จุดยืนของประเทศญี่ปุ่นในเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะ และการเข้ายึดครองอย่างผิดกฎหมายของสาธารณรัฐเกาหลี โดยสังเขป
2017/8/30
ประเทศญี่ปุ่นตระหนักถึงการมีอยู่ของเกาะทะเคะชิมะมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ประจักษ์ชัดด้วยเอกสารและแผนที่ในยุคสมัยโบราณมากมายหลายฉบับ ในตอนต้นศตวรรษที่ 17 รัฐบาลญี่ปุ่น (รัฐบาลโชกุน) อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นสามารถเดินทางข้ามไปยังเกาะอุทซึเรียว (Utsuryo) โดยการล่องเรือผ่านเกาะทะเคะชิมะ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นท่าเทียบเรือ อีกทั้ง เป็นพื้นที่ในการล่าสิงโตทะเลและเก็บหอยเป่าฮื้อ เป็นต้น ดังนั้น ประเทศญี่ปุ่นได้สถาปนาอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะอย่างช้าที่สุด ในช่วงตอนกลางศตวรรษที่ 17
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีเสียงเรียกร้องจำนวนมากจากประชาชนในพื้นที่เกาะโอคิ (Oki Islands) จังหวัดชิมาเนะ (Shimane) ให้มีการจัดการสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อการล่าสิงโตทะเล ซึ่งได้กลายมาเป็นธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบในเวลานั้น จากเหตุการณ์นี้ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1905 คณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้มีมติให้ผนวกเกาะทะเคะชิมะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชิมาเนะ ถือเป็นการรับรองอีกครั้งถึงอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะของประเทศญี่ปุ่น พร้อมทั้งใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารจัดการอย่างสันติและปราศจากคัดค้านจากนานาประเทศ เช่น ขึ้นทะเบียนที่ดินบนเกาะทะเคชิมะเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัด ชิมาเนะ ให้อนุญาตล่าสิงโตทะเล และเก็บค่าธรรมเนียมจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การสถาปนาอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะของประเทศญี่ปุ่นอันมีมาแต่เดิม จึงสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนทั้งในประชาคมโลกและกฎหมายระหว่างประเทศในปัจจุบัน
จากหนังสือและเอกสารทางการทูตที่เปิดเผยต่อสาธารณชนของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ในขั้นตอนการร่างสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก (San Francisco Peace Treaty) (ลงนามวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 1951 และมีผลบังคับใช้วันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1952) ซึ่งระบุถึงการจัดการอาณาเขตของประเทศญี่ปุ่นหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สาธารณรัฐเกาหลีได้ร้องขอต่อประเทศสหรัฐอเมริกาให้เพิ่มชื่อ เกาะทะเคะชิมะ ลงในรายชื่อพื้นที่ซึ่งประเทศญี่ปุ่นยอมสละกรรมสิทธิ์ทุกประการลงในสนธิสัญญาฉบับดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ประเทศสหรัฐอเมริกาได้คัดค้านการร้องขอของสาธารณรัฐเกาหลีอย่างชัดเจน โดยระบุว่า “เกาะทะเคะชิมะ” ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งในอาณาเขตของสาธารณรัฐเกาหลี แต่เป็นอาณาเขตภายใต้การปกครองประเทศญี่ปุ่น” เนื้อหาภายในสนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโกได้ระบุให้ ญี่ปุ่นต้องยอมสละอาณาเขตในการปกครอง อันหมายรวมถึง ดินแดนของสาธารณรัฐเกาหลี หมู่เกาะ Quelpart, ท่าเรือ Hamilton และ เกาะอุทซึเรียว (Dagelet) แต่ตั้งใจที่จะไม่ระบุถึงเกาะทะเคะชิมะ ดังนั้น สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก ซึ่ง ช่วยกำหนดระเบียบการรักษาความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงช่วยยืนยันถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นเหนือเกาะทะเคะชิมะ นอกจากนี้ หลังจากที่สนธิสัญญาสันติภาพฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยื่นความจำนงต่อประเทศญี่ปุ่น ในเรื่องขอใช้เกาะทะเคะชิมะเป็นพื้นที่ในการฝึกซ้อมทิ้งระเบิด ภายใต้ความตกลงที่ประเทศญี่ปุ่นได้ทำไว้กับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่นได้กำหนดให้เกาะทะเคะชิมะเป็นพื้นที่ในการฝึกซ้อมทิ้งระเบิด และประกาศอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชน ภายใต้ความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศหลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้การยอมรับอย่างไร้ข้อกังขาในอำนาจอธิปไตยของประเทศญี่ปุ่นเหนือเกาะทะเคะชิมะ
อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม ค.ศ.1952 ก่อนที่สนธิสัญญาสันติภาพซานฟรานซิสโก จะมีผลบังคับใช้ สาธารณรัฐเกาหลีได้กำหนดเส้นแบ่งเขต “the Syngman Rhee Line” ขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวและได้ผนวกรวมเกาะทะเคะชิมะไว้เป็นดินแดนของสาธารณรัฐเกาหลีด้วย ซึ่งเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักกฏหมายระหว่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่นไม่สามารถยอมรับการกระทำดังกล่าวของสาธรณรัฐเกาหลีได้ และได้ประท้วงในทันที แต่ทว่า ในเวลาต่อมาสาธารณรัฐเกาหลี ได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำการอยู่บนเกาะ นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ที่พัก ป้อมสังเกตุการณ์ ประภาคาร ท่าเรือและอู่จอดเรือ เป็นต้น การเข้ายึดครองเกาะทะเคะชิมะโดยใช้กำลังของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นการกระทำซึ่งไม่ดำรงอยู่ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศอย่างสิ้นเชิง ประเทศญี่ปุ่นได้ประท้วงต่อการกระทำของสาธารณรัฐเกาหลีอย่างถึงที่สุด พร้อมทั้งเรียกร้องให้สาธารณรัฐเกาหลีถอนกำลังออกไป มาตรการใดๆก็ตามซึ่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ดำเนินการไป ไม่ได้อยู่ภายใต้กรอบของกฎหมาย จึงถือเป็นการครอบครองอย่างผิดกฎหมาย และปราศจากเหตุผลอันชอบธรรมด้วยกฎหมายในการอ้างสิทธิอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน (หมายเหตุ 1) (หมายเหตุ 2)
หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศญี่ปุ่นได้ดำรงอยู่ในวิถีทางแห่งสันติภาพมาโดยตลอด และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นเสนอให้ยื่นกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยบนเกาะทะเคะชิมะต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่น้อยกว่าสามครั้ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหากรณีพิพาทอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะด้วยสันติวิธี แต่ทว่าสาธารณรัฐเกาหลีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวทั้งหมด จึงถือเป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่งที่สาธารณรัฐเกาหลีในฐานะประเทศซึ่งมีบทบาทสำคัญในประชาคมโลกได้ปฏิเสธและหันหลังให้กับการแก้ไขปัญหาด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่นจะยังคงดำเนินตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหากรณีข้อพิพาทด้วยความสงบและสันติวิธีซึ่งสอดคล้องกับกฏหมายระหว่างประเทศ
(หมายเหตุ 1) ในปี ค.ศ. 2012 นายอี มย็อง-บัก ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ในขณะนั้น) เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เดินทางไปเยือนเกาะทะเคะชิมะ จากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ก็ได้เดินทางไปเยือนเกาะทะเคะชิมะอย่างต่อเนื่อง และเมื่อไม่นานมานี้ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 “นายมุน แจ อิน” อดีตตัวแทนพรรคสหประชาธิปไตย (หรือพรรคประชาธิปไตยในเวลาต่อมา) (ในปี ค.ศ. 2017 ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐเกาหลี) ในเดือนสิงหาคม ปีเดียวกัน “Na Kyung-won” หัวหน้าพรรค “Saenuri Party” และคณะสมาชิกรัฐสภาเกาหลีจำนวน 10 คน เดินทางมายังเกาะทะเคะชิมะ ประเทศญี่ปุ่นรู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อการกระทำเช่นนี้ของสาธารณรัฐเกาหลี จึงได้ส่งสารถึงรัฐบาลสาธารณรัฐเกาหลีในทันที พร้อมทั้งแสดงความเสียใจอย่างยิ่ง ในฐานะที่ประเทศญี่ปุ่นมีอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะทะเคะชิมะ จึงไม่สามารถยอมรับการกระทำเหล่านี้ได้ อีกทั้งเรียกร้องไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก พร้อมทั้งประท้วงอย่างถึงที่สุดมาโดยตลอด
(หมายเหตุ 2) ภายหลังจากสาธารณรัฐเกาหลีล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของประเทศญี่ปุ่น จากการกำหนดเส้นแบ่งเขต “the Syngman Rhee Line” ขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งเป็นกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และขาดหลักฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น การสถาปนาอำนาจอธิปไตยของสาธารณรัฐเกาหลีย่อมไม่เป็นผล ประเทศญี่ปุ่นได้ทำการประท้วงของต่อการกระทำของสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งไร้ความชอบธรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลีอ้างว่า