ์จังหวัดโทตโตริ)
 

การตระหนักรับรู้ถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะในประเทศญี่ปุ่น


          1. ณ ประเทศญี่ปุ่น “เกาะทะเคะชิมะ” ในปัจจุบัน เคยถูกเรียกว่า “เกาะมัทสึชิมะ” ในขณะเดียวกัน “เกาะอุทซึเรียว” เคยเป็นที่รู้จักในชื่อว่า “ทะเคะชิมะ” หรือ “อิโซะทะเคะชิมะ” (Isotakeshima) (ภาพที่ 1) ถึงแม้ว่าจะเกิดความสับสนในชื่อของเกาะทะเคะชิมะและเกาะอุทซึเรียวในช่วงระยะหนึ่งอันเนื่องมาจากความผิดพลาดในการสำรวจทำแผนที่เกาะอุทซึเรียวของนักสำรวจชาวยุโรป อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นตระหนักและรับรู้ถึงการมีอยู่ของ “เกาะทะเคะชิมะ” และ “เกาะมัทสึชิมะ” มาตั้งแต่อดีต ซึ่งสามารถยืนยันได้จากแผนที่และเอกสารต่างๆ หลากหลายฉบับ ซึ่งระบุตำแหน่งของ “เกาะอุทซึเรียว” และ “เกาะทะเคะชิมะ ว่าอยู่ระหว่าง คาบสมุทรเกาหลีกับหมู่เกาะโอคิ ตัวอย่างเช่น “แผนที่ Kaisei Nippon Yochi Rotei Zenzu (แผนที่แสดงพื้นที่และเส้นทางคมนาคมของญี่ปุ่น : Complete Map of Japanese Lands and Roads) ฉบับปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์” ซึ่งเป็นแผนที่ที่โดดเด่นที่สุดประเทศญี่ปุ่นที่มีลักษณะโครงข่าย “กราติคูล (Graticule)” โดย นายนะงะคุโบะ เซกิซุย (Nagakubo Sekisui) พิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1779
ภาพที่ 1 วิธีการเรียกชื่อมาตั้งแต่ในอดีต
ภาพที่ 2 วิธีการเรียกในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
         

2. ในปี ค.ศ. 1787 Jean-Francois de Galaup, Comme de La Perouse นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ได้เดินเรือมาถึงเกาะอุทซึเรียว และได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “Dagelet” จากนั้น ในปี ค.ศ. 1789 James Colnett นักสำรวชาวอังกฤษได้เดินเรือมาถึงเกาะอุทซึเรียวเช่นกัน และตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “Argonaut” แต่ทว่า ตำแหน่งเส้นละจิจูดและลองติจูด “เกาะอุทซึเรียว” ที่กำหนดบนแผนที่ของ Jean-Francois de Galaup, Comme de La Perouse กับแผนที่ของ James Colnett มีความคลาดเคลื่อนกัน จึงทำให้หลังจากนั้น แผนที่ซึ่งเขียนขึ้นในทวีปยุโรป ระบุตำแหน่งของเกาะอุทซึเรียว ออกเป็นสองเกาะแยกออกจากกัน (ภาพที่ 2)

        3. นายแพทย์ Philipp Franz von Siebold ซึ่งเคยใช้ชีวิตอยู่บนเกาะเดะจิมะ (Dejima) จังหวัดนางาซากิ ได้จัดทำแผนที่ ประเทศญี่ปุ่นขึ้นในทวีปยุโรป (ค.ศ. 1840) นายแพทย์คนนี้ทราบข้อมูลจากเอกสารและแผนที่หลากหลายฉบับของประเทศญี่ปุ่น ว่ามี “เกาะทะเคะชิมะ” (หรือ ชื่อ “เกาะอุทซึเรียว” ในสมัยเอโดะ) และ “เกาะมัทสึชิมะ” (ชื่อเรียกเกาะทะเคะชิมะในปัจจุบันในสมัยเอโดะ) จากด้านทิศตะวันตกอยู่ในตำแหน่งระหว่างคาบสมุทรเกาหลีและหมู่เกาะโอคิ นอกจากนี้ ยังทราบข้อมูลจากแผนที่ของยุโรปว่าจากทิศตะวันตกมี “เกาะ Argonaut” และ “เกาะ Dagelet” สองเกาะเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ แผนที่ของนายแพทย์ Philipp Franz von Siebold ซึ่งระบุไว้ว่า “เกาะ Argonaut” คือ “เกาะเทะคะชิมะ (Takashima)” และ “เกาะ Dagelet” คือ “เกาะมัทสึชิมะ” (ภาพที่ 2) ยิ่งสร้างความสับสนในการเรียกชื่อจาก “เกาะอุทซึเรียว” เป็น “เกาะมัทสึชิมะ” ทั้งที่จนถึงในขณะนั้นถูกเรียกว่า “เกาะทะเคะชิมะ” หรือ “เกาะอิโซะทะเคะชิมะ มาอย่างต่อเนื่อง

        4. ด้วยความรู้เกี่ยวกับ “เกาะทะเคะชิมะ” และ “เกาะมัทสึชิมะ” ซึ่งมีมาตั้งแต่ในอดีต ภายในประเทศญี่ปุ่น และหลังจากนั้น ได้เกิดความสับสนของชื่อเกาะที่มาจากชาวตะวันตก ในช่วงนี้เองประชาชนชาวญี่ปุ่นซึ่งสามารถมองเห็นเกาะ “มัทสึชิมะ” ได้ในระยะไกล ได้ร้องขอต่อรัฐบาลญี่ปุ่น ให้ช่วยพัฒนาเกาะดังกล่าว  รัฐบาลจึงจัดให้มีการสำรวจภาคสนามในปี ค.ศ.1880 เพื่อค้นหาความกระจ่างชัดที่เชื่อมโยงกับชื่อของเกาะต่างๆ และมีการสรุปยืนยันว่า “เกาะมัทสึชิมะ” ที่ประชาชนได้มีการร้องขอให้พัฒนา แท้จริงแล้วคือ “เกาะอุทซึเรียว”
 
        5. ด้วยความสับสนตามที่ได้กล่าวมาในข้างต้นจึงมีการเปลี่ยนชื่อเรียก “เกาะอุทซึเรียว” เป็น “เกาะมัทสึชิมะ” จึงทำให้เกิดปัญหาการเรียกชื่อ “เกาะทะเคะชิมะ” (ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทำการสอบถามความคิดเห็นของจังหวัดชิมาเนะ ได้มีการเปลี่ยนชื่อที่เคยเรียกมาทั้งหมดของ “เกาะทะเคะชิมะ (ในปัจจุบัน)” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1905 มาจนถึงปัจจุบัน ให้เป็นชื่อ “เกาะทะเคะชิมะ” ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการ
 

 
“The Map of Eight Provinces of Korea” (ฉบับสำเนา) ที่แนบใน “ชินซึง ดงกุก ยอจี ซึงนัม (Sinjeung Dongguk Yeoji Seungnam) : การสำรวจเพิ่มทางด้านภูมิศาสตร์เกาหลีฉบับแก้ไขปรับปรุง (Revised and Augmented Edition of the Survey of the Geography of Korea)” (เก็บรักษา ณ National Archives of Japan)

การตระหนักถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะในสาธารณรัฐเกาหลี

        
        1. ไม่ปรากฎหลักฐานใดๆที่บ่งบอกว่า สาธารณรัฐเกาหลีตระหนักรับรู้ว่ามีเกาะทะเคะชิมะมาตั้งแต่ในอดีต ดังตัวอย่างที่สาธารณรัฐเกาหลีกล่าวอ้างถึงข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในตำราโบราณของชาวเกาหลี เช่น “บันทึกทางประวัติศาสตร์ของ Samguk Sagi (History of the Three Kingdoms ค.ศ. 1145)” , “เซจง ซิลลก จิริจิ (Sejong Sillok Jiriji) : ภาคผนวกส่วนภูมิศาสตร์ในบันทึกข้อเท็จจริงของกษัตริย์เซจง (Geographical Appendix to the Veritable Records of King Sejong ค.ศ.1454)” , “ชินซึง ดงกุก ยอจี ซึงนัม (Sinjeung Dongguk Yeoji Seungnam) : การสำรวจเพิ่มทางด้านภูมิศาสตร์เกาหลีฉบับแก้ไขปรับปรุง (Revised and Augmented Edition of the Survey of the Geography of Korea ค.ศ.1531)” , “ดงกุก มุนฮอน บิโก (Dongguk Munheon Bigo) : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี (Reference Compilation of Documents on Korea ค.ศ. 1770)” ,  “มัน-กี โยรัม (Man'gi Yoram) :  ตำรารัฐกิจสำหรับกษัตริย์ (Manual of State Affairs for the Monarch ค.ศ.1808)” และ “จงโบ มุนฮึน บิโก (Jeungbo Munheon Bigo) : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม (Revised and Augmented Reference Compilation of Documents on Korea ค.ศ.1908) เป็นต้น ต่างระบุว่าชาวเกาหลีตระหนักรับรู้มาตั้งแต่ในอดีตว่ามี “เกาะอุทซึเรียว” และ “เกาะฮูซาน (Usan)” อยู่ทั้งสองเกาะ และอ้างว่า “เกาะฮูซาน” คือ “เกาะทะเคะชิมะ” ในปัจจุบัน

        2. แต่ทว่า จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของ “Samguk Sagi” มีเนื้อหาบรรยายถึง “เกาะอุทซึเรียว” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอูซันกุก (Usan Country) ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรซิลลา (Silla) ในปี ค.ศ. 512 แต่ไม่ได้มีการบันทึกเกี่ยวกับ “เกาะฮูซาน” นอกจากนี้ ในตำราและเอกสารโบราณของเกาหลีฉบับอื่นๆ ได้บันทึกถึง “เกาะฮูซาน” ว่าเป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีการเพาะปลูกต้นไผ่จำนวนมาก เป็นต้น ซึ่งดูไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่แท้จริงของเกาะทะเคะชิมะ แต่มีลักษณะสอดคล้องกับ “เกาะอุทซึเรียว” มากกว่า

        3. นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลีอ้างว่า ใน “ดงกุก มุนฮอน บิโก : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี (Reference Compilation of Documents on Korea)”, “มัน-กี โยรัม : ตำรารัฐกิจสำหรับกษัตริย์ (Manual of State Affairs for the Monarch)” และ “จงโบ มุนฮึน บิโก : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม (Revised and Augmented Reference Compilation of Documents on Korea)” ได้อ้างอิงเนื้อหาจาก “Yeojiji” (บันทึกทางภูมิศาสตร์ : Record of Geography) ซึ่งระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “เกาะฮูซาน” คือ “เกาะดกโด” (ชื่อของเกาะทะเคะชิมะในภาษาเกาหลี) เนื่องจากในบันทึกระบุไว้ว่า “เกาะฮูซาน” เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “เกาะมัทสึชิมะ” ในทางกลับกัน มีการศึกษาวิจัยเชิงวิพากย์วิจารณ์ ชี้ให้เห็นว่า บันทึกทางภูมิศาสตร์ “Yeojiji” ซึ่งเป็นต้นฉบับในการอ้างอิงได้ระบุว่า “เกาะฮูซาน” กับ “เกาะอุทซึเรียว” นั้นเป็นเกาะเดียวกัน แต่เนื้อหาในเอกสาร อย่างเช่น “ดงกุก มุนฮอน บิโก : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี (Reference Compilation of Documents on Korea)” ไม่ได้อ้างอิงเนื้อหาอย่างถูกต้องจากบันทึกทางภูมิศาสตร์ “Yeojiji” โดยตรง ในการศึกษาวิจัย ยังระบุว่า เอกสาร อย่างเช่น “ดงกุก มุนฮอน บิโก : การรวบรวมเอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี (Reference Compilation of Documents on Korea)” ได้อ้างอิงเนื้อหามาจาก Ganggyego” (การศึกษาเรื่องเขตแดนของชาติ : Study of National Boundaries ค.ศ. 1756) ซึ่งอ้างอิงเนื้อหาจากบันทึกคำให้การของชายชื่อ อันยง-บก (Ahn Yong-bok) โดยปราศจากการวิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือและนัยสำคัญ

        4.  อนึ่ง แผนที่ซึ่งแนบอยู่ใน “ชินซึง ดงกุก ยอจี ซึงนัม (Sinjeung Dongguk Yeoji Seungnam) : การสำรวจเพิ่มทางด้านภูมิศาสตร์เกาหลีฉบับแก้ไขปรับปรุง (Revised and Augmented Edition of the Survey of the Geography of Korea ค.ศ.1531)” ได้เขียนภาพ “เกาะฮูซาน” และ “เกาะอุทซึเรียว” แยกออกจากกันเป็นสองเกาะ แต่ทว่า หากสาธารณรัฐเกาหลีอ้างว่า “เกาะฮูซาน” คือ “เกาะทะเคะชิมะ” ภาพในแผนที่ต้องเขียนเกาะนี้ในขนาดที่เล็กกว่า “เกาะอุทซึเรียว” อีกทั้ง เกาะนี้ต้องอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของ “เกาะอุทซึเรียว” ด้วยเช่นกัน แต่ทว่า แผนที่นี้ เขียนภาพเกาะ “ฮูซาน” ในขนาดที่ใหญ่เกือบเท่ากับ “เกาะอุทซึเรียว” ยิ่งไปกว่านั้น เกาะนี้ยังอยู่ในตำแหน่งระหว่างคาบสมุทรเกาหลีกับเกาะอุทซึเรียว (ด้านทิศตะวันตกของเกาะอุทซึเรียว) ซึ่งสามารถทำให้เข้าใจได้ว่าไม่มีเกาะที่วาดขึ้นนี้อยู่จริง