แผนกกงสุล

2025/3/25

ระเบียบการออกเอกสาร (ใบรับรอง) ประเภทต่างๆ

ภาษาญี่ปุ่น

 

   

หน่วยงานที่นำไปยื่น รายชื่อใบรับรอง เนื้อหาของใบรับรอง
หน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น 1 ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)  เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทย ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว)
2 ใบรับรองตราประทับชื่อ (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) เป็นการรับรองตราประทับชื่อที่ได้ทำการบันทึกไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว
3 ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) เป็นการรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ของผู้ยื่นเอกสาร ใช้แทนใบรับรองตราประทับชื่อ
4 ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) (สำหรับผู้ที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่น) เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยสำหรับผู้ที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่น ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว)
หน่วยงานในประเทศไทย 5 ใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองข้อมูลบุคคลโดยนำข้อมูลที่จำเป็นจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ) มาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
6 ใบรับรองคำแปล (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองคำแปลภาษาอังกฤษของเอกสาร (ภาษาญี่ปุ่น) ที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นว่าถูกต้อง
7 ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองลายมือชื่อของผู้ยื่นซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่าข้อความในเอกสารส่วนบุคคลนั้นเป็นความจริงทุกประการ
8 ใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองตราประทับของหน่วยงาน (และตราประทับลายมือชื่อ) ที่ออกเอกสารนั้นๆ โดยเอกสาร (ภาษาอังกฤษ) นั้นต้องเป็นเอกสารของหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ
9 ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองข้อมูลที่จำเป็นในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย
10 ใบรับรองการรับเงินบำนาญจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น (ใช้ในการขอต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย (non-immigrant visa) แสดงว่าผู้ที่ได้รับเงินบำนาญนั้นไม่มีจุดประสงค์จะทำงานในประเทศไทย)
11 ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยที่ได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว
12 ใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน (ฉบับภาษาอังกฤษ) เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทยในขณะที่เคยอยู่ในประเทศไทยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่กลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้วหรือย้ายไปประจำประเทศอื่น
13 ใบรับรองประวัติอาชญากรรม (ฉบับภาษาญี่ปุ่น・อังกฤษ・ฝรั่งเศส・เยอรมัน・โปรตุเกสในหน้าเดียวกัน) เป็นการรับรองว่าเคยมีประวัติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่
ศุลกากรในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย 14 ใบรับรองอัฐิหรือศพ (ฉบับภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษในหน้าเดียวกัน) เป็นการรับรองอัฐิหรือศพของชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย เพื่อนำไปใช้ในการผ่านขั้นตอนทางศุลกากรในการนำอัฐิหรือศพกลับไปประเทศญี่ปุ่น
ข้อควรระวังในการยื่นขอเอกสารและการรับเอกสาร (ใบรับรอง) ต่างๆ
เวลาทำการ ติดต่อสอบถาม

1.ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทย ใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว)

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  2. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
  3. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการย้ายโรงเรียน หรือการสมัครสอบเข้าเรียนที่ต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  4. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  5. เพื่อใช้ดำเนินเรื่องการรับเงินบำนาญต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  6. อื่นๆ

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

  1. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
  2. ต้องมีเอกสารยืนยันที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยเพื่อแสดงว่ามีการพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยจริง
  3. ต้องเป็นผู้พำนักอาศัยหรือมีกำหนดการอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
  4. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ)

(หมายเหตุ)

  • “ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย” ที่มีจุดประสงค์จะใช้ในประเทศไทยนั้น (รวมถึงที่จะใช้ที่สถานเอกอัครราชทูตอื่นประจำประเทศต่างๆ) ให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ "11. ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ) "
  • สำหรับผู้ยื่นที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่นมาก่อนนั้นให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ "4. ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) "

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

  1. ใบคำร้องขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น) : 1 ฉบับ (กรุณากรอกใบคำร้องตามจำนวนที่ต้องการ) (กรุณาเลือกกรอกใบคำร้องรูปแบบที่ 1-1 รูปแบบที่ 1-2 หรือรูปแบบที่ 2 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้)
    1. รูปแบบที่ 1-1   :    กรณีรับรองเฉพาะผู้ยื่นคำร้องและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ยื่นคำร้องเท่านั้น
      • รูปแบบใบคำร้องที่1-1 →EXCEL PDF
      • (รูปแตัวอย่างการกรอกรูปแบบใบคำร้องที่1-1 →EXCEL PDF)
    2. รูปแบบใบคำร้องที่1-2   :   กรณีทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ (สำหรับผู้ที่ใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญส่วนบุคคล เงินบำนาญภาคธุรกิจองค์กร เงินสวัสดิการกองทุนรวมข้าราชการหรือหน่วยงานอื่นๆนั้น กรุณาเลือกรูปแบบที่ 1-1)
      • รูปแบบใบคำร้องที่ 1-2 (ใช้ในการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ) →EXCEL PDF
      • (ตัวอย่างการกรอกรูปแบบใบคำร้องที่ 1-2 (ใช้ในการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ)  →EXCEL PDF)
    3. รูปแบบที่ 2   :   กรณีรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันของเจ้าบ้านและสมาชิกในครอบครัว (สำหรับผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นเท่านั้น) หรือ กรณีจำเป็นต้องรับรองประวัติการพำนักอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่เข้าประเทศไทย
      • รูปแบบใบคำร้องที่ 2 →EXCEL PDF
      • (ตัวอย่างการกรอกรูปแบบใบคำร้องที่ 2 →EXCEL PDF)
  2. หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง  (ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1 ฉบับ
    • ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียด รวมทั้งหน้าตราประทับวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยที่ยังมีอายุการใช้งาน
    • สำหรับเอกสารรูปแบบที่ 2 ที่ต้องการรับรองบุคคลในครอบครัวด้วยนั้น กรุณายื่นหนังสือเดินทางของสมาชิกในครอบครัวเพิ่ม
  3. เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย   :  ต้องมีการระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา)     (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
    • เช่น ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค สัญญาเช่าบ้าน/อพาร์ตเมนท์ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย เป็นต้น
  4. เอกสารรับรองการรับเงินบำนาญ หรือไปรษณียบัตรแจ้งผู้มีสิทธิ์รับเงินบำนาญ  (ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1ฉบับ
    • กรณีใช้เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ กรุณานำมาแสดง ทั้งนี้เพื่อได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
  5. ใบมอบอำนาจ   :   1ฉบับ  
    • ใช้ในกรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทนเพื่อขอใบรับรอง รูปแบบที่ 1-1 และรูปแบบที่ 1-2
    • กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ และผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร เป็นต้น) มายื่นแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
    • รูปแบบใบมอบอำนาจ →WORD PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบมอบอำนาจ →WORD PDF)
  6. ใบแจ้งเจตจำนง   :   1ฉบับ 
    • การยื่นคำร้องขอใบรับรองรูปแบบที่ 2 กรณีที่สมาชิกในครอบครัวมายื่นแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ใบมอบอำนาจแต่จำเป็นต้องยื่นใบแจ้งเจตจำนง
    • รูปแบบใบแจ้งเจตจำนง →WORD PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบแจ้งเจตจำนง →WORD PDF)

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
    • (ข้อควรระวัง) การยื่นขอใบรับรองเพื่อนำไปใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ หากนำใบรับรองการรับเงินบำนาญ หรือไปรษณียบัตรแจ้งผู้มีสิทธิ์รับเงินบำนาญ และอื่นๆ ที่ออกโดยหน่วยงานที่ญี่ปุ่นที่เรียกว่า Japan Pension Service (เดิมคือ Social Insurance Agency) หรืออื่นๆมาแสดง จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม
      อนึ่ง การยื่นขอใบรับรองเพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญส่วนบุคคล เงินบำนาญภาคธุรกิจองค์กร เงินสวัสดิการกองทุนรวมข้าราชการ หรือเงินสวัสดิการที่ได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการสังคม สำนักงานตรวจสอบมาตรฐานแรงงาน หรือ กระทรวงศึกษาธิการ และอื่นๆ ไม่สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมได้

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • โดยข้อปฏิบัตินั้นในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเอง แต่ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นสามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้แต่ทั้งนี้ต้องมีใบมอบอำนาจหรือใบแจ้งเจตจำนงมาแสดง ส่วนการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ) ในกรณียื่นเพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการรับเงินบำนาญ เงินสวัสดิการ เงินตอบแทนจากภาครัฐ เจ้าตัวต้องมายื่นด้วยตนเองเท่านั้น
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

2.ใบรับรองตราประทับชื่อ (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

เป็นการรับรองตราประทับชื่อที่ทำการบันทึกไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  2. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
  3. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  4. อื่นๆ

 

2 (1) การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

  1. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่นอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  2. ต้องเป็นผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
  3. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ)
  4. มีหลักฐานเป็นเอกสารยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
  5. ไม่มีการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อตนไว้ที่สำนักงานเขตต่างๆในประเทศญี่ปุ่น หรือสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศอื่นๆ
    (หมายเหตุ: หากมีการแจ้งย้ายถิ่นฐานในประเทศญี่ปุ่น การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อก็จะถูกลบในประเทศญี่ปุ่นไปโดยปริยาย)

 

เอกสารที่จำเป็นในการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

  1. ใบคำร้องในการขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ   :   1 ฉบับ
    • ใบคำร้อง →EXCEL PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ  →EXCEL PDF)
  2. เอกสารต้นฉบับแสดงตราประทับชื่อ (ที่เรียกว่า เกมเปียว)   :   1 ฉบับ 
    • ใบกรอกเอกสารต้นฉบับแสดงตราประทับชื่อ (ที่เรียกว่า เกมเปียว)  →EXCEL PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกเอกสารต้นฉบับแสดงตราประทับชื่อ (ที่เรียกว่า เกมเปียว)  →EXCEL PDF)
  3. ตราประทับชื่อที่จะทำการลงทะเบียน   :   รูปลักษณ์ตราประทับที่สามารถลงทะเบียนได้ต้องมีขนาดใหญ่ไม่เกิน 25 มิลลิเมตรของรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ห้ามมีขนาดเล็กกว่า 8 มิลลิเมตร
     *ตราประทับชื่อที่ไม่ชัดเจน หรือตรายางประทับที่สามารถเปลี่ยนรูปได้ไม่สามารถทำการลงทะเบียนบันทึกได้
  4. หนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
  5. เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ต้องระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนตราประทับชื่อ)
    • เช่น ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค สัญญาเช่าบ้าน/อพาร์ตเมนท์ที่ระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบัน ของผู้ที่จะทำการลงทะเบียนตราประทับชื่อ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย ใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย เป็นต้น
  6. เอกสารที่ยืนยันได้ว่าไม่ได้มีการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้สองแห่ง (กล่าวคือ ไม่ได้มีการลงทะเบียนตราประทับชื่อไว้ในประเทศญี่ปุ่นหรือที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศอื่นใด)
    1. กรณีที่มีการย้ายที่พำนักอาศัยล่าสุดออกจากที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นแต่ยังไม่เกิน 5 ปี   :  กรุณานำใบแสดงการลบทะเบียนบ้านที่ประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า จือมิงเฮียว โนะ โจะเฮียว) หรือ ใบแนบที่แสดงทะเบียนครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า โคะเซกิ โนะ ฟุเฮียว) มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
    2. กรณีที่มีการย้ายที่พำนักอาศัยล่าสุดออกจากที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นเกิน 5 ปีขึ้นไป   :   กรุณานำใบแนบที่แสดงทะเบียนครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่า โคะเซกิ โนะ ฟุเฮียว) มายื่นที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
    3. กรณีที่ผู้ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อย้ายมาจากประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นมาประจำประเทศไทย และเคยทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้กับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศนั้น   :   กรุณานำสำเนาการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อที่ออกจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น (หรือสถานกงสุลญี่ปุ่น) ประจำประเทศนั้น มายื่นให้สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
    4. บัตร My Number ที่หมดอายุแล้ว และ มีการบันทึกว่า "แจ้งย้ายออกนอกประเทศ"  ตัวจริงพร้อมสำเนา

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

  • เจ้าตัวผู้ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น

 

2 (2) การออกใบรับรองตราประทับชื่อ

*ผู้ที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้ไม่สามารถขอใบรับรองตราประทับชื่อได้
*สามารถขอใบรับรองตราประทับชื่อพร้อมกับลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อในวันเดียวกันได้

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองตราประทับชื่อ

  1. ใบคำร้องขอใบรับรองตราประทับชื่อ   :   1 ฉบับ
    • ใบคำร้อง→EXCEL PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรองตราประทับชื่อ→EXCEL PDF)
  2. ตราประทับชื่อตัวที่ทำการบันทึกไว้แล้ว
  3. หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง  (ตัวจริงพร้อมสำเนา 1 ฉบับ)
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองตราประทับชื่อ

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับใบรับรองตราประทับชื่อ

  • ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

2 (3) การยื่นแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา / การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

*กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลังจากได้ทำการขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อไว้แล้ว หรือกรณีที่ต้องการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อเมื่อต้องกลับประเทศญี่ปุ่นหรือย้ายไปประจำประเทศอื่น

เหตุผลในการขอยื่นแจ้ง

  1. เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตราประทับชื่อทำให้ตราประทับไม่ชัดเจน
  2. เมื่อตราประทับชื่อสูญหาย
  3. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัย (ในประเทศไทย)
  4. เมื่อมีการเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ที่ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ
  5. ต้องการยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อเมื่อต้องกลับประเทศญี่ปุ่น (หรือย้ายไปประจำประเทศอื่น)

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

  1. ใบคำร้องในการขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา / การขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ   :   1 ฉบับ 
    • ใบคำร้องในการขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา / การขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อEXCEL PDF
    •  (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา / การขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ→EXCEL PDF
  2. หนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ยื่นคำร้อง
  3. อื่นๆ
    1. ตราประทับชื่ออันใหม่ (กรณีเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นกับตราประทับชื่อตน หรือ เมื่อตราประทับชื่อตนสูญหาย)
    2. ใบแจ้งขอเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (เรียกว่า ไซริวโทโดเขะ โนะ  จือโฉะเฮงโค โทโดเขะ)  (กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่พำนักอาศัยในประเทศไทย)
    3. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นของตนฉบับใหม่ที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร (กรณีเมื่อมีการเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้ที่ยื่นขอลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ)

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนขอแจ้งเปลี่ยนแปลงเนื้อหา・การยื่นขอยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อ

  • เจ้าตัวผู้ยื่นขอเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกการลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น

 

3.ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)  (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

เป็นการรับรองว่าลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ของผู้ที่มายื่นเอกสารนั้นตรงกันและเป็นของบุคคลนั้นจริง สามารถใช้แทนใบรับรองตราประทับชื่อ (ในประเทศญี่ปุ่น) ได้

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  2. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
  3. เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  4. อื่นๆ

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)

  1. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
  2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีการบันทึกทะเบียนบ้านไว้ที่ประเทศญี่ปุ่น (เป็นผู้ที่แจ้งย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศ) และได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว
  3. ผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์ในวันยื่นเรื่อง ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและต้องลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)

  1. ใบคำร้องขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)   :   1 ฉบับ   *กรณีที่จำเป็นต้องใช้เอกสารหลายฉบับกรุณาระบุจำนวนที่ต้องการ 
    • ใบคำร้อง →EXCEL PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)  →EXCEL PDF)
  2. เอกสารที่ใช้ในการรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) กรุณาเลือกรูปแบบเอกสารที่จะใช้ในการขอใบรับรอง  (รูปแบบที่ 1) หรือ (รูปแบบที่ 2)
    1.  (รูปแบบที่ 1) มีเอกสารที่เกี่ยวข้องมาจากประเทศญี่ปุ่น  (กรณีที่จำเป็นต้องมีตราประทับของสถานเอกอัครราชทูตฯอยู่ในหน้าเอกสารที่มาจากประเทศญี่ปุ่น) 
      เป็นการรับรองว่าผู้ยื่นเอกสารได้ทำการลงลายมือชื่อ(และลายนิ้วมือ) จริงในเอกสารที่ควรจะมีการลงลายมือชื่อของผู้มายื่นคำร้อง 
         (ข้อควรระวัง) กรุณาลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
         (รูปแบบที่ 1) รูปแบบใบรับรอง  
         (รูปแบบที่ 1) ตัวอย่าง  
    2.  (รูปแบบที่ 2) รูปแบบใบรับรองที่ออกให้โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ  (รูปแบบใบรับรอง →WORD PDF)
      (ตัวอย่างการกรอกใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)     รูปแบบที่ 2 →WORD PDF
      เป็นการรับรองว่าผู้ยื่นเอกสารได้ทำการลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) จริงในใบรับรองที่ออกแบบโดยสถานเอกอัครราชทูตฯ
         (ข้อควรระวัง) กรุณาลงลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ) ต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
  3. หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง(ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1 ฉบับ
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

4.ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย (สำหรับผู้ที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุุ่น)  (ฉบับภาษาญี่ปุ่น)

เป็นการรรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยให้ผู้ยื่นที่เดิมเคยถือสัญชาติญี่ปุ่นมาก่อน เพื่อใช้แทนทะเบียนบ้านในประเทศญี่ปุ่น (ที่เรียกว่าจือมิงเฮียว)

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  2. เพื่อใช้ทำธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก (ในประเทศญี่ปุ่น)
  3. เพื่อใช้ดำเนินเรื่องการรับเงินบำนาญต่างๆ (ในประเทศญี่ปุ่น)
  4. อื่นๆ

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง   :   1 ฉบับ
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →WORD PDF
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
       (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →WORD PDF )

  2. เอกสารที่ยืนยันได้ถึงสัญชาติปัจจุบันของผู้ยื่นและมีรูปถ่ายของผู้ยื่นติดอยู่ เช่น บัตรประชาชน เป็นต้น   (ตัวจริงพร้อมสำเนา :  1 ฉบับ)
    *เช่น หนังสือเดินทางของประเทศที่ถือสัญชาติในปัจจุบัน บัตรประจำตัวประชาชนสำหรับผู้ที่ถือสัญชาติไทย
  3. เอกสารจากหน่วยงานราชการที่สามารถยืนยันชื่อตัวสะกดคันจิ และที่อยู่สุดท้ายตามทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น ก่อนสละสัญชาติ
    • ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (หรือฉบับก่อนแก้ไข) ฉบับเต็ม (หรือย่อ)
  4. เอกสารที่แสดงถิ่นที่อยู่ในปัจจุบันอย่างชัดเจน    (ตัวจริงพร้อมสำเนา :  1 ฉบับ)
    • ทะเบียนบ้านของประเทศไทย เป็นต้น
    • ผู้ที่ถือสัญชาติอื่นนอกเหนือจากสัญชาติไทยให้แสดงเอกสาร เช่น สัญญาเช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนท์ หรือสัญญาซื้อขายการครอบครองที่พำนักอาศัย เหล่านี้เป็นต้น
    • ผู้ที่ถือสัญชาติอื่นนอกเหนือจากสัญชาติไทย และได้ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวเรียบร้อยแล้ว ให้นำใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (Residence Certificate) ที่ออกโดยหน่วยงานราชการไทยมาแสดง
 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

5.ใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น  (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองข้อมูลบุคคลโดยนำข้อมูลที่จำเป็นจากทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม (หรือฉบับย่อ) มาแปลเป็นภาษาอังกฤษสามารถรับรองบุคคลในครอบครัว / รับรองความเป็นโสด・การสมรส / การเกิด / การหย่า / การเสียชีวิต และอื่นๆ

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อนำไปยื่นขอต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย
  2. เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  3. เพื่อนำไปยื่นเรื่องขอลดหย่อนภาษีรายได้ในประเทศไทย
  4. เพื่อนำไปใช้ในการสมรสกับชาวต่างชาติในประเทศไทย
    *สำหรับการยื่นขอใบรับรองความเป็นโสด / ใบรับรองการสมรสเพื่อนำไปใช้ในการจดทะเบียนในประเทศไทยนั้น มีเอกสารจำเป็นชนิดอื่นที่ต้องใช้ในการยื่นขอเอกสาร กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ระเบียบการสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น (กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศไทยภายหลัง (การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งแห่งประเทศญี่ปุ่น) หรือ กรณียื่นจดทะเบียนสมรสที่ประเทศไทยก่อนแล้วแจ้งที่ประเทศญี่ปุ่นภายหลัง(การจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย)
  5. เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
  6. อื่นๆ

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง   :   1 ฉบับ
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →WORD PDF
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
    • ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง →WORD PDF

  2. ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น (หรือใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกทั้งครอบครัว)   (ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1ฉบับ
    • ต้องเป็นทะเบียนครอบครัวที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร  แต่ทว่าในกรณียื่นขอรับรองข้อมูลเกี่ยวกับการสมรส และการรับรองความเป็นโสดนั้น ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร ส่วนกรณียื่นขอรับรองข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดและเสียชีวิตนั้น ไม่มีการกำหนดอายุการใช้งาน
    • ทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้ได้ทั้งฉบับเต็ม (ใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกทั้งครอบครัว ที่เรียกว่า โคะเซกิโทฮ่ง)   หรือฉบับย่อ (ใบแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของสมาชิกบางคนในครอบครัว ที่เรียกว่า โคะเซกิโชฮ่ง) แต่ทว่าในกรณียื่นขอรับรองข้อมูลเกี่ยวกับการสมรส และการรับรองสมาชิกหลายคนในครอบครัวนั้น ต้องยื่นทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นฉบับเต็ม
    (ข้อควรระวัง)
    1. สำหรับการยื่นเอกสารเกี่ยวกับใบแจ้งการรับเรื่องการเกิด การสมรส การหย่า และการเสียชีวิตนั้น ไม่ได้รวมอยู่ในหัวข้อการยื่นขอใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนี้ ให้ดูประเภทใบรับรองในหัวข้อ "6.ใบรับรองคำแปล"(จำเป็นต้องปรึกษาล่วงหน้า)
    2. เนื่องจากใบรับรองจะออกให้เป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้นกรุณาเขียนคำอ่านชื่อสมาชิกในครอบครัวหรือชื่อสถานที่ มาให้แก่ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
      *"ข้อควรระวังเวลาเขียนฟุริงานะ (คำอ่านตัวคันจิ) ในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น→WORD PDF
    3. กรณีที่มีชื่อชาวต่างชาติอยู่ในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นนั้น กรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทาง (หน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียด) มาให้แก่ทางสถานเอกอัครราชทูตฯด้วยเพื่อที่จะตรวจสอบการสะกดชื่อภาษาอังกฤษได้
  3. ใบมอบอำนาจ  :   1 ฉบับ   (กรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
    *กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้แทนโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร) มายื่นแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
    • รูปแบบใบมอบอำนาจ→WORD PDF

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่น

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • นการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)    * แต่ทว่าในกรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนนั้นต้องมีใบมอบอำนาจ
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

อื่น ๆ

      เนื่องจากใบรับรองข้อมูลในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นจะออกตามเนื้อหาที่ระบุอยู่ในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นเท่านั้น  จึงไม่สามารถระบุเนื้อหาอื่นนอกเหนือจากในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นลงในใบรับรองได้
หากผู้ใดมีความประสงค์ให้ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับผู้มีอำนาจในการปกครองบุตรโดยชอบธรรมซึ่งไม่ได้ระบุในทะเบียนครอบครัวญี่ปุ่นอย่างชัดเจนเพื่อนำไปใช้ดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ เช่นยื่นต่อวีซ่าพำนักในต่างประเทศหรือสมัครเข้าโรงเรียน  กรุณาปรึกษากับทางสถานทูตญี่ปุ่นฯ โดยตรง
 

6.ใบรับรองคำแปล  (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองคำแปลภาษาอังกฤษของเอกสาร (ภาษาญี่ปุ่น) ที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นว่าถูกต้อง

เช่น ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น ใบรับรองสำเร็จการศึกษา (ของโรงเรียนที่ก่อตั้งตามกฎหมาย ที่เรียกว่า  学校教育法第1条/School Educational Law, Chapter 1) ใบแจ้งการรับเรื่องการหย่า เป็นต้น

 

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย(ตัวอย่างเอกสารที่นำมารับรองคำแปล: ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด เป็นต้น)
  2. เพื่อนำไปยื่นแจ้งเรื่องการหย่าที่ประเทศไทยหลังจากที่ดำเนินเรื่องการหย่าที่ประเทศญี่ปุ่นเรียบร้อยแล้ว
  3. อื่นๆ

*เอกสารส่วนบุคคลที่ไม่ได้ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "7.2 ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ"

*การแปลเอกสารเพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทยนั้น กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "9. ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น"

*สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไม่สามารถรับรองคำแปลเอกสารที่เกี่ยวกับคดีความหรือการฟ้องร้องในศาล หรือ เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายได้

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองคำแปล

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง   :   1 ฉบับ
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ)  →WORD PDF
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
    • ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง →WORD PDF

  2. ต้นฉบับเอกสารที่ต้องการให้รับรองคำแปล
    * ต้องเป็นเอกสารที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร
    * เอกสารต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นนั้นจะจำกัดเฉพาะที่ออกจากหน่วยงานราชการที่ประเทศญี่ปุ่น หรือโรงเรียนที่ก่อตั้งตามกฎหมาย  (ที่เรียกว่า 学校教育法第1条/School Educational Law, Chapter 1)
  3. คำแปลภาษาอังกฤษของเอกสารต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นที่ต้องการให้รับรองคำแปล   :   1 ฉบับ
    * คำแปลภาษาอังกฤษนั้นผู้ยื่นต้องแปลมาด้วยตนเอง ทางสถานเอกอัครราชทูตฯจะรับรองคำแปลภาษาอังกฤษให้เท่านั้น。
  4. หนังสือเดินทางหรือเอกสารแสดงข้อมูลส่วนบุคคลที่มีรูปถ่าย (ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1 ฉบับ
    * กรณีผู้ยื่นเป็นชาวต่างชาติเท่านั้นที่จำเป็นต้องยื่น

 

วันรับเอกสาร

  • จำนวนวันในการรับเอกสารจะแตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเอกสารที่นำมายื่น

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองคำแปล

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :   จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :   คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • กรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนและรายละเอียดของเอกสารที่ยื่นนั้นไม่ชัดเจน เช่น เหตุผลในการยื่น หรือหน่วยงานที่ต้องการนำเอกสารไปใช้ ต้องมีใบมอบอำนาจหรือเอกสารเพิ่มเติมมาจากผู้ที่จะใช้เอกสารนั้นๆ ด้วย
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

7.ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความหรือคำแปลในเอกสารส่วนบุคคลเป็นความจริงทุกประการ (ใช้ได้ทั้งเอกสารที่ออกจากประเทศญี่ปุ่นหรือออกจากต่างประเทศ)

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  2. เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
  3. เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย. หรือ FDA)
  4. เพื่อนำไปดำเนินการสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย
  5. อื่นๆ

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน

  1. ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติญี่ปุ่น
  2. ผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองที่เคาน์เตอร์ในวันยื่นเรื่อง ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ฯ

 

ประเภทของใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน

(1) "ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน"

*เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความในเอกสารส่วนบุคคล หรือเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการของต่างประเทศฉบับภาษาอังกฤษนั้นเป็นความจริงทุกประการ

 

  1. เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
    (ตัวอย่างเอกสาร   :  ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด ใบรับรองประวัติการทำงาน ใบรับรองประวัติส่วนตัว ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น)
  2. เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
    (ตัวอย่างเอกสาร   :   ใบรับรองสำเร็จการศึกษา ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองผลการศึกษา ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น)
  3. เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. หรือ FDA)
  4. อื่นๆ

 

(2) "ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ"

*เป็นการรับรองลายมือชื่อซึ่งผู้ยื่นได้ปฏิญาณว่า ข้อความหรือคำแปลในเอกสารนั้นเป็นความจริงทุกประการ ใช้ในกรณีเอกสารที่นำมาจำเป็นต้องผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยที่เอกสารนั้นเป็นเอกสารส่วนบุคคลที่ไม่ได้ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ (ที่มีต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น) และมีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ

*กรณีที่เอกสารเป็นเอกสารราชการที่ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ สามารถรับรองประเภทนี้ได้เช่นกัน

 

  1. เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
    (ตัวอย่างเอกสาร  :   ใบรับรองสำเร็จการศึกษาล่าสุด ใบรับรองประวัติการทำงาน ใบรับรองประวัติส่วนตัว ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น)
  2. เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
    (ตัวอย่างเอกสาร  :   ใบรับรองสำเร็จการศึกษา ใบรับรองการเป็นนักศึกษา ใบรับรองผลการศึกษา ฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น)
  3. เพื่อนำไปดำเนินการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารที่ต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. หรือ FDA)
  4. อื่นๆ

 

(3) "ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส"

เพื่อนำไปดำเนินการสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ) นอกเหนือจากใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยแล้ว ยังมีเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่ต้องใช้ในการยื่นขอเอกสารดังกล่าว กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ระเบียบการสมรสระหว่างชาวไทยกับชาวญี่ปุ่น)

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง   :   1 ฉบับ
      ใบคำร้อง →WORD PDF
      ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง →WORD PDF

  2. เอกสารเกี่ยวข้องที่ต้องการนำมาให้ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ รับรอง
    • *กรณีที่เอกสารต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น จำเป็นต้องมีฉบับแปลภาษาอังกฤษแนบมาพร้อมกัน
    • *การลงลายมือชื่อนั้นต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ
  3. หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง  (ตัวจริงพร้อมสำเนา)   :   1 ฉบับ
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียด

 

วันรับเอกสาร

  • สำหรับ"ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส"นั้นสามารถรับเอกสารได้ในวันทำการถัดไป
  • (การรับเอกสารเกี่ยวกับ FDA นั้น โดยทั่วไปมารับเอกสารได้ในวันถัดไป) แต่ในกรณีจำนวนเอกสารที่ยื่นมามีจำนวนมากอาจจำเป็นต้องใช้เวลาหลายวันในการตรวจสอบเนื้อหา

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตน

  1. ใบนัดรับเอกสาร   :     จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :    คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นรับแทนได้
  • *ยกเว้น การรับ "ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนเพื่อใช้ในการสมรส"คู่สมรสชาวญี่ปุ่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

8.ใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรมฯลฯ (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองตราประทับของหน่วยงานหรือตราประทับลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงนามในหน่วยงานที่ประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นตราประทับที่แท้จริง ทั้งนี้เอกสารทางการที่ออกมาเป็นฉบับภาษาอังกฤษนั้นจะต้องเป็นเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ, สถาบัน/องค์กรอิสระ (独立行政法人/ Independent Administrative Corporation), หน่วยงาน/บริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีรัฐบาลเข้ามาดูแลหรือถือหุ้นบางส่วน (特殊法人/ Semigovernmental Corporation) หรือ สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งตามกฎหมาย (学校教育法人第1条/School Educational Law, Chapter 1)

เหตุผลในการยื่น

  1. พื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย
  2. เพื่อนำไปดำเนินการจดทะเบียนบริษัท
  3. อื่นๆ

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรม ฯลฯ

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง    :     1 ฉบับ
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ)  →WORD PDF
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →WORD PDF
      ตัวอย่างการกรอกใบคำร้อง →WORD PDF

  2. ต้นฉบับของเอกสารที่ต้องการนำมาให้ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ รับรอง   (ฉบับภาษาอังกฤษ) * ต้องเป็นเอกสารที่ออกมาแล้วมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน ณ วันที่มายื่นเอกสาร  
    (หมายเหตุ) กรณีที่เอกสารต้นฉบับเป็นภาษาญี่ปุ่น กรุณายื่นขอใบรับรองรูปแบบ "6. ใบรับรองคำแปล"หรือ"7.2. ใบรับรองลายมือชื่อในการปฏิญาณตนรูปแบบที่มีคำแปลภาษาอังกฤษ"
    (ข้อควรระวัง)เอกสารที่ผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ ณ ประเทศญี่ปุ่นแล้วนั้น ทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไม่สามารถรับรองอีกครั้งได้ (เนื่องจากเป็นการประทับตราซ้อนภายใต้กระทรวงเดียวกัน) ขอให้ระวังถึงจุดนี้ด้วย
  3. i. หนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำร้อง   (ตัวจริงพร้อมสำเนา)    :    1 ฉบับ
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียด
    ii. กรณีที่ผู้ยื่นเป็นชาวต่างชาติ กรุณานำหนังสือเดินทาง หรือ บัตรประจำตัวประชาชนที่มีรูปถ่ายแนบมาด้วย

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองตราประทับหน่วยงานราชการ ทบวง กรมฯลฯ

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :  
    1. คลิ๊กที่นี่ สำหรับเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการ
    2. คลิ๊กที่นี่ สำหรับเอกสารที่ออกจากสถาบันหรือองค์กรอิสระ(独立行政法人/Independent Administrative Corporation),หน่วยงานหรือบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีรัฐบาลเข้ามาดูแลหรือถือหุ้นบางส่วน (特殊法人/ Semigovernmental Corporation) หรือ สถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งตามกฎหมาย (学校教育法人第1条/ School Educational Law, Chapter 1)
    • * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารและการขอรับเอกสารนั้นสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • กรณีที่ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนและรายละเอียดของเอกสารที่ยื่นนั้นไม่ชัดเจน เช่น เหตุผลในการยื่น หรือหน่วยงานที่ต้องนำเอกสารไปใช้ ต้องมีใบมอบอำนาจหรือเอกสารเพิ่มเติมมาจากผู้ที่จะใช้เอกสารนั้นๆ ด้วย
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

9. ใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น  (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองข้อมูลที่จำเป็นในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นภาษาอังกฤษ

เหตุผลในการยื่น

  1. เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย 

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร

  1. การยื่นขอใบรับรองนี้ไม่คำนึงถึงประเภทวีซ่า หรือสัญชาติของผู้ที่ยื่นขอ แต่จะขอตรวจสอบตราขาเข้าประเทศไทยที่ปรากฎอยู่ในเล่มหนังสือเดินทางด้วย

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง : 1 ฉบับ
    สามารถรับใบคำร้องขอใบรับรองได้ที่ แผนกกงสุลเท่านั้น

  2. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น  (ตัวจริงพร้อมสำเนา) :  1 ฉบับ
  3. หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา :  1 ฉบับ
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
  4. ใบมอบอำนาจ :   1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
    *รูปแบบใบมอบอำนาจ→WORD PDF

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองข้อมูลในใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น

  1. บนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม   :     คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

10.ใบรับรองการรับเงินบำนาญจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร (ฉบับภาษาอังกฤษ)

เป็นการรับรองจำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น

เหตุผลในการยื่น

  1. เป็นเอกสารที่รับรองจำนวนเงินบำนาญที่ชาวญี่ปุ่นได้รับจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ในการต่อวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าผู้ยื่นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติในการพำนักอาศัยในประเทศไทยระยะยาว (non-immigrant visa)โดยไม่มีจุดประสงค์จะทำงานในประเทศไทย

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร

  1. นำเอกสารที่ออกจากหน่วยงานราชการมายื่นเพื่อแสดงตน (เช่น หนังสือเดินทาง ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ที่ออกจากหน่วยงานราชการไทย เป็นต้น)
  2. นำเอกสารต้นฉบับการรับเงินบำนาญที่ออกจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กรในประเทศญี่ปุ่นมาแสดง
    เช่น ใบรับเงินบำนาญชนิดต่างๆ (ไม่รวมถึงใบรับเงินบำนาญที่ยกเลิกการจ่ายเงินบำนาญทั้งหมดแล้ว) ใบแจ้งยอดเงินบำนาญ ใบแจ้งยอดการเปลี่ยนแปลงการรับเงินบำนาญ ใบแจ้งการโอนเงินบำนาญผ่านธนาคาร หรือ ใบแจ้งการส่งเงินบำนาญ เป็นต้น
  3. เจ้าตัวผู้ยื่นขอใบรับรองการรับเงินบำนาญต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น
    (ข้อควรระวัง) ในกรณีที่ผู้ยื่นขอใบรับรองการรับเงินบำนาญไม่สามารถมาด้วยตนเองเนื่องจากมีเหตุจำเป็นต่างๆ สามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้ (แต่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจมาแสดง)

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองการรับเงินบำนาญ

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง    :     1 ฉบับ 
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →WORD PDF
    • ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →WORD PDF )

  2. หนังสือเดินทาง   (ตัวจริงพร้อมสำเนา)    :  1 ฉบับ
     * ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและแสดงรายละเอียดของผู้ถือหนังสือเดินทาง
     กรณีที่ไม่สามารถนำหนังสือเดินทางมาแสดงได้ สามารถนำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของประเทศญี่ปุ่น (เฉพาะที่มีอายุการใช้งานอยู่) หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย หรืออื่นๆ ที่ออกจากหน่วยงานราชการไทยและมีรูปถ่ายติดอยู่มายื่นแทนได้
  3. ต้นฉบับการรับเงินบำนาญที่ออกจากหน่วยงานภาครัฐและ/หรือหน่วยงานภาคธุรกิจองค์กร   (ไม่สามารถใช้สำเนายื่นได้)
    • “ใบรับเงินบำนาญ (年金証書)”   (ไม่รวมถึงใบรับเงินบำนาญที่ยกเลิกการจ่ายเงินบำนาญทั้งหมดแล้ว)
    • “ใบแจ้งยอดเงินบำนาญ / ใบแจ้งยอดการเปลี่ยนแปลงการรับเงินบำนาญ” “ใบแจ้งการโอนเงินบำนาญผ่านธนาคาร” “ใบแจ้งการส่งเงินบำนาญ”
    • “ใบแจ้งการรับเงินบำนาญหรือเงินรางวัล เงินตอบแทน เงินรายได้ที่จ่ายให้ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนัก อาศัยในประเทศญี่ปุ่น” เหล่านี้เป็นต้น
      *ตราบเท่าที่เอกสารหรือใบแจ้งการรับเงินบำนาญเป็นต้นฉบับ สามารถนำมายื่นได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงวันเดือนปีที่ออกเอกสารนั้นๆ แต่หากเป็นไปได้ควรจะนำเอกสารฉบับล่าสุดมาแสดงเพื่อทำให้การตรวจสอบเอกสารที่หน่วยงานราชการไทยเป็นไปอย่างราบรี่น (ยกเว้น “ใบรับเงินบำนาญ ที่เรียกว่า เนงคิน โชโฉะ (年金証書)” วันเดือนปีที่ออกเอกสารจะมีแค่ครั้งเดียวเท่านั้น)
  4. ใบมอบอำนาจ    :    1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทน)
    • รูปแบบใบมอบอำนาจ→WORD PDF

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองการรับเงินบำนาญ

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้
  2. ค่าธรรมเนียม    :    คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น
  • อัตราแลกเปลี่ยนจากเงินเยนญี่ปุ่นเป็นเงินบาทไทย
    100 บาท = 344 เยน (1 บาท = 3.44 เยน)
    * ใช้อัตราแลกเปลี่ยนนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึง วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566
    * อัตราแลกเปลี่ยนนี้ กำหนดโดยกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

11.ใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ: กรณีที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่น)

เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยปัจจุบันในประเทศไทยที่ได้ทำการแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว

เหตุผลในการยื่น

  • เพื่อนำไปขอใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย หรือต่ออายุใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ในประเทศไทย
  • เพื่อนำไปขอใบขับขี่สากลในประเทศไทย
  • เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายยานพาหนะในประเทศไทย
  • เพื่อนำไปต่ออายุวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทย
  • เพื่อนำไปยื่นขอใบอนุญาตทำงานประเทศไทย
  • เพื่อทำธุรกรรมเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย
  • เพื่อนำไปยื่นเรื่องการสมัครเข้าโรงเรียนนานาชาติหรือโรงเรียนท้องถิ่นในประเทศไทย
  • อื่นๆ


* ในกรณีที่นำไปใช้ที่หน่วยงานในประเทศไทยตามเหตุผลข้างต้นที่กล่าวมานั้น ผู้ยื่นสามารถใช้หนังสือรับรองถิ่นที่พักอาศัย ที่เรียกว่า Resident Certificate in Thailand ที่ออกให้โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สำหรับผู้ที่ทำการแจ้งอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วันแล้วเท่านั้น) หรือใบอนุญาตทำงานที่ออกให้โดยกรมการจัดหางานได้เช่นกัน

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร

  1. ต้องเป็นผู้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือมีกำหนดการที่จะพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
  2. ต้องเป็นผู้ที่ยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยไว้แล้ว

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง    :    1 ฉบับ
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ)  →WORD PDF
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย) →WORD PDF
      (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง  →WORD PDF )

  2. หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง    (ตัวจริงพร้อมสำเนา)    :    1 ฉบับ
    *ถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและหน้าตราประทับวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยที่ยังมีอายุการใช้งาน
  3. ในกรณีไม่มีวีซ่า หรือมีวีซ่านักท่องเที่ยว เอกสารที่สามารถยืนยันได้ว่าปัจจุบันได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย   :    ต้องมีการระบุชื่อสกุลและที่พำนักอาศัยปัจจุบันของผู้ที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา)
    • สัญญาเช่าบ้านหรืออพาร์ตเมนท์ ที่มีสัญญาเช่าว่าจะพักอาศัยอยู่มากกว่า 3 เดือน
  4. ใบมอบอำนาจ    :    1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
    • *กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ปกครองโดยชอบธรรม (ผู้มีอำนาจในการปกครองบุตร เป็นต้น) มายื่นแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
    • *รูปแบบใบมอบอำนาจ →WORD 

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :    คลิ๊กที่นี่
    • * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

12. ใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน (ฉบับภาษาอังกฤษ: กรณีที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่น)

เป็นการรับรองที่พำนักอาศัยในประเทศไทยในขณะที่เคยอยู่ในประเทศไทยสำหรับชาวญี่ปุ่นที่กลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว หรือย้ายไปประจำประเทศอื่น

*กรณีที่ผู้ยื่นชาวญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้เอกสารยืนยันว่าตนเคยพำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย (ด้วยเหตุผลดังที่จะกล่าวในหัวข้อถัดไป) โดยผู้ยื่นจะต้องเคยยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในอดีต

 

เหตุผลในการยื่น

  1. ผู้ยื่นนั้นได้ทำธุรกรรมซื้อขายยานพาหนะในความครอบครองขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยและกลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว (หรือย้ายไปประเทศอื่น) โดยไม่ได้ทำการเปลี่ยนหรือโอนชื่อผู้ถือครองในยานพาหนะ
  2. อื่นๆ

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการยื่นเอกสาร

  1. บุคคลผู้นั้นต้องเคยยื่นแจ้งที่พำนักอาศัยในประเทศไทยไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในขณะที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย (เพื่อใช้ยืนยันที่พำนักอาศัยในประเทศไทย)

 

เอกสารจำเป็นในการขอใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง    :    1 ฉบับ
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ)  →WORD PDF
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
      (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง  →WORD PDF)

  2. หนังสือเดินทางของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง (ตัวจริงพร้อมสำเนา)    :    1 ฉบับ
    • * สำเนาให้ถ่ายหน้าที่มีรูปถ่ายรายละเอียดส่วนตัว และหน้าที่มีตราประทับอนุญาตให้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้
    • * เนื่องจากในใบรับรองจะมีการระบุวันสิ้นสุดที่อยู่ในประเทศไทยและระบุประเทศที่จะย้ายไป ดังนั้นกรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางทุกหน้าที่แสดงถึงความเกี่ยวข้องแนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ
    • *สำหรับผู้ที่ต้องการระบุระยะเวลาในการพำนักอาศัยในประเทศไทย กรุณาถ่ายสำเนาหน้าที่มีตราประทับอนุญาตให้เข้าประเทศครั้งแรกในการพำนักอาศัยระยะยาวในประเทศไทยแนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
    • *สำหรับผู้ที่ต้องการระบุบุคคลที่ร่วมอาศัยอยู่ด้วยระหว่างการพำนักอาศัยในประเทศไทย กรุณาถ่ายสำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดส่วนตัวของบุคคลในครอบครัวนั้นๆ แนบมาให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วย
    • * ในกรณีที่ผู้อื่นมายื่นแทน และไม่สามารถนำหนังสือเดินทางตัวจริงของผู้ที่ต้องการเอกสารมาได้ (เช่น บุคคลผู้นั้นกลับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว) กรุณาระบุรายละเอียดลงในใบมอบอำนาจที่จะนำมายื่นให้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ไว้ด้วย
  3. เอกสารที่สามารถยืนยันที่พำนักซึ่งเคยอาศัยอยู่ในประเทศไทย และในเอกสารนั้นต้องระบุชื่อของผู้ยื่นคำร้องและระบุที่อยู่ให้ชัดเจน (ตัวจริงและสำเนา)
    • เช่น สัญญาเช่า (ซื้อขาย) บ้าน/อพาร์ตเมนท์ ใบเรียกเก็บการชำระค่าสาธารณูปโภค
  4. ใบมอบอำนาจ    :    1 ฉบับ (กรณีที่ให้ผู้อื่นมายื่นแทนจำเป็นต้องมี)
    * รูปแบบใบมอบอำนาจ→WORD PDF

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองการแจ้งย้ายถิ่นฐาน

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :    คลิ๊กที่นี่
    • * ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นและรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมาแทนได้ (โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่นและผู้มารับ)
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

13.ใบรับรองประวัติอาชญากรรม (ฉบับภาษาญี่ปุ่น / อังกฤษ / ฝรั่งเศส / เยอรมัน / โปรตุเกสในหน้าเดียวกัน)

*เป็นการรับรองว่าเคยมีประวัติอาชญากรรมในประเทศญี่ปุ่นหรือไม่

เหตุผลในการยื่น

  1. 1.เพื่อประกอบการยื่นขอรับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในประเทศไทย
  2. 2.เพื่อใช้ยื่นเรื่องขออนุญาตมีถิ่นที่อยู่ของคนต่างด้าวและวีซ่าพำนักอาศัยระยะยาว
    *เช่น เพื่อนำไปขอกรีนการ์ดของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
  3. 3.อื่นๆ

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม

  1. ใบคำร้องขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม    :     1 ฉบับ 
    • *ใบคำร้อง →EXCEL PDF
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →สำหรับคนญี่ปุ่นEXCEL PDF)
    • (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง → สำหรับคนต่างชาติ EXCEL PDF)
  2. หนังสือเดินทางตัวจริงของบุคคลที่ต้องการใบรับรอง   (ไม่สามารถใช้สำเนาได้)

 

วันรับเอกสาร

  • ใช้เวลาดำเนินการตั้งแต่ยื่นเอกสารจนกว่าจะได้รับเอกสารประมาณ 2 เดือน

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองประวัติอาชญากรรม

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :    ไม่มีค่าธรรมเนียม

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

  • ในการยื่นเอกสารเจ้าตัวผู้ยื่นต้องมาด้วยตนเองเท่านั้น แต่การขอรับเอกสารสามารถให้ผู้อื่นมารับแทนได้
  • เวลาทำการเคาน์เตอร์ / วันหยุดประจำปีสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น

 

14.ใบรับรองอัฐิหรือศพ (ฉบับภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษในหน้าเดียวกัน)

เป็นการรับรองอัฐิหรือศพของชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย เพื่อนำไปดำเนินการผ่านขั้นตอนทางศุลกากร

เหตุผลในการยื่น

เป็นการรับรองอัฐิหรือศพในกรณีที่ชาวญี่ปุ่นได้เสียชีวิตลงที่ประเทศไทย แล้วญาติต้องการนำอัฐิหรือศพที่ปิดผนึกแล้วกลับไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณีในประเทศญี่ปุ่น เพื่อผ่านขั้นตอนทางศุลกากรทั้งสองประเทศในการนำอัฐิหรือศพกลับไปประเทศญี่ปุ่น

 

เอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอใบรับรองอัฐิหรือศพ

  1. ใบคำร้องขอใบรับรอง    :    1 ฉบับ
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาอังกฤษ) →WORD PDF
      ใบคำร้อง (ฉบับมีภาษาไทย)  →WORD PDF
       (ตัวอย่างการกรอกใบคำร้องขอใบรับรอง →WORD PDF )

  2. ใบมรณบัตรตัวจริงที่ออกจากที่ว่าการเขต/อำเภอไทย (พร้อมสำเนา 1 ฉบับ)
  3. หนังสือเดินทางของผู้เสียชีวิต (นำมาเพื่อทำการเจาะรูยกเลิกการใช้งานที่สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย)
  4. หนังสือเดินทางของผู้ที่มายื่นคำร้อง
  5. a.อัฐิ   (กรุณาเตรียมโถกระดูกใส่อัฐิของผู้ตายและกล่องขนาดพอเหมาะเพื่อจะนำมาปิดผนึกที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
    b.ศพ   (เจ้าหน้าที่จากสถานเอกอัครราชทูตฯ จะออกเอกสารและนำไปดำเนินการยังสถานที่ที่เก็บศพผู้เสียชีวิตไว้)

 

เอกสารที่จำเป็นในการขอรับใบรับรองอัฐิหรือศพ

  1. ใบนัดรับเอกสาร    :    จะออกให้เมื่อทำการยื่นเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าธรรมเนียม    :    คลิ๊กที่นี่
    • *ชำระเป็นเงินสดด้วยสกุลเงินบาทเท่านั้น

 

เงื่อนไขที่จำเป็นในการแสดงตนเวลายื่นและรับ

กรุณาติดต่อแผนกคุ้มครองชาวญี่ปุ่นล่วงหน้า เรื่องการยื่นเอกสารและการรับเอกสาร

 

ข้อควรระวังในการยื่นขอเอกสารและการรับเอกสาร (ใบรับรอง) ต่างๆ

-การยื่นขอเอกสาร (ใบรับรอง)-

  1. การยื่นขอใบรับรองเพื่อนำไปใช้ในประเทศญี่ปุ่น อาทิเช่น ใบรับรองลายมือชื่อ (และลายนิ้วมือ)・ใบรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ・ใบรับรองประวัติอาชญากรรม・การลงทะเบียนบันทึกตราประทับชื่อและการยื่นขอใบรับรองตราประทับชื่อ เจ้าตัวต้องมายื่นเอกสารด้วยตนเองเท่านั้น
  2. การยื่นขอใบรับรองชนิดอื่นที่นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นนั้น สามารถให้ผู้อื่นมายื่นแทนได้โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้มายื่น
  3. กรณียื่นขอใบรับรองโดยให้ผู้อื่นมายื่นแทนนั้น ต้องมีใบมอบอำนาจมาด้วยทุกครั้ง
    • ในใบมอบอำนาจกรุณาระบุรายละเอียด “เรื่องที่จะให้ผู้รับมอบอำนาจดำเนินการแทน・ใบรับรองที่ต้องการ・ชื่อผู้รับมอบอำนาจ” รวมถึงผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อตนเองพร้อมระบุที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในเวลาทำการ
    • *เนื่องจากใบมอบอำนาจเป็นความตั้งใจของผู้มอบอำนาจ กรุณาเขียนด้วยตนเอง ไม่มีรูปแบบกำหนด
      *กรณีที่ผู้ยื่นเป็นเด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะและผู้ที่มายื่นแทนคือผู้ปกครองเป็นบิดามารดา ไม่จำเป็นต้องมีใบมอบอำนาจ
  4. กรณีที่รายละเอียดในใบมอบอำนาจไม่ชัดเจน หรือผู้ที่มายื่นแทนไม่รับทราบถึงรายละเอียดใดๆในการมายื่น ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ มีสิทธิ์พิจารณาปฏิเสธการรับยื่นขอใบรับรองได้ ขอให้พึงระวังถึงจุดนี้

 

-การรับเอกสาร (ใบรับรอง)-

  1. ไม่คำนึงถึงสัญชาติของผู้ที่มารับมาเอกสารแทนในเวลารับ
  2. กรุณามารับเอกสารที่ท่านยื่นเอาไว้ให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เนื่องจากเมื่อเอกสารถูกทิ้งไว้เป็นระยะเวลานานนับจากวันที่ ทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ออกเอกสารให้แล้วนั้น เอกสารนั้นๆอาจจะหมดอายุหรือใช้งานไม่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่ ท่านจะนำเอกสารนั้นๆ ไปยื่น
    อนึ่ง เอกสารที่ท่านไม่ได้มารับ (รวมถึงต้นฉบับเอกสารต่างๆ ที่ท่านนำมายื่นไว้กับทางสถานเอกอัครราชทูตฯ) จะถูกทำลายหลังจากทางสถานเอกอัครราชทูตฯ เก็บเรื่องไว้เมื่อมีระยะเวลาเกิน 3 ปี

เวลาทำการ

เวลาทำการของสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร

  • เวลายื่นคำร้อง・เวลารับเอกสาร: จันทร์-ศุกร์   8.30-12.00 และ 13.30-16.00
  • วันหยุดสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น  วันเสาร์และวันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ไทย และอื่นๆ

ติดต่อสอบถาม

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย แผนกกงสุล ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร

โทรศัพท์: 0-2207-8501、0-2696-3001

อีเมล: ryouji-soumu@bg.mofa.go.jp

 

สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ ฝ่ายหนังสือเดินทางและการรับรองเอกสาร

โทรศัพท์: 053-012500  (ต่อ 102) (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทย)

โทรสาร: 052-012515